30 พ.ค.61 - นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความ"เรื่องกองทุนน้ำมัน: นายกประยุทธ์ภูมิใจผิดจุดเสียแล้ว!"ลงเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า"พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์สื่อด้วยความภูมิใจ ที่รัฐบาลของท่านมิได้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน ...
ในวันนี้จึงมีเงินกองทุนอยู่ 31,056 ล้านบาท สามารถใช้พยุงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ...
และคงจะใช้พยุงราคาก๊าซหุงต้มได้อีกด้วย
ท่านกล่าวว่าบริหาร 2 ทาง ทั้งหลักวิชาการและเศรษฐศาสตร์ ข้อมูลทางข้าราชการ และการรับฟังความเดือดร้อนจากประชาชน
แต่ในฐานะนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ ผมขอให้ข้อมูลด้วยความเคารพ ...
การบริหารนโยบายราคาพลังงานของรัฐบาล คสช. ผิดทั้งหลักวิชาการ และหลักเศรษฐศาสตร์ ...
ขออธิบายดังนี้
ประการที่หนึ่ง เงินกองทุนเป็นเงินของประชาชนเอง
การที่รัฐบาลช่วยแบ่งเบาภาระราคาพลังงานให้แก่ประชาขนนั้น ประชาชนย่อมชอบอกชอบใจ เนื่องจากช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ระดับหนึ่ง
แต่ถามว่าเงินกองทุนนั้น มาจากไหน?
คำตอบคือเงินกองทุนน้ำมัน มาจากกระเป๋าประชาชน ไม่ใช่เงินของรัฐบาลตามงบประมาณแผ่นดิน
จึงเป็นเงินที่ประชาชนช่วยตัวเอง ...
ประการที่สอง รัฐบาลไม่ได้ดูแลโครงสร้างกำไรทั้งระบบให้เป็นธรรมเสียก่อน
หน้าที่ของรัฐบาล จะต้องดูแลโครงสร้างกำไรทั้งระบบ เพื่อให้เป็นธรรม ทั้งแก่ผู้ประกอบธุรกิจ และแก่ประชาชนผู้บริโภค
ถ้าหากโครงสร้างบิดเบี้ยว เปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจในบางห่วงโซ่ ทำกำไรได้มากกว่าปกติ ก็ย่อมจะไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้บริโภค
รัฐบาลของ คสช. ถือกองทุนน้ำมันเป็นกุญแจวิเศษ แต่มิได้แก้ปัญหาโครงสร้าง
ประการที่สาม เป็นการซุกปัญหา
โครงสร้างธุรกิจพลังงานขณะนี้มีปัญหา ทั้งเรื่องน้ำมัน และเรื่องก๊าซหุงต้ม
ในเรื่องของน้ำมัน
ผมอธิบายแล้วว่า การกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นในไทย ให้เท่ากับหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ แถมบวกด้วยค่าขนส่งเทียมนั้น ...
เป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมเฉพาะในอดีตที่ไทยมีโรงกลั่นน้ำมันไม่พอ
แต่บัดนี้ ไทยมีโรงกลั่นเกินพอแล้ว ไม่มีความจำเป็นจะต้องให้กำไรที่เกินกว่าปกติ รัฐบาล คสช. ควรแก้ไขกติกานี้ก่อน
ปรากฏว่า ไม่มีการทบทวนกติกา ...
ในเรื่องของก๊าซหุงต้ม
นอกจากจะไม่ทบทวนกติกาค่าขนส่งเทียมสำหรับน้ำมัน ...
ยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ใช้ก๊าซหุงต้มอีก
โดยการ ยกเลิกเพดานเดิม ที่รัฐบาลในอดีตไม่แตะต้อง ...
และยกกติกาค่าขนส่งเทียม เอาไปใช้กับเรื่องก๊าซหุงต้มอีกด้วย ทำให้ก๊าซไทยแพงกว่าตลาดโลก
เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทพลังงาน ทำให้ตลาดหุ้นคึกคัก ตัวเลข จีดีพี สวยงาม แต่ประชาชนยากจนลง!
พอราคาตลาดโลกดีดสูงขึ้น ประชาชนก็เดือดร้อนหนัก ทำให้ต้องหาทางแก้ไข ...
แต่แทนที่จะแก้ไข โดยย้อนไปยกเลิกกติกาที่ผิด กลับใช้เงินกองทุนมาโป๊ว
ถามว่า การใช้เงินกองทุนน้ำมันโป๊ว มีข้อเสียอย่างไร?
หนึ่ง ไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแห่งโรค แก้แต่เพียงอาการป่วย จึงได้ผลเพียงชั่วคราว ...
เงินกองทุนหมดลงเมื่อใด ความเดือดร้อนก็จะกลับมาเมื่อนั้น
สอง นโยบายรัฐบาลอุ้มนายทุน ให้นายทุนนั่งบนบ่าของประชาชน"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |