พิษโควิดกระทบ สภาพัฒน์ ปรับลดจีดีพีทั้งปีเหลือ1.5-2.5%


เพิ่มเพื่อน    


17 พ.ค.2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2564  และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564 ว่าสำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ได้รับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2564 ลดลง 2.6% หลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงปลายปีต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปี ทำให้ทั้งปี สศช. ได้ปรับประมาณการใหม่ จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 2.5-3.5%  เหลือเพียงขยายตัว 1.5 – 2.5% หรือเฉลี่ยขยายตัว 2% ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลง 6.1% ในปี63

ทั้งนี้แม้ว่าในสาขาเศรษฐกิจในหลายๆตัวจะปรับตัวดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการขนส่งสินค้าที่ขยายตัว 3.2% การลงทุนรวมขยายตัว 7.3% การอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว2.1% ภาคการเกษตรขยายตัว1.9% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว0.7% สาขาก่อสร้างขยายตัว12.7% สาขาการเงินขยายตัว3.4% แต่ก็ยังไม่พอที่จะชดเชยกับสาขาที่มีการหดตัวลง ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชนที่ติด-0.5% ปริมาณการส่งออกบริการติด-63.0% สาขาที่พักและบริการด้านอาหารติด-35.0% สาขาขนส่งติด-17.7% และสาขาการค้าติด-2.1%

ซึ่งส่วนสำคัญมาจากการแพร่เชื้อโรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคา ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการสามารถควบคุมการระบาดได้ในระดับหนึ่งในช่วงปลายเดือนมี.ค.แต่กลับมีการระบาดขึ้นมารอบใหม่ในช่วงเดือนเม.ย.และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส1/64เมื่อเทียบกับไตรมาส4/63 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่1 ขยายตัวได้0.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวมาต่เนื่องจากไตรมาสที่3/63 แต่อัตราการขยายตัวเริ่มลดลงเนื่องจากปัญหาการระบาดในช่วงไตรมาสที่1/64

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัว 10.3% ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 1.6% และ 4.3% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 9.3% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.0-2.0% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ด้านการใช้จ่าย มีแรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายรัฐบาลและการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนภาครัฐ ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลง 0.5% เทียบกับการขยาย 0.9% ในไตรมาสก่อนหน้า

สำหรับรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในไตรมาส1/64อยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ลดลง 51% ส่วนมาตรการการดำเนินมาตรการเปิดประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวน 20,172 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่16.15% ลดลงจาก32.49% ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่า 52.40% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในปี 2564 จาก 3.2 ล้านคนเป็น 5 แสนคน

ทั้งนี้ในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 64 สศช.เสนอว่า ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศเพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและอยู่ในวงจำกัดโดยเร็ว และการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงในระลอกใหม่ โดยมุ่งเน้น การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการยกระดับกระบวนการเฝ้าระวังสอบสวนโรคเชิงรุก โดยเฉพาะการเร่งรัดการตรวจเชิงรุกในเขตพื้นที่หรือชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงในกรุงเทพฯ หรือเขตเมืองต่าง ๆ ที่ยังคงเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรง รวมทั้งการดูแลและควบคุมกิจกรรมและกิจการบางประเภทที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการระบาดของโรคอย่างเข้มงวด

และการป้องกันการนำเข้าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์เพิ่มเติมโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางข้ามชายแดน รวมทั้งการเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอเพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการจัดลำดับความสำคัญตามหลักการสาธารณสุขในการกระจายให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตที่สำคัญ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้ในส่วนของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่2% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าอัตราการว่างงาน 1.0% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ -0.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (7.71 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็น 1.9% ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ 2.46 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,472,187.0 ล้านบาท คิดเป็น53.3% ของจีดีพี่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"