บริหารวิกฤติต้อง ‘บูรณาการ’ จริงๆ


เพิ่มเพื่อน    

ข้อเสนอของคณะแพทย์และนักวิชาการ TDRI ว่าด้วยการสู้กับโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเด็นเรื่องการบริหารแบบบูรณาการ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ

            4.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบบูรณาการ มีข้อเสนอแนะ 5 ประการดังนี้

            4.1 การกำหนดนโยบายการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนแก่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชน รวมทั้งการออกเกณฑ์การดำเนินงานจากส่วนกลางที่มีหลักคิดชัดเจน

            แต่ให้กระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังหน่วยงานส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้สามารถตัดสินใจดำเนินการได้ตามความแตกต่างของพื้นที่ ทั้งนี้การตัดสินใจและการดำเนินงานต้องได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง ทั้งทรัพยากรและอำนาจทางกฎหมาย

            4.2 การบูรณาการการทำงานของฝ่ายปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานภาครัฐในแต่ละพื้นที่ ขณะนี้ภาระการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลตกเป็นภาระหนักของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวง หรือกรม กองอื่นๆ ต้องมีบทบาทเชิงรุก

            และร่วมรับผิดชอบมากขึ้น ทั้งในระดับนโยบาย การปฏิบัติในส่วนกลางและในแต่ละจังหวัด รวมทั้งการแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านกฎหมาย อาทิ ปัจจุบันการตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ กทม.เป็นอำนาจหน้าที่ของ กทม.เพียงหน่วยงานเดียว

            4.3 การแก้ไขปัญหาข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือไม่สมบูรณ์ เช่น การพัฒนาข้อมูลจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความถูกต้องและทันเวลา

            หรือการรายงานข้อมูลผู้ติดเชื้อรายวันที่มีรายละเอียดเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ปัญหา หากพิจารณาเพียงข้อมูลผู้ติดเชื้อรายวันแต่ขาดข้อมูลจริงของวันที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อ อาจทำให้ทีมวิชาการไม่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการระบาดเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องให้แก่ผู้กำหนดนโนบาย

            หรือไม่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาแบบจำลองพยากรณ์จำนวนผู้มีโอกาสติดเชื้อในอนาคตเพื่อสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำเท่าที่ควร

            การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถบริหารจัดการเตียงผู้ป่วย และวางแผนบุคลากรด้านการรักษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิผล ลดอัตราการเสียชีวิต และอัตราการติดเชื้อใหม่ได้ ตลอดจนการคาดคะเนระยะเวลาที่จะสามารถผ่อนปรนให้มีการเปิดกิจการประเภทต่างๆ

            4.4 การปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการบริหารจัดการโควิด-19 คล้ายกับกรณีของประเทศสิงคโปร์ โดยให้มีกรรมการที่เป็นตัวแทนทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข ความมั่นคง เศรษฐกิจ สื่อสาร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ และมีองค์ประกอบผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม

            การประชุมพิจารณาโดยกรรมการจากหน่วยงานที่หลากหลายและผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้านจะทำให้ได้ทางเลือกเชิงนโยบายที่เหมาะสม

            4.5 การต่อยอดมาตรการเยียวยา ผลกระทบที่สำคัญของการปิดเมือง ปิดกิจการ คือ ประชาชนตกงาน หนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถดำรงอยู่ได้

            และจะมีผลให้เกิดความเครียด สิ้นหวัง ท้อแท้ และฆ่าตัวตายที่มากกว่าเดิมกว่าปีละห้าร้อยคน มาตรการเยียวยาต่างๆ ที่รัฐออกมามีความจำเป็นในระยะแรกเพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉิน แต่ในระยะต่อไปควรมีความจำเพาะกับกลุ่มที่ประสบปัญหาสูงสุดให้มากขึ้น และเพิ่มมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาวคู่ขนานกันไป แม้จะต้องกู้ยืมเงินมาเพิ่มเติมจนทำให้อัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงเกินร้อยละ 60 แต่ถ้าใช้เงินกู้อย่างมีประสิทธิผล ก็จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะนอกจากจะรักษาชีวิตคนไทย ยังสามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

            เงื่อนไขคือ รัฐต้องมีโครงการลงทุนที่สามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนและธุรกิจในแต่ละพื้นที่

            รวมทั้งควรเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือประชาชน เป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มประชาชนและธุรกิจที่ถูกผลกระทบรุนแรงแทนการอุดหนุนแบบเหวี่ยงแห เช่น การช่วยเหลือผู้ตกงานที่กลับบ้านไม่ได้และต้องอยู่ในเมืองโดยไม่มีงานทำ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ตกงานนำเชื้อจากเมืองใหญ่ไปสู่บ้านเกิด เป็นต้น

            การตัดสินใจแบบนี้ย่อมต้องมีการพัฒนาและใช้ฐานข้อมูลที่แม่นยำ การใช้มาตรการควบคุมการระบาดแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยคำนึงถึงผลกระทบและการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจและสังคม และที่สำคัญที่สุดคือ การตัดสินใจลงทุนในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจขนานใหญ่ จะต้องเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและนักธุรกิจในพื้นที่มีส่วนร่วมกับภาครัฐในการตัดสินใจ ไม่ใช่ปล่อยให้หน่วยราชการเป็นผู้ดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว

            คณะผู้จัดทำข้อเสนอ

            ด้านสาธารณสุขและการแพทย์

            นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ผศ.ดร.นพ.บวรศม ลีระพันธ์ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชระไพบูลย์ นพ.ประสิทฺธิไชย มั่งจิตร นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

            ด้านวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

            รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ดร.สมชัย จิตสุชน ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นายกัมพล ปั้นตะกั่ว น.ส.ชวัลรัตน์ บูรณะกิจ น.ส.อุไรรัตน์ จันทรศิริ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"