16 พ.ค. 2564 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ปากท้องวันนี้ ปากท้องหลังโควิด กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,382 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 – 15 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่าปากท้องวันนี้ในมุมของประชาชน ผลสำรวจพบ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ขอรัฐบาลบูม ส่งเสริมสินค้าเกษตร รองลงมาคือร้อยละ 78.0 ต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการผ่อนผันการชำระหนี้ในระบบ เช่น ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ร้อยละ 74.4 ต้องการมาตรการเยียวยา เช่น ลดค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ ร้อยละ 73.0 ต้องการให้เจ้าสัว ผู้ประกอบการ ลดราคารอาหารและสินค้าจำเป็น
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.6 ต้องการรัฐบาลช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ หามือปราบหนี้นอกระบบมาสร้างผลงานช่วงวิกฤตชาติลดความเดือดร้อนปลอดจากอำนาจมืด และร้อยละ 64.0 ต้องการให้รัฐบาลกระจายที่ทำกิน ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นธรรมทั่วถึง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนหลังโควิด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 หวังให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางและฐานผลิตอาหารปลอดสารพิษ รองลงมาคือร้อยละ 74.4 ต้องการให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวพลิกฟื้นเศรษฐกิจปากท้องนำชีวิตชีวาของประชาชนกลับมา ร้อยละ 66.1 คาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวรวดเร็ว และร้อยละ 63.1 ระบุประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางและฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 ระบุมีความหวังจะลุยไปข้างหน้าค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 16.4 ระบุปานกลาง และร้อยละ 4.1 ระบุค่อนข้างน้อยถึงไม่มีความหวังเลย
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประเทศชาติและประชาชนยังมีทางออกที่ดีหลายทางโดยข้อมูลที่ค้นพบสามารถจำแนกออกให้เห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ยังมีความหวัง หลังโควิดที่จะลุยกันต่อไปข้างหน้า ด้วยความหวังในมาตรการต่างๆ ของรัฐ ใน 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือ การเยียวยาเร่งด่วน แก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้ครอบคลุมและทั่วถึงในกลุ่มต่างๆ เพื่อพยุงให้ยืนได้ก่อนกลับมาเดินหน้ากันต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องผ่านแรงเสียดทานของอารมณ์ความรู้สึกและความพึงพอใจที่หลากหลาย ที่ต้องการความร่วมมือจากภาคเอกชนอย่างมา
กลุ่มที่ 2 คือ การช่วยเหลือแก้ปัญหายาดำเดิมในสังคม ที่บั่นทอนความรู้สึกเหลื่อมล้ำเป็นธรรมในสังคม เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบ ที่ดินทำกิน ราคาพืชผลการเกษตร และสิ่งค้างคาใจอื่น ๆ ที่ประชาชนอยากปฏิรูปในเรื่องใกล้ตัวมากกว่า และกลุ่มที่ 3 คือ เป้าหมายที่ชัดเจนของประเทศและความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการขับเคลื่อน เช่น การเป็นศูนย์กลางและฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การเป็นประตูอาเซียน และการเป็นศูนย์กลางการเกษตรปลอดสารพิษ เป็นต้น ซึ่งหากมีสนับสนุนและมีความชัดเจนจากรัฐ มันคือหัวรถจรวดกำลังแรงที่จะฉุดประเทศให้เปลี่ยนแปลงอย่างโดดเด่น
ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวต่อว่า การสะท้อนของประชาชนผ่านผลโพลถึงความหวังทั้ง 3 กลุ่ม จะเห็นว่าในวิกฤตยังมีโอกาส และในโอกาสนี้ยังเป็นความหวังของทุกคนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศ และพัฒนาการของคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น ในขณะที่เรากำลังปัดป้องตั้งรับจากโรคระบาดด้วยความกลัวและขัดแย้งกันอยู่ ในเวลาเดียวกัน เราต่างไม่หยุดคิดและจินตนาการตัวเราและสังคมไทยในอนาคตอย่างมีความหวังร่วมกัน ต้องช่วยกันจบโรคระบาดให้เร็วที่สุดและพร้อมจะรวมพลังขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าอย่างถูกทิศทางและเป็นประโยชน์ร่วมกัน ขอเพียงความจริงใจและความมุ่งมั่นที่ชัดเจนจากรัฐบาล เชื่อว่าเราทุกคนทุกภาคส่วนพร้อมใช้ยุทธศาสตร์ “ล้มและลุกทันที” เมื่อเราล้มแล้วพยุงกันลุกพร้อมจับมือเดินหน้าลุยไปด้วยกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |