OctDem คนเดือนตุลาฯ โผล่เรียกร้องรัฐบาล แก้ไขสถานการณ์ระบาดโควิดแก่ผู้ต้องขังตามหลักสากล


เพิ่มเพื่อน    

15 พ.ค.64 - OctDem  หรือ "กลุ่มคนเดือนตุลาเพื่อประชาธิปไตย" อาทิ นายเกรียงกมล เลาหไพโรจน์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายสมศักดิ์ ปริศนานันนทกุล นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี ออกแลงการณ์เรื่อง "การแก้ไขสถานการณ์โรคระบาดแก่ผู้ต้องขังตามหลักสากล"

1. หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย กำลังเผชิญกับสถานการณ์ "นักโทษล้นเรือนจำ" นำมาซึ่งความแออัดและความขาดแคลนด้านสาธารณสุข ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 นี้ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อและการแพร่ระบาดในเรือนจำ ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ และอาจกระทบต่อสังคมภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันประเทศไทยมีเรือนจำ และทัณฑสถานทั่วประเทศ จำนวน 143 แห่ง สามารถรับรองผู้ต้องขังได้ ประมาณ 254,000คน แต่ผู้ต้องขังทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 350,000 คน ซึ่งเกินความจุเรือนจำ ทำให้ผู้ต้องขังอาศัยอยู่รวมกันในสภาพแออัด  โดยเฉพาะในเรือนนอนที่ต้องอยู่ วันละเกินกว่า 14 ชั่วโมง การเว้นระยะห่างทำไม่ได้ เพราะในสภาพจริง ผู้ต้องขังต้องนอนเบียดกันแบบ ไหล่ชนไหล่ เท้าชนเท้า หัวชนหัว ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ การติดเชื้อและการแพร่ระบาดในเรือนจำ จึงเกิดง่ายมาก ถ้ายังอยู่ในสภาพเบียดเสียดเช่นนี้ ดังมีตัวอย่างในสองเรือนจำใหญ่ ที่มีคนติด โควิด-19 แล้ว ถึงเกือบ 3,000 คน ซึ่งสถานการณ์แบบนี้อาจเกิดได้อีกหลายแห่ง

ถ้าสกัดไม่ทันตั้งแต่ต้นจะเกิดคนป่วยจำนวนมากจนไม่มีสถานที่รักษา ไม่มีเครื่องช่วยหายใจ การระบาดจะล้นเกินกำลังที่จะรักษาได้ เหมือนเหตุการณ์ในเมืองอู่ฮั่น ช่วงที่มีการระบาดใหม่ๆ

2. หลักการของการแก้ปัญหาโรคระบาดก็คือต้องตัดไฟแต่ต้นลม เราเห็นว่าเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอมาแล้วตั้งแต่ปี 2563 คือข้อเสนอของ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความแออัด ในเรือนจำ ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญของการแพร่ระบาดของโรค และข้อเสนอนั้นเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2564 นี้ เป็นอย่างยิ่ง คือ

1. การใช้มาตรการอื่นแทนการจำคุกระยะสั้นสำหรับผู้กระทำผิดคดีไม่รุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว หญิงที่ตั้งครรภ์ และผู้กระทำผิดคดีเล็กน้อยที่ไม่เป็นภัยอันตรายต่อสังคม โดยใช้วิธีการอื่น เช่น การเรียกค่าปรับ การใช้มาตรการคุมประพฤติ การควบคุมตัวที่บ้าน และการใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์

2. การใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อปล่อยตัวผู้ต้องขังที่พิจารณาแล้วว่าไม่เป็นภัยต่อสังคม โดยพิจารณาจากลักษณะความผิด ความประพฤติโทษคงเหลือ ตลอดจนภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพ และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม อาทิ การปล่อยก่อนกำหนด การพักโทษ การปล่อยตัวชั่วคราว และเปลี่ยนโทษจำคุกที่เหลือเป็นการควบคุมตัวที่บ้าน โดยให้ความสำคัญกับผู้ต้องขังในกลุ่มต่อไปนี้เป็นอันดับแรก

2.1 ผู้ต้องขังระหว่างที่คดียังไม่เสร็จเด็ดขาด (อยู่ระหว่างการสอบสวน การไต่สวนพิจารณา และการอุทธรณ์ – ฎีกา) รวมทั้งผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขังรวม

2.2 ผู้ต้องขังเด็ดขาดที่เหลือโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี 
2.3 ผู้ต้องขังเด็ดขาดที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป 
2.4 ผู้ต้องขังเด็ดขาดกลุ่มคดีอื่นๆ ที่มีความผิดไม่ร้ายแรง (อาทิ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ร.บ.การพนัน คดีลหุโทษ ฯลฯ) 

3. การมีระบบการติดตามและรายงานตัวของผู้ต้องขังที่มีประสิทธิภาพ ในกรณีการปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไข รวมทั้งกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการคัดกรองด้านสุขภาพก่อนการปล่อยตัว การให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานกลับภูมิลำเนา ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพหลังพ้นโทษ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อความสงบและความปลอดภัยของสังคม

นอกจากนี้ยังมีแนวทางแก้ไขซึ่ง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อเร็วๆนี้ มี 3 แนวทางคือ

1.การขอพระราชทานอภัยโทษ
2.การพักโทษโดยให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษสวมใส่กำไล EM ในกรณีพิเศษ 
3. การปรับแก้กฎหมายตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เช่น การปรับลดโทษ

ข้อเสนอทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องดี เพียงแต่จะต้องนำมาปฏิบัติอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นอาจไม่ทันตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะระบาดต่อเนื่องไปอีกนานเท่าใด อีกทั้งจะต้องมีคนที่ทำความผิดร้ายแรงถูกนำเข้ามากักขังในเรือนจำ ถ้าไม่นำคนที่โทษเหลือน้อยออกไป ถึงอย่างไรสถานที่ก็ไม่พอเพียง ถ้าป่วยแล้วจะไม่รักษาก็ไม่ได้ ถ้าปล่อยให้มีคนป่วยมากขึ้น นำออกไปรักษาข้างนอกก็จะกลายเป็นภาระยุ่งยากเข้าไปใหญ่ 

ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มิได้มีโทษหนักชนิดต้องจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต และมีผู้ต้องหาอีกจำนวนหลายหมื่นที่ยังไม่รู้ว่าทำความผิดจริงหรือไม่แต่ถูกขังไว้ในขณะที่กำลังดำเนินคดีในศาล ถ้าพวกเขาถูกกักขังไว้และติดโรคจนถึงแก่ชีวิต มันจะกลายเป็นความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องหลายองค์กร

นอกจากนี้ ยังมีผู้ต้องขังจำนวนมาก ที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดี มิได้มีคำพิพากษาจนถึงที่สุด ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษา หากมีเหตุผลอันสมควรที่จะได้รับการประกันตัว ก็สมควรจะต้องให้การประกันตัวโดยทันที เพื่อไม่ให้เสี่ยงกับชีวิต และสุขภาพจากการระบาดของเชื้อ โควิค-19 ในเรือนจำ

ขณะเดียวกัน เราขอเรียกร้องให้หน่วยงานสาธารณสุขระดับชาติ จากภายนอกเรือนจำ เข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในเรือนจำ ตรวจคัดกรอง และดูแลรักษาผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศ ที่ว่าไปแล้ว สถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้น เกินความสามารถ ศักยภาพภาพของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยด่วนที่สุด

ถึงวันนี้ ในภาวการณ์การระบาดหนักของโควิดในเรือนจำที่เป็นอยู่ เราขอเรียกร้องให้ ศคบ.ได้ใส่ใจชีวิตผู้ต้องขังเหล่านี้  ในฐานะความเป็นมนุษย์ที่เป็นเพื่อนร่วมโลกของเรา

เราจึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยข้อเท็จจริง เร่งปฏิบัติตามข้อเสนอสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และแนวทางที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้กล่าวไว้โดยเร็วที่สุด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"