การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ตลาดแรงงานซบเซา และหลายบริษัทต้องปิดตัวลงอย่างกะทันหัน ทำให้เด็กจบใหม่จำนวนมากซึ่งถือเป็นความหวังของครอบครัวต่างประสบปัญหาว่างงาน
“โควิด-19 ทำให้การหางานเป็นเรื่องยากมาก จะเข้าไปหางานทำในกรุงเทพก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้และเงินเดือนก็คงไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต เมื่อไม่มีงานความหวังในการดูแลครอบครัวก็ดูเป็นเรื่องที่ไกลออกไป” เสียงสะท้อนจาก น.ส.ฐิติกานต์ วงศ์คำ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย บอกเล่าถึงชะตากรรมที่นักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญในช่วงสถานการณ์โควิดเช่นนี้
เมื่อรัฐบาลจัดโครงการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ซึ่งร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเยียวยาเด็กจบใหม่ที่คาดว่าจะมีจำนวนกว่า 4.7 แสนคนในปี 2564 ฐิติกานต์จึงตัดสินใจเข้าสมัครงานในโครงการ‘พลังงานร่วมใจ สร้างงาน พัฒนาชุมชน’ ของกระทรวงพลังงาน ในส่วนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดูแล เนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
ฐิติกานต์ วงศ์คำ ผู้เข้าร่วมโครงการ
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นการจ้างงานระยะสั้น 12 เดือน ตั้งแต่ปลายปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่รอบเขื่อนและโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 13 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 2,500 อัตรา สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาวุฒิ ปวส. – ปริญญาตรี แบบไม่จำกัดสาขา แต่ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่ กฟผ. เปิดรับสมัคร ทำให้มีความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่นได้บ้านเกิดเป็นอย่างดี และมีความหลากหลายของทักษะวิชาชีพ อาทิ ช่าง วิศวกร นักบัญชี นักการตลาด นิติกร นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาการเกษตร
เด็บจบใหม่ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมให้ความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีผสมผสานการเกษตรยุคดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจร การทำเกษตรกรรมตามแนวทางศาสตร์พระราชา ตลอดจนหลักการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อติดอาวุธลับทางปัญญาในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ในแต่ละวัน น.ส.รัชดาภรณ์ ใจคำ และเพื่อน ๆ ที่เข้าร่วมโครงการพลังงานร่วมใจ สร้างงาน พัฒนาชุมชนที่ กฟผ. แม่เมาะ จ.ลำปาง จะลงพื้นที่ใน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของคนในชุมชน ข้อมูลการเพาะปลูก เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนส่งเสริมกิจการชุมชนผ่านนวัตกรรมพลังงานและเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ในการบริหารจัดการยกระดับศักยภาพการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เกิดธุรกิจใหม่ที่ชุมชนเป็นเจ้าของ สร้างรายได้อย่างมีผลกำไร ทุกคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
รัชดาภรณ์ ใจคำ ผู้เข้าร่วมโครงการ
รัชดาภรณ์ เปิดใจว่า รู้สึกโชคดีที่ได้รับโอกาสเข้ามาทำงานในโครงการพิเศษนี้ เพราะนอกจากทำให้มีรายได้มาช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวแล้ว ยังเป็นงานที่ได้ใกล้ชิดกับคนในชุมชนบ้านเกิดมากยิ่งขึ้นและได้พัฒนาชุมชนของตนเอง อีกทั้งจะช่วยสร้างทักษะจากประสบการณ์ทำงานจริงเพื่อต่อยอดการทำงานใหม่ในอนาคตอีกด้วย
โครงการพลังงานร่วมใจ สร้างงาน พัฒนาชุมชนในส่วนของ กฟผ. เมื่อนับรวมกับการจ้างงานคนในชุมชนรอบเขตเขื่อน โรงไฟฟ้า และพื้นที่ใต้แนวสายส่ง ซึ่ง กฟผ. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอีกกว่า 6,000 คน จึงไม่เพียงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างในประเทศกว่า 400 ล้านบาท แต่ยังมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมกิจการชุมชนให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชน และสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจของชุมชนเพื่อชุมชนได้อย่างยั่งยืน เมื่อเศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังโควิดก็จะเป็นไปด้วยความราบรื่นมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |