18 พ.ค.2564-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2564คณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาหุ้นกู้ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ด้วยคดีพื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย ได้กำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการขึ้นใหม่ในวันที่ 19 พฤษภาดม 2564 ดังนั้น คณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาหุ้นกู้บริษัทการบินไทย และชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด(ชลอ.) จึงได้ให้ความสำคัญต่อแผนที่แก้ไขของผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ทุกราย และเมื่อได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าการดำเนินการแก้ไขแผนอีกครั้งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์สมาชิก ในฐานะเจ้าหนี้ของการบินไทย จึงได้ดำเนินการขอแก้ไขแผน ดังนี้
ประการที่ 1 เจ้าหนี้หุ้นกู้ทุกกลุ่มสามารถเลือกวิธีการรับชำระดอกเบี้ยปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ใหม่ เป็นการแปลงหนี้เป็นทุนในราคาหุ้นละ 2.5452 บาท โดยการแสดงเจตนาเป็นหนังสือต่อผู้ทำแผนได้ใน ปี 71 เป็นดันไปจนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอนใหม่ในแต่ละรุ่น นอกจากนี้ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 5 และกลุ่มที่ 6 ก็สามารถเลือกวิธีการรับชำระดอกเบี้ยปีที่ ถึงปีที่ 3 ใหม่ เป็นการแปลงหนี้เป็นทนในราคาข้างดันเช่นเดียวกัน
ประการที่ 2 การจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์สิน โดยการปรับโครงสร้างทางธุรกิจนั้นได้กำหนดให้ผู้บริหารแผนศึกษาความเหมาะสม ความคุ้มค่า ความจำเป็น และความเป็นไปได้ในการแยกหน่วยธุรกิจ โดยเพิ่มเติมให้ศึกษาการบริการการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ และกำหนดให้รายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการเจ้าหนี้ และคณะกรรมการกำกับดูแลสินเชื่อใหม่ภายใน 1 ปี หรือระยะเวลาอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเจ้าหนี้ และคณะกรรมการกำกับดูแลสินเชื่อใหม่ หากผู้บริหารแผนเห็นชอบ ก็จะต้องกำหนดกรอบการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ อาทิ เงินลงทุนเริ่มแรก
การดำเนินการเพื่อให้บริษัทย่อยมีทรัพย์สินใด ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ ความเหมาะสมและจำเป็นในการให้บริษัทย่อยเข้าค้ำประกันหนี้ตามแผนให้กับเจ้าหนี้ทุกกลุ่มตามสัดส่วนเงินลงทุนหรือทรัพย์สินที่บริษัทย่อยได้รับจากการบินไทย ควบคุมการดำเนินงานและกระแสเงินสดของบริษัทย่อย เพื่อให้การบินไทยมีกระแสเงินสดเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ดามแผน และการจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์ โดยการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต้องได้รับความเนชอบจากคณะกรรมการเจ้าหนี้ และคณะกรรมการกำกับดูแลสินเชื่อใหม่
ประการที่ 3 การแต่งตั้งผู้บริหารแผนนั้น คณะกรรมการติดตามฯ และ ชสอ. ได้เสนอ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายพรชัย ฐีระเวช และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหารแผน อย่างไรก็ตาม เพื่อความรัดกุมรอบคอบก็ได้กำหนดให้การใช้อำนาจของผู้บริหารแผนต้องเป็นการใช้อำนาจผ่านที่ประชุมคณะผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนที่เป็นกรรมการจะมีคะแนนเสียงในการประชุมเพียง 1 คะแนนเสียงต่อ 1 คน รวมถึงกำหนดหน้าที่ให้ผู้บริหารแผนเพิ่มเดิม โดยต้องจัดให้ คณะกรรมการเจ้าหนี้เข้าถึงข้อมูล และเนื้อหาในสัญญาเช่า/เช่าซื้อเครื่องบิน สัญญาซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ที่มีผลผูกพันการบินไทย และยังมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบิน/เครื่องยนต์ในฝูงบินตามที่ คณะกรรมการเจ้าหนี้ และ/หรือ คณะกรรมการกำกับดูแลสินเชื่อใหม่ร้องขอ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้เพิ่มเติม
โดยให้ผู้บริหารแผนมีหน้าที่ชี้แจงแผนการดำเนินการ ความคืบหน้า ตลอดจนผลการดำเนินการขายทรัพย์สินรองตามที่กำหนดไว้ในแผน และให้ผู้บริหารแผนพิจารณาจัดจ้างที่ปรึกษาด้านต่างๆเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการเจ้าหนี้ไว้อีกด้วยคณะกรรมการติดตามฯ และ ชสอ. ขอเรียนสหกรณ์สมาชิกว่า การประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 19พ.ค.64 จะเป็นวันที่กำหนดทิศทางของการบินไทยว่า จะเข้าสู่ภาวะล้มละลายหรือได้รับมติของเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ให้ฟื้นฟูกิจการ และดำเนินการตามแผน
ดังนั้นการลงมติในที่ประชุมเจ้าหนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ซึ่งลำพังแผนฟื้นฟูกิจการ ฉบับลงวันที่ 2 มี.ค.64 ไม่น่าจะเพียงพอต่อการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย สหกรณ์สมาชิกจึงอาจต้องพิจารณาแผนฉบับที่แก้ไข ซึ่งตามการแก้ไขแผนที่ผ่านมานั้น แผนของผู้ทำแผนฉบับลงวันที่ 7พ.ค.64 (แผนที่แก้ไขฉบับที่ 4) และแผนที่แก้ไขของ ชสอ. (แผนที่แก้ไขฉบับที่ 15) มีเนื้อหาที่เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินการ ตลอดจนหน้าที่ของผู้บริหารแผนที่จะต้องดำเนินการให้แผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จลุล่วง
นอกจากนี้ด้วยขนาดกิจการของการบินไทยมีขนาดใหญ่ การที่จะมีผู้บริหารแผนที่มีความรู้ความสามารถเข้าไปร่วมในการบริหารงานของการบินไทยเพื่อให้ปฏิบัติตามแผนเป็นเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ดังนั้น การที่ธนาคารกรุงเทพฯ ได้ขอแก้ไขแผน(แผนที่แก้ไขฉบับที่ 13) โดยเสนอผู้บริหารแผนจำนวน 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารงาน และด้านกฎหมายฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น การลงมติว่าควรจะแก้ไขแผนหรือไม่ สหกรณ์สมาชิกอาจจะพิจารณาแผนที่แก้ไขดังกล่าวข้างตันแล้วลงมติไปพร้อม ๆ กันทั้งสามฉบับ และหลังจากนั้นการลงมติเห็นชอบด้วยกับแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไขก็ให้ลงมติเห็นชอบไปด้วยกันทั้งหมด
การลงมติเช่นว่านี้ คณะกรรมการติดตามฯ และ ชสอ. เห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยและสหกรณ์สมาชิกทุกรายและเมื่อการบินไทยยังสามารถให้บริการได้ต่อไป ก็น่าจะเป็นความภาดภูมิใจของคนไทยที่ยังมีการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติอีกด้วย ด้วยภาวะการณ์ที่ยากลำบากของเราชาวสหกรณ์ ความสามัคคีและการรวมพลังเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในนามของ คณะกรรมการติดตามฯ และ ชสอ. จึงใคร่ขอให้สหกรณ์สมาชิกทุกรายได้กรุณาลงมติในที่ประชุมเจ้าหนี้ วันที่ 19 พ.ค.64 ไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |