นักมานุษยวิทยาวิจัยโควิด3ระลอก จัดทำหนังสือและข้อเสนอเยียวยาต่อรัฐบาล


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     วันที่ 19 พ.ค. นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  หรือ ศมส. กล่าวว่า  ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ศมส. ได้มีการดำเนินงานนำความรู้ด้านมานุษยวิทยามาใช้ประโยชน์ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยสนับสนุนให้นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้องทำการวิจัยเกี่ยวกับโควิด -19  ตั้งแต่การระบาดระลอกแรก พยายามศึกษาและทำความเข้าใจสถานการณ์ของการระบาดของโรคโควิด-19 จากแง่มุมต่างๆ และนำเสนอบทความที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย  จำนวน 30  เรื่อง  และคัดเลือกจนเหลือ 8 บทความ มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ภัยโควิด วิกฤตโคโรนา: โรคอุบัติใหม่ในสังคมไทย” ประกอบด้วยมิติโบราณคดี นโยบายสาธารณะ เครือข่ายสื่อท้องถิ่น แรงงานข้ามชาติ การปฏิบัติศาสนกิจในช่วงโควิด การวิพากษ์อำนาจที่ปรากฏในงานศิลปะ รวมทั้งประสบการณ์ของผู้คนที่ต้องเผชิญกับการกักตัวในช่วงที่รัฐดำเนินมาตรการการล็อกดาวน์ โดยสะท้อนถึงความซับซ้อน เงื่อนไขชีวิตของคนไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรค และนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลให้เกิดการเยียวยา แก้ปัญหา การสร้างระบบบริหารจัดการ และควบคุมการแพร่ระบาดในปัจจุบันและอนาคตได้ตรงจุด

      นพ.โกมาตร  กล่าวต่อว่า นอกจากนี้  ศมส. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพชุมชนชาติพันธุ์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนด้วยการใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยา ได้แก่ การจัดทำประวัติศาสตร์ชุมชน การทำแผนที่เดิน และการจัดทำปฏิทินวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ความคิดเห็น และพัฒนาชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นจากผู้คนภายในชุมชนร่วมกัน โดยในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ศมส. ได้จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคเหนือไปแล้ว จำนวน 16 ชุมชน และช่วงเดือน พ.ค. นี้ ศมส. ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่ชุมชนที่เข้าร่วมการอบรมดังกล่าว ชุมชนละ 50,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการจัดกิจกรรมและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูล ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชุมชนชาติพันธุ์ในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ เป้าหมายของการดำเนินโครงการดังกล่าวในระยะแรกได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลและสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชนชาติพันธุ์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานต่อการผลักดันการประกาศพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษในระยะต่อไป ตามแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ที่คณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการและสอดรับกับการขับเคลื่อนการจัดทำพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"