พบ2ขวบเล่นโซเชียล


เพิ่มเพื่อน    

  ช็อก! เด็ก 2 ขวบพ่อแม่ให้เล่นมือถือ เผยสถิติช่วงโควิดเยาวชนท่องอินเทอร์เน็ตนาน 8 ชม./วัน เกือบ 40% เข้าสื่อโซเชียล-เล่นเกม หวั่นความปลอดภัย ถูกกลั่นแกล้ง เสียสุขภาพจิต ชง ศธ.ทำแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลในโรงเรียน ส่วนผู้ปกครองจัดสภาพแวดล้อมเหมาะสม
วันที่ 13 พ.ค. ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เด็กต้องใช้ชีวิตในบ้านเพื่อปรับตัวเรียนผ่านระบบออนไลน์ ทำให้มีโอกาสใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น ปัญหาสำคัญในการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กคือ ใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ขาดการยับยั้งชั่งใจ เสี่ยงต่อการได้รับกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ เข้าถึงสื่อการพนัน สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง หยาบคาย และลามกอนาจาร ทำให้เกิดผลเสียทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ในระยะยาว ควรปลูกฝังเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล เท่าทันตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม และพัฒนาปัจจัยแวดล้อมทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ ช่องทางสื่อ การสนับสนุนการจัดการความรู้ งานวิชาการ และการพัฒนานโยบาย เพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ
ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวว่า สสส.ร่วมกับ สสย. และคณะนิเทศศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า สำรวจการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต เดือนมกราคม 2564 มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 อายุ 13-19 ปี รวม 542 คน และ 2.กลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรหลานศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 อายุ 6-12 ปี รวม 403 คน พบว่า กลุ่มเด็กมัธยมมีการเปิดรับสื่อมากถึงวันละ 6-8 ชั่วโมง โดยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 61% ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเข้าสื่อสังคมออนไลน์ เล่นเกม และติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น 39% ที่น่าห่วงคือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่เริ่มอนุญาตให้เด็กใช้สื่อตั้งแต่อายุ 2-3 ปีเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่เริ่มต้นใช้สื่อที่อายุน้อยลง
“ผลสำรวจนี้ สสส.และภาคีเครือข่ายจะนำไปพัฒนาระบบนิเวศสื่อ ผลิตสื่ออย่างมีความผิดชอบต่อเด็ก กระตุ้นให้เด็กไทยเกิดความฉลาดทางดิจิทัล สามารถใช้สื่อได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ สมรรถนะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ไขปัญหา การสื่อสารและการประสานความร่วมมือ ทักษะด้านข้อมูล สื่อ และเทคโนโลยี คือ การรู้เท่าทันสื่อ และทักษะชีวิตและการทำงาน รวมถึงกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ตัวเองได้” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว
ศ.ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า กล่าวว่า ผลสำรวจการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชนไทยในอนาคตยังพบว่า ผู้ปกครองอนุญาตให้ลูกใช้สื่อออนไลน์วันละ 1-3 ชั่วโมง สูงถึง 77.67% รองลงมา คือ 4-6 ชั่วโมง 16.13% และ 7 ชั่วโมงขึ้นไป 11.91% พบว่า ยิ่งเด็กและเยาวชนยิ่งโตมากขึ้น หรืออยู่ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จะใช้สื่อออนไลน์นานขึ้น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคือ การขาดประสบการณ์ การอยู่ในวัยที่ใจร้อน การขาดสื่อคุณภาพดี พ่อแม่ ผู้ปกครอง โรงเรียน ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแล ส่งผลกระทบทางลบกับเด็กและเยาวชนด้านร่างกายและจิตใจ เช่น สายตาสั้น สมาธิสั้น การควบคุมอารมณ์ อาการซึมเศร้า รวมถึงการดำเนินชีวิต โดยได้พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำค่ายเพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชน จัดทำสื่อเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ โรงเรียนจัดทำแผนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนการสอนของนักเรียน และผู้ปกครองควรจัดสภาพแวดล้อมของบ้านให้มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"