ลบแอป “เป๋าตัง” ไม่วืดรับสิทธิ์ “เราชนะ” ได้ง่ายนิดเดียว!!


เพิ่มเพื่อน    

เป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับประชาชนในช่วงวิกฤติจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เมื่อการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 พ.ค.2564 ได้เห็นชอบสนับสนุนวงเงินสิทธิ์เพิ่มเติมให้แก่ผู้รับสิทธิ์ภายใต้โครงการเราชนะ และโครงการ ม33เรารักกัน อีกคนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ รวมเป็นเงิน 2,000 บาท ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมทั้ง 2 โครงการจะได้รับการโอนวงเงินสิทธิ์ตามช่องทางที่เคยได้รับของแต่ละกลุ่มแบบอัตโนมัติ

เริ่มที่ “โครงการเราชนะ” ก่อน โดยประชาชนที่รับสิทธิ์ผ่านทางแอปพลิเคชันเป๋าตัง ก็จะได้รับการโอนวงเงินสิทธิ์ในวันที่ 20 และ 27 พ.ค.2564 ส่วนประชาชนกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ก็จะได้รับการโอนวงเงินสิทธิ์ในวันที่ 21 และ 28 พ.ค.2564 และสามารถใช้วงเงินสิทธิ์ตามโครงการได้ยาวไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย.2564 นั่นเอง
    

ส่วนประชาชนที่อยู่ใน “โครงการ ม33เรารักกัน” จะได้รับวงเงินสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังเช่นเดียวกัน โดยรัฐบาลจะทำการโอนวงเงินสิทธิ์ 1,000 บาทแรกให้ในวันที่ 24 พ.ค.2564 และอีก 1,000 บาทถัดไป ในวันที่ 31 พ.ค.2564 และเช่นเดียวกัน คือ สามารถใช้จ่ายผ่านร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เช่นเดียวกับโครงการเราชนะ
    

แต่ก็มีประชาชนที่ได้สิทธิ์จากทั้ง 2 โครงการที่รับสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งได้มีการถอนการติดตั้ง (Uninstalling) หรือลบแอปพลิเคชันดังกล่าวออกไปแล้ว แม้ว่าระยะเวลาโครงการจะยังไม่สิ้นสุด อาจจะด้วยเหตุผลว่า ใช้วงเงินสิทธิ์ตามโครงการในช่วงแรกหมดแล้ว หรืออื่นๆ ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับสิทธิ์จากวงเงินสิทธิ์ 2,000 บาทที่รัฐบาลจะจ่ายเพิ่มเติมให้ในช่วงเวลาที่กำหนด
    

โดย กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้ออกมาไขข้อสงสัยก่อนที่จะกลายเป็นประเด็นตามมา ว่า ประชาชนกลุ่มที่รับสิทธิ์ผ่านทางแอปพลิเคชันเป๋าตังที่ได้ลบแอปพลิเคชันเป๋าตังออกไปแล้ว ยังสามารถรับสิทธิ์ได้เหมือนเดิม เพียงแค่ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันเป๋าตังใหม่ เพื่อใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ที่ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมในครั้งนี้ ได้จนถึงระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการเช่นเดียวกับประชาชนที่ได้รับสิทธิ์คนอื่นๆ
    

สำหรับ “โครงการเราชนะ” และ “โครงการม33 เรารักกัน” นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี แต่โครงการเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ผ่านการกระตุ้นการใช้จ่าย สนับสนุนให้เกิดการบริโภคนั้นไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีโครงการสุดฮอตอย่าง “คนละครึ่ง” ที่ระยะแรกเปิดลงทะเบียน 10 ล้านคน และผลการลงทะเบียนในช่วงแรกๆ ดูจะไม่ค่อยเวิร์กเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนยังไม่เข้าใจหลักการของโครงการคนละครึ่งเพียงพอ
    

ซึ่ง “โครงการคนละครึ่ง” คอนเซ็ปต์คือ การร่วมจ่าย (Co-Pay) ระหว่างประชาชนที่เข้าร่วมโครงการและรัฐบาล โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป ไม่รวมสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบและบริการต่างๆ ในอัตรา 50% ของราคาสินค้า แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อวัน วงเงินรวม 3,000 บาทต่อคน ในระยะเวลาโครงการที่กำหนด โดยใช้จ่ายผ่าน G-Wallet แอปพลิเคชันเดิม แอปพลิเคชันเดียว อย่าง “เป๋าตัง” ส่วนร้านค้าก็รับจ่ายผ่าน G-Wallet เช่นกัน แต่เป็นแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
    

“โครงการคนละครึ่ง” ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ประชาชนเริ่มเข้าใจหลักการและวิธีการใช้จ่ายมากขึ้น โครงการก็ได้รับความนิยมมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งจากฝั่งประชาชนผู้ใช้จ่ายและจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เรียกว่าแฮปปี้กันทุกฝ่าย จนทำให้ต้องมีโครงการเฟส 2 ตามมา และล่าสุด “โครงการคนละครึ่ง เฟส 3” ก็กำลังจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
    

สำหรับ “โครงการคนละครึ่งเฟส 3” นี้ จะครอบคลุม 31 ล้านคน แบ่งเป็น ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้ว 15 ล้านคน และจะเปิดให้ลงทะเบียนใหม่ ซึ่งรอบนี้จะรับอีก 16 ล้านคน ส่วนเงื่อนไขการใช้จ่ายภายในโครงการก็ยังเป็น Co-Pay เหมือนเดิม โดยเบื้องต้นกระทรวงการคลังคาดว่าจะให้ลงทะเบียนได้ประมาณเดือน มิ.ย.2564 ซึ่งโครงการจะเริ่มดำเนินการ หรือเริ่มให้ใช้จ่ายได้ตั้งแต่ ก.ค.-ธ.ค.2564 นั่นเอง
    

สำหรับประชาชนที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการ “คนละครึ่งเฟส 3” ก็ให้ลงทะเบียนตามกำหนดที่กระทรวงการคลังจะมีการประกาศในระยะต่อไป แต่ในส่วนประชาชนรายเดิมที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้วนั้น ก็ต้อง “ยืนยันตัวตนใช้สิทธิ์” ที่แอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือว่าจะเลือก “สละสิทธิ์” ก็ได้ เพื่อไปใช้สิทธิ์ในมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลเตรียมจะผลักดันออกมาในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อย่าง “โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้” เพราะหลักเกณฑ์ของประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและกระตุ้นการบริโภค คือ 1 คน 1 สิทธิ์ 1 โครงการเท่านั้น
    

ส่วนประชาชนที่จะรับสิทธิ์ในโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายและบรรเทาภาระค่าครองชีพจากรัฐบาล ก็ต้องเลือกรับสิทธิ์ในแต่ละโครงการให้เหมาะสมกับตัวเองที่สุด ขณะที่ประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเดิมอยู่แล้วก็ไม่ต้องกังวล เพียงแค่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดเพื่อรับสิทธิ์เท่านั้น!!.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"