แฟ้มภาพ
14 พ.ค.64 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พ.ต.ต.กิตติศักดิ์ จูสกูลวิจิตร์ พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ได้ยื่นคำร้องฝากขังผู้ต้องหาคดีชุมนุมหน้าศาลอาญา รวม 2 สำนวน สำนวนแรก คดี ฝ.547/2564 ผู้ต้องหา 13 คน ประกอบด้วย นายศุภกิจ บุญมหิทานนท์ อายุ 19 ปี, นายวีรภาพ วงษ์สมาน อายุ 18 ปี, นายปรณัท น้อยนงค์เยาว์ อายุ 25 ปี, นายพัชรวัฒน์ โกมลประเสริฐกุล อายุ 18 ปี, น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ อายุ 22 ปี (แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก), ว่าที่ ร.ต.อิทธิกร ทรัพย์แฉ่ง อายุ 21 ปี, น.ส.ปรัชญา สานจิตสัมพันธ์ อายุ 24 ปี, น.ส.สุทธิตา รัตนวงศ์ อายุ 23 ปี, นายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง อายุ 22 ปี,นายศรัณย์อนุรักษ์ปราการ อายุ 21 ปี, นายชาติชาย แกดำ อายุ 37 ปี, นายชนกันต์ เคืองไม่หาย อายุ 19 ปี และนายยงยุทธ ฮังนนท์ อายุ 23 ปี ผู้ต้องหาที่ 1-13 ส่วนสำนวนที่สอง คดี ฝ.548/2564 ยื่นฝากขัง นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อายุ 59 ปี แนวร่วมกลุ่มราษฎร ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 732/2564 ลงวันที่ 11 พ.ค. 2564
ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณา, ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ให้เลิกไปแต่ผู้กระทำไม่เลิกมั่วสุม, ร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่แออัดเกินกว่า 20 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคติดต่อ, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198, 215, 216 ประกอบมาตรา 83 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548 มาตรา 9, 18 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 25 เม.ย. 2564 พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 มาตรา 4, 9
โดยเป็นการฝากขังครั้งแรกมีกำหนด 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 14 - 25 พ.ค. 2564 เนื่องจากพนักงานสอบสวนยังต้องสอบพยานอีก 10 ปาก, รอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ และประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา
คำร้องระบุพฤติการณ์สรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 มีกลุ่มมวลชนประมาณ 200 คน เข้ามารวมตัวชุมนุมมั่วสุมกัน ที่บริเวณหน้ามุขตรงบันไดทางขึ้นอาคารศาลอาญา โดยมีนายสมยศ ผู้ต้องหาที่เป็นแกนนำปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียง ซึ่งเนื้อหาสำคัญในคำปราศรัย เป็นการตำหนิการทำหน้าที่ของศาลที่ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และมีการปลุกเร้าให้กลุ่มผู้ชุมนุมเห็นพ้องกับเนื้อหาที่ปราศรัยรวมถึงการแสดงความไม่พอใจในการทำหน้าที่ของศาล โดยมีการโห่ร้องด่าทอ แสดงอาการไม่พอใจ และตะโกนให้ศาลต้องมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว นายพริษฐ์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีการยื่นขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการ จนเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าไปควบคุมสถานการณ์เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เนื้อหาที่กลุ่มมวลชนได้กล่าวปราศรัยนั้นมีถ้อยคำบางคำที่เป็นการหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าว และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายในบริเวณที่ทำการของศาลซึ่งมีข้อกำหนดของศาลเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบริเวณศาล คือไม่ให้ประพฤติตนใช้คำพูดหรือกริยาในทางที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยส่งเสียงดัง ปรากฏว่าระหว่างที่มีการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าไปประกาศข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นให้กลุ่มผู้ที่ชุมนุมได้ทราบและให้เลิกชุมนุมแล้ว แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ไม่ปฏิบัติตามแต่อย่างใด อีกทั้งยังปรากฏว่าในการชุมนุมดังกล่าวได้มีการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กทางเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นัดหมายวันและเวลามวลชนมาพบกันที่บริเวณศาลอาญา
หลังจากการชุมนุมเรียกร้องในวันดังกล่าวได้ยุติไปแล้ว และเห็นว่าการชุมนุมกดดันไม่เป็นผล กลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้มีการนัดหมายเพื่อมาชุมนุมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากเพจของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเยาวชนปลดแอกมาร่วมชุมนุมด้วย โดยพบว่ามีการโพสต์ข้อความในเพจเยาวชนปลดแอก (Free Youth) เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 นัดหมายให้เดินทางมาร่วมชุมนุมเพื่อกดดันศาลในการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยกับพวกที่บริเวณหน้าศาลอาญาในวันที่ 2 พ.ค. 2564
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2564 เวลา 12.00-22.00น. ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 500 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ต้องหาที่ 1-13 ปรากฎ เข้ามารวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าศาลอาญา และมีการทำกิจกรรมนำภาพถ่ายของผู้พิพากษาซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าวมาปิดไว้ที่บริเวณป้ายชื่อหน้าศาล จากนั้นได้มีการนำสีและของเหลวสีแดงมาเทราดที่ป้ายชื่อของศาล และที่ภาพของผู้พิพากษา อีกทั้งยังได้มีการยิงหนังสติ๊กขว้างปาไข่ มะเขือเทศ ขยะ ก้อนหินและสิ่งของต่างๆ เข้ามาในบริเวณศาล พร้อมทั้งตะโกนเรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวจำเลย เปิดเครื่องขยายเสียงซึ่งมีถ้อยคำกล่าวหาผู้พิพากษาผู้ทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่าเป็นฆาตกร พร้อมทั้งนำข้อมูลส่วนตัวของผู้พิพากษา เช่น บุคคลในครอบครัว ถิ่นที่อยู่ มาเปิดเผยและประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบ
ต่อมาพนักงานสอบสวนจึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออำนาจศาลอาญาอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาที่ 1-13 และนายสมยศ ตามหมายจับศาลอาญาที่ที่ 732-745/2564 ลงวันที่ 11 พ.ค2564 ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดได้เข้ามามอบตัวเมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 14 พ.ค.2564 เหตุเกิดที่บริเวณ ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนขอคัดค้านการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหา เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนีและยากแก่การติดตามตัวมาดำเนินคดีในภายหลัง
ศาลพิจารณาคำร้องและสอบถามผู้ต้องหาทั้งหมดแล้วไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ฝากขังได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |