เร่งฉีดวัคซีน


เพิ่มเพื่อน    

 

   สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบหน้า สาหัสจริงๆ เจ้าเชื้อร้ายแทรกซึมไปทุกวงการ และส่งผลถึงชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง และตอนนี้ผ่านมา 1 เดือนเต็มๆ แล้ว ยังไม่สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้ลดลงได้ และยังมีคลัสเตอร์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

                และสิ่งที่รัฐบาลจะต่อสู้กับการระบาดในครั้งนี้ได้ ก็คือ วัคซีน ซึ่งประเทศไทยก็ยังถือว่าล่าช้า สำหรับการฉีดวัคซีน ทั้งในเรื่องการจัดหาวัคซีน และการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน ส่งผลให้การเปิดให้ลงทะเบียนรับวัคซีนผ่าน  'หมอพร้อม' ต้องเรียกว่าพลาดเป้าอย่างถล่มทลาย เพราะมีคนที่แสดงความจำนงเพียง 1.6 ล้านคน จากเป้าหมาย 16 ล้าน เป็นอย่างน้อย

                ส่งผลให้ทางภาครัฐต้องปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ และประกาศให้การฉีควัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกองคาพยพ จะต้องร่วมกันขับเคลื่อน เพราะเห็นได้ชัดเจนว่า เชื้อโรค ศัตรูตัวร้าย มันแทรกซึม และขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ปิดตรงนี้ โผล่ตรงนั้น ปิดตรงนั้นโผล่ตรงนี้ ดังนั้นวัคซีนซึ่งก็คือ อาวุธ ที่จะต่อกรกับเชื้อโรค ต้องทันกับการแข่งขัน ที่เรียกว่า ต้องกระจายด้วยความเร็วสูงแข่งกับเชื้อโรค

                นี้คือสิ่งที่เห็นการปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ คือ การเปิดให้ผู้ที่เต็มใจฉีด Walk in เข้ามาที่จุดฉีดวัคซีนได้เลย ขณะเดียวกันก็ต้องมีการจัดแบ่งโควตาตามความพร้อมด้วย เพราะแต่ละจังหวัดศักยภาพ และพื้นที่ให้บริการมีไม่เท่ากัน เบื้องต้น  นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ระบุว่า ในเดือน มิ.ย.ไทยน่าจะมีความพร้อมเรื่องของวัคซีนแล้ว ดังนั้นจึงสามารถเปิดบริการฉีดแบบ Walk in ได้ เบื้องต้นจะมีการจัดสรรโควตาการฉีด คือ ในส่วนของการนัดผ่านหมอพร้อม 30% นัดเป็นกลุ่มมาฉีด 50% และ Walk-in 20% ซึ่งคนที่จองก็จะได้รับวัคซีนก่อน ซึ่งการแจ้งแบบนี้ ก็ถือเป็นกติกาที่ทราบทั่วกันว่า คนที่ไม่ได้นัด อยากฉีดก็ต้องรอ

                แน่นอนรัฐบาลเหมือนต้องแข่งกับเวลา เพราะเชื้อโรคก็ปรับตัวได้เร็วๆ และมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เตรียมที่จะเข้ามาระบาดได้ตลอดเวลา ซึ่งหากยืดเยื้อจะเสียทั้งทรัพยากร, บุคลากร, งบประมาณ และอื่นๆ อีกมาก รวมถึงจะเป็นตัวชี้วัดถึงเศรษฐกิจ และปัญหาปากท้อง ต่อไปในอนาคตได้

                ล่าสุด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics)  มองโจทย์ท้าทายในขณะนี้คือ ทำอย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลงได้เร็ว ขณะเดียวกันสามารถทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

                หนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้นคือ แนวทางการกระจายวัคซีนเชิงรุก (Targeted Approach) แก่ประชากรที่เหมาะสม โดยอาศัยปัจจัยการเคลื่อนไหว (Mobility) เป็นตัวแปรหลัก

                ทาง ttb การประเมินรูปแบบการกระจายวัคซีนเชิงรุก โดยอาศัยเกณฑ์การเคลื่อนไหว (Mobility) สามารถแบ่งกลุ่มผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ตามลักษณะพฤติกรรมการพบปะผู้คนและการเดินทาง ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่ม High Mobility จำนวน 20.2 ล้านคน ประกอบไปด้วยบุคลากรทางการแพทย์ พนักงานขาย พนักงานขนส่ง พนักงานบริการ และพนักงานโรงงาน จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงและโอกาสที่จะติดเชื้อหรือแพร่เชื้อสูง 2) กลุ่ม Medium Mobility จำนวน 6.9 ล้านคน เป็นกลุ่มของพนักงานออฟฟิศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทให้พนักงานส่วนหนึ่งทำงานที่บ้าน (Work from home) สามารถลดความหนาแน่นในที่ทำงานได้ และ 3) กลุ่ม Low Mobility จำนวน 39.3 ล้านคน ได้แก่ ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

                โดยหากเร่งสปีดฉีดวัคซีนวันละ 5 แสนโดส จะทำให้แนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อลดลงในอัตราเร่ง และเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ โดยยอดผู้ติดเชื้อ ณ เดือนธันวาคม มีจำนวนต่ำกว่า 100 คนต่อวัน ซึ่งส่งผลให้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาคการค้าและบริการอยู่ที่ 5.63 หมื่นล้านบาท สำหรับกรณีเลือกฉีดกลุ่ม Low mobility ก่อน ซึ่งจะเริ่มทยอยฟื้นตัวในช่วงเดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป แต่หากเลือกใช้การฉีดเชิงรุกแก่กลุ่ม High Mobility ควบคู่กับฉีดกลุ่มเสี่ยง ความสูญเสียจะน้อยกว่า โดยอยู่ที่ 3.22 หมื่นล้านบาท และกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

                +++++++++++++

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"