โคราชสุดเจ๋ง! นักวิจัย'มทส.'ค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ของโลก'แจงสุรนารี'


เพิ่มเพื่อน    

14 พ.ค. 64 - รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยถึงการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก และค้นพบครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งค้นพบโดยทีมนักวิจัยศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา พร้อมตั้งชื่อให้ว่า แจงสุรนารี เพื่อระลึกถึงท้าวสุรนารี และเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยได้รับการตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลกนี้ในวารสารวิชาการนานาชาติ Phytotaxa เรียบร้อยแล้ว

แจงสุรนารี เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย เจริญเติบโตช้า พบในป่าเบญจพรรณแล้ง ถือเป็นพืชป่าเฉพาะถิ่นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Maerua koratensis Srisnga & Watthana (เมรัว โคราชเทนซีส ศรีสง่า&วัฒฐานะ) พร้อมกันนี้ได้มีการส่งมอบต้นกล้า แจงสุรนารี จำนวน 30 ต้น ให้กับทางศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา นำไปลงพื้นที่ปลูกต้นกล้าเพื่ออนุรักษ์ขยายสายพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไปตามธรรมชาติ

รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า ทีมนำวิจัยได้ออกสำรวจทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่รอบศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในรัศมี 50 กิโลเมตร โดยได้เก็บรวบรวมทรัพยากรที่หายากนำมาอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อเพิ่มจำนวน และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน  จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ทีมนักวิจัยได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ซึ่งพบเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น เป็นพืชที่อยู่ในสกุลเดียวกับแจง  และเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดที่มีทั่วโลกแล้วพบว่า พืชชนิดนี้มีลักษณะที่แตกต่างไม่เหมือนกับพืชชนิดใด จึงได้จดตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Maerua koratensis Srisnga & Watthana และมีชื่อไทยว่า แจงสุรนารี เพื่อระลึกถึงท้าวสุรนารี และเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  และยังได้รับการตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลก แจงสุรนารี ในวารสารวิชาการนานาชาติ Phytotaxa  ในปี 2564

ทั้งนี้ “ แจงสุรนารี “   เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย เจริญเติบโตช้า พบในป่าเบญจพรรณแล้ง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ติดผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นพืชป่าที่ยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็นพืชหายาก ปัจจุบันค้นพบเพียงแค่ 14 ต้นเท่านั้น จึงมีสถานภาพทางการอนุรักษ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง ทีมนักวิจัยจึงได้ร่วมกันขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ในเบื้องต้นได้นำต้นกล้าจำนวน 30 ต้น ไปฟื้นฟูปลูกคืนสู่ธรรมชาติ และอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้พืชท้องถิ่นชนิดนี้สูญหายไปจากประเทศ  ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายด้านพันธุกรรมพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของประเทศไทย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"