พี่น้องชุมชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ/ ‘พอช.’ หนุนองค์กรชุมชนทั่วประเทศสู้ภัยโควิด-19 โดยที่ประชุมบอร์ดมีมติพักชำระหนี้สินเชื่อและดอกเบี้ยองค์กรชุมชนทั่วประเทศ ระยะเวลา 3 เดือน เริ่มพฤษภาคมนี้ รวม 149 องค์กร ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อก่อสร้างบ้านตามโครงการ ‘บ้านมั่นคง’ รวมยอดหนี้ 1,899 ล้านบาท พักดอกเบี้ยรวม 18 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด งบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิต และซ่อมแซมสาธารณูปโภค-บ้านเรือน ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน
วันนี้ (14 พ.ค.) ระหว่างเวลา 08.30-12.30 น. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ จัดประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ หรือ ‘บอร์ด พอช.’ โดยประชุมผ่านระบบ ZOOM มีนายไมตรี อินทุสุต ประธานคณะกรรมการสถาบันฯ เป็นประธานการประชุม มีผู้บริหาร พอช. เช่น นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผอ.พอช. และคณะกรรมการสถาบันฯ เช่น นายอนุกูล ปิดแก้ว รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ฯลฯ รวม 18 คนร่วมประชุม
นายไมตรี อินทุสุต ประธานคณะกรรมการสถาบันฯ
บอร์ด พอช.เห็นชอบพักชำระสินเชื่อสหกรณ์ 149 องค์กร ระยะเวลา 3 เดือน
นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีวาระที่สำคัญคือ 1.การขอความเห็นชอบมาตรการการบรรเทาความเดือดร้อนและให้การช่วยเหลือองค์กรชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก 3 และ 2. โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอก 3 พบผู้ติดเชื้อในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัด ซึ่งมีที่มาจากแหล่งสถานบันเทิง รวมทั้งสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน ทำให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกระจายไปในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัด เริ่มจากเขตคลองเตย และมีแนวโน้มที่จะพบในหลายชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผอ.พอช.
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะไม่มีมาตรการล็อกดาวน์พื้นที่เหมือนกับมาตรการในปี 2563 แต่จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตซึ่งมีจำนวนสูงมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป อาชีพภาคบริการ จากการตกงาน ถูกพักงาน ความสามารถในการหารายได้ลดลง และบางส่วนจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ
นอกจากนี้ ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2564 สถาบันฯ และเครือข่ายองค์กรชุมชน ได้ร่วมกันประเมินความเดือดร้อนของสหกรณ์โครงการบ้านมั่นคงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อพิจารณามาตรการด้านสินเชื่อที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าว
จากการสำรวจพบว่า มีสหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคงที่ได้รับผลกระทบและเสนอให้สถาบันฯ พิจารณาช่วยเหลือในเรื่องการชำระหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 271 องค์กร (คิดเป็นร้อยละ 62.44 ขององค์กรผู้ใช้สินเชื่อโครงการบ้านมั่นคง) จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 องค์กรที่สามารถชำระคืนตามปกติ ยังอยู่ในสถานการณ์ที่รับภาระสินเชื่อได้ จำนวน 163 องค์กร กลุ่มที่ 2 สหกรณ์ที่สมาชิกบางส่วนได้รับผลกระทบ จำนวน 122 องค์กร และ กลุ่มที่ 3 สหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น สมาชิกเกินร้อยละ 50 ได้รับผลกระทบ ต้องตกงาน หรือมีรายได้ลดน้อยลง ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ มีผู้ติดเชื้อหรือเสียชีวิตในชุมชน โดยมีสมาชิกต้องกักตัวตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด จำนวน 149 องค์กร
นายสมชาติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พอช. ได้รับการร้องทุกข์จากชุมชนที่ประสบความเดือดร้อนจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ซึ่งเครือข่ายชุมชนได้พยายามช่วยกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าเท่าที่จะทำได้ แต่เนื่องจากปัญหาครั้งนี้มีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดสู่ชุมชนในวงกว้างมากกว่าในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะชุมชนแออัดในเมืองและผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงตามที่ปรากฏในพื้นที่และสื่อต่าง ๆ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อในชุมชนบ้านมั่นคง/ชุมชนแออัด 130 ชุมชน มีผู้ติดเชื้อรวม 493 ราย ผู้ถูกกักตัว 1,388 ราย)
ดังนั้น พอช. จึงต้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของชุมชนให้ทันการณ์ ช่วยป้องกัน ลดความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในวงกว้างต่อสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของรัฐบาลในการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ การเสริมสภาพคล่องทางการเงิน การลดภาระค่าใช้จ่าย เป็นต้น
“มติที่ประชุมเห็นชอบเห็นชอบการพักชำระหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างการพักชำระหนี้ให้กับองค์กรผู้ใช้สินเชื่อ 149 องค์กร ยอดหนี้รวม 1,899.31 ล้านบาท รายได้ดอกเบี้ยที่จะลดลงในปี 2564 จำนวน 18.22 ล้านบาท และเห็นชอบการพักชำระหนี้ให้กับองค์กรผู้ใช้สินเชื่อในระยะถัดไป ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจนกระทบกับความสามารถในการชำระคืน รวมถึงองค์กรสินเชื่อประเภทอื่น ๆ นอกจากโครงการบ้านมั่นคง โดยให้ผู้อำนวยการพิจารณาอนุมัติและรายงานให้คณะกรรมการทราบในการประชุมครั้งต่อไป” นายสมชาติ ผอ.พอช. บอกถึงมติของที่ประชุมบอร์ด
ส่วนระยะเวลาในการพักชำระหนี้ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ระยะเวลา 3 เดือน หรือจนถึงเดือนกรกฎาคมนี้สำหรับสหกรณ์หรือองค์กรชุมชนที่มีความพร้อมจะพักชำระหนี้ ส่วนสหกรณ์หรือองค์กรอื่นๆ อาจจะขยับเป็นเดือนต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมบอร์ด พอช.ได้กำชับให้สหกรณ์และองค์กรชุมชนที่พักชำระหนี้ได้คำนึงถึงการรักษาวินัยทางการเงินด้วย
หนุนแก้ปัญหาเฉพาะหน้า-พัฒนาคุณภาพชีวิต
สร้างงาน-สร้างรายได้ในชุมชนใช้งบ 30 ล้านบาท
นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด พอช.ยังเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด โดยแยกเป็น 1.สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนเฉพาะหน้าและพัฒนาคุณภาพชีวิต งบประมาณรวม 20 ล้านบาท เช่น ดูแลช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับความเดือดร้อน ผู้ป่วย ผู้ที่ต้องกักตัว และกลุ่มปราะบางในชุมชน เช่น การแจกจ่ายอาหาร ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น
การวัดไข้และแจกอาหารที่ชุมชนในเขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
ป้องกันและเฝ้าระวังในชุมชน เช่น แจกจ่ายหน้ากาก เจลล้างมือ/น้ำยาฆ่าเชื้อ เครื่องวัดอุณหภูมิ-วัดไข้คนในชุมชน ตรวจเยี่ยม-คัดกรองคนเข้า-ออกในชุมชน การพัฒนาอาชีพและพื้นที่ในการผลิตอาหาร เพื่อยังชีพและเลี้ยงชีพคนในชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่คนในชุมชนเข้าถึงและปลอดภัย เช่น ทำเกษตร ปลูกผักบริเวณบ้านหรือพื้นที่ส่วนกลาง
การเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร อาหารทะเล สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างชุมชน การเชื่อมโยงกลไกการขับเคลื่อนงานในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานในกระทรวง พม. รวมงบประมาณ 20 ล้านบาท
2.สนับสนุนการพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบสาธาณูปโภคและที่อยู่อาศัยในชุมชนให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม งบประมาณรวม 10 ล้านบาท ทั้งในชุมชนบ้านมั่นคงที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงเพิ่มเติม และชุมชนแออัดที่ยังไม่เข้าสู่โครงการบ้านมั่นคง ซึ่งจะช่วยสร้างงานให้กับคนในชุมชนได้มีงานทำและมีรายได้ หรือคนที่ตกงานกลับสู่ชุมชน และยังเป็นการกระจายเม็ดเงินไปยังร้านค้าและผู้ประกอบการในชุมชนให้มีเงินหมุนเวียน
เผยโควิดรอบแรกปี 2563 พอช.พักชำระหนี้ 409 องค์กร
สนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต1,754 โครงการ
ทั้งนี้ในช่วงการสถานการณ์โควิด-19 ระลอกแรกในปี 2563 บอร์ด พอช.ได้เห็นชอบการพักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยมีองค์กรผู้ใช้สินเชื่อที่ได้รับประโยชน์ 409 องค์กร ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน 2563 รวมเป็นเงิน 76.07 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองและชนบท โดยใช้งบประมาณคงเหลือจากโครงการบ้านมั่นคงที่ไม่มีภาระผูกพัน 144.25 ล้านบาท โดยสนับสนุนโครงการของชุมชนไปทั้งหมด 1,754 โครงการ 535,577 ครัวเรือน แยกเป็นชุมชนเมือง 220 เมือง 2,931 ชุมชน และพื้นที่ชนบท 1,534 ตำบล ใช้งบประมาณรวม 126.52 ล้านบาท
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ที่ อ.เถิน จ.ลำปาง
ส่วนการแพร่ระบาดของโควิดในปี 2564 นี้ พอช.ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศได้รวมตัวกันจัดตั้ง ‘เครือข่ายองค์กรชุมชนสู้ภัยโควิด’ ขึ้นมา เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีคณะทำงาน 23 คน เพื่อร่วมกันระดมทุนจากทุกภาคส่วนนำไปช่วยเหลือพี่น้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยช่วยเหลือชาวชุมชนในเขตกรุงเทพฯ ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปแล้ว 47 ชุมชน ขณะที่เครือข่ายชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศได้ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในชุมชนท้องถิ่นของตนเองด้วยเช่นกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |