อดีตแกนนำพันธมิตรฯหนุน 'รัฐบาลสร้างชาติตามรัฐธรรมนูญ' ภารกิจ 2 ปี


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ

17 พ.ค.64 - นายพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เผยแพร่ความคิดเห็นเรื่อง " รัฐบาลสร้างชาติตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐" โดยมีเนื้อหาดังนี้  นับเป็นข้อเสนอของ “กลุ่มประชาชนคนไทย” ที่แตกต่างจากข้อเสนอของกลุ่มพลังทางการเมืองที่อิสระกลุ่มอื่นๆ

กลุ่มอื่นๆนั้นเพียงเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออก หรือยุบสภา

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่ “การสร้างชาติ” ได้ เพราะจะไปตกอยู่ภายใต้วังวนทางการเมืองแบบเก่า

การมี “รัฐบาลสร้างชาติ” ที่ไม่ได้มาจากนักการเมือง ที่ล้วนเป็นนักเลือกตั้งหรือมาจากการรัฐประหาร

เคยมีปรากฎการณ์ในทางการเมืองของบ้านเรา ๓ ครั้ง ในรอบ ๕๐ ปี คือ

๑. สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์
๒. สมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
๓. สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน

ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันไป ตามประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยในแต่ละยุคสมัย 

จึงไม่เป็นของแปลกใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้น ในเรื่อง “รัฐบาลสร้างชาติ” ที่ถูกนำเสนอในวันนี้ มาแทน “ รัฐบาลแห่งชาติ”

และในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ก็มีช่องทางอยู่ในบางมาตราแล้วด้วย เช่น มาตรา ๗ ที่ฮือฮาอันเกิดจากข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

และเกิดปรากฎการณ์ที่ถูกเรียกว่า “ตุลาการภิวัฒน์” เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองในตอนนั้น

หรือในสมัยยุค รสช. ที่ต่อด้วยข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ ๒๕๓๕ ทำให้ประธานรัฐสภาอาศัยห่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ข้อกำหนดใหม่ที่ห้ามนายกฯมาจากคนนอกจะถูกประกาศใช้ แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง

หรือในสมัยธรรมนูญการปกครอง ยุคจอมพลถนอม กิติขจร หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา.๑๖ รัฐสภาก็สามารถตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้

มาในสมัยการรัฐประหารหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา.๑๙ ก็อาศัยธรรมนูญการปกครอง แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่วางนโยบายการสร้างประชาธิปไตยยาวนานถึง ๑๒ ปี

นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ล้วนมีภารกิจเฉพาะหน้า

มาวันนี้ ข้อเสนอของ “กลุ่มประชาชนคนไทย(ปท.)” ให้ “เกิดรัฐบาลสร้างชาติ” โดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๒ วรรคสอง ที่ต้องอาศัยกลไกรัฐสภา เหมือนเช่นประวัติศาสตร์การเมืองในอดีต

ปัญหาคือ การมีนายกรัฐมนตรีใน “รัฐบาลสร้างชาติ” นั้น นายกรัฐมนตรี คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออก และรัฐสภาต้องให้การสนับสนุนนายกฯคนนอก

ในขณะที่ ตัวนายกรัฐมนตรีได้ประกาศรวบอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาการฉีดวัคซีนโควิด ให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ให้สำเร็จภายในปีนี้ คือ ฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าได้ ๗๐ % ก็เชื่อว่าจะยุติการระบาดไวรัสตัวนี้ได้

ก่อนการระบาดไวรัสตัวนี้ ช่วง ๗ ปี ที่พลเอกประยุทธ์ ครองอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวและเกิดการผูกขาด การปฏิรูปตำรวจไม่สำเร็จ การปฏิรูปการศึกษาทำไม่ได้ การปรองดองล้มเหลว การแตกแยกภายในชาติระหว่างเสื้อสี ไปไม่ได้ และเกิดความแตกแยกใหม่ของคนหนุ่มสาว ไม่นับการปฏิรูปการเมืองที่ไม่ขยับ แต่กลับมีสภาพการเมืองแบบเก่า ที่เป็นปัญหาที่เรื้อรังมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ 

ส่วนการปราบทุจริตคอรัปชั่น ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และภายใต้อำนาจทหาร กลับล้มเหลว จนต้องมีการประกาศให้เป็น “วาระแห่งชาติ” อีกครั้งหนึ่ง ประหนึ่งว่าจะขอเป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกเป็นสมัยที่ ๓

นี่เป็นภาพทางการเมืองการปกครอง ในช่วงระยะเวลาที่พลเอกประยุทธ์ครองอำนาจ ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๕๘  มาถึงวันนี้ ๗ ปี ๒ สมัยการเป็นนายกรัฐมนตรี

ในขณะที่คณะทหาร โดยการนำของพลเอกประยุทธ์ สั่งให้มีการร่างรัฐธรรมนูญถึง ๒ ฉบับ และจบลงด้วย รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ เผด็จการทหาร” โดยวุฒิสมาชิก ๒๕๐ คน เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย

พลเอกประยุทธ์ อาจอ้างได้ว่าการแก้ปัญหาการฉีดวัคซีนให้เป็น “วาระแห่งชาติ” กำลังไปได้ดี แต่หลังจากนั้น คณะ “กลุ่มประชาชนคนไทย” ก็เห็นว่าพลเอกประยุทธ์คงไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้อีก ไม่ว่าจะเพิ่ม “วาระแห่งชาติ” อีกกี่วาระก็ตาม

จากผลงานก่อนหน้าไวรัสโควิดระบาด ประเทศชาติก็บอบช้ำ จนยากจะเดินไปข้างหน้าในสถานการณ์ใหม่ ที่เรียกว่า New Normal และถ้าให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี โดยการลาออก หรือยุบสภา ก็จะได้นักการเมืองที่ไร้ความสามารถ ดังที่เห็นกันอยู่

คณะ “กลุ่มประชาชนคนไทย -ปท.” จึงคิดสูตรให้หา “คนนอก” ที่มีความสามารถ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องให้ทำได้ เพื่อสร้าง “รัฐบาลสร้างชาติ” กันใหม่

แต่ทั้งหมด ก็ต้องอาศัยกลไกรัฐสภา ทั้งสภาล่างและสภาสูง เห็นปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมใจเลือกคนนอก ที่มากความสามารถ ปลอดนักการเมือง มาทำงาน ๔ เรื่องหลักๆ คือ  

๑. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ให้ฟื้นตัวโดยเร็ว หลังไวรัสโคโรน่าชลอตัว
๒. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศ กันใหม่ เพื่อยุติความแตกแยกในชาติ
๓. แก้ไขปัญหาความแตกแยกในสังคม ที่เริ่มแตกแยกลึกลงไป ลึกลงไป
๔. จัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม จัดสร้างรัฐบาลประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม

นี่คือวาระแห่งชาติ ที่ “รัฐบาลสร้างชาติ” ต้องทำให้สำเร็จ ภายใน ๒ ปี ซึ่งเป็นข้อเสนอที่อิงกับการแถลงการณ์ของคณะ “กลุ่มประชาชนคนไทย” ที่นำเสนอเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

เขียนขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๙ ปี  พฤษภา. ๓๕ เพื่อระลึกถึงวีรชนที่บาดเจ็บล้มตาย พิการเสียชีวิตและสูญหายไปในวันนั้น บนถนนราชดำเนิน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"