13พ.ค.64- รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings ปี 2021 ซึ่งจุฬาฯ ครองอันดับที่ 1 ของเอเชีย อันดับที่ 23 ของโลก ถือเป็นอันดับที่สูงที่สุดที่มหาวิทยาลัยไทยเคยได้รับในการจัดอันดับที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกด้านมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนผลการจัดอันดับครั้งนี้เป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนถึงคุณภาพมหาวิทยาลัยในมุมมองของนานาชาติ นอกเหนือจาก QS World University Rankingsซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่จุฬาฯ ครองอันดับ 1 ของประเทศไทยมาโดยตลอดแล้ว กระจกอีกบานหนึ่งที่จุฬาฯให้ความสำคัญคือ THE Impact Rankinsซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน โดยในปีนี้มีมหาวิทยาลัย 1,115 แห่งทั่วโลก เข้าร่วมการจัดอันดับ
รศ.ดร.ณัฐชาเผยถึงความสำเร็จครั้งสำคัญของจุฬาฯ ในTHE Impact Rankings 2021 ว่าเกิดจากการเตรียมการของมหาวิทยาลัยมายาวนานโดยสภามหาวิทยาลัยได้ให้นโยบายสนับสนุน และอธิการบดีจุฬาฯได้กำหนดเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย Top3 ในอาเซียนภายในปี 2024 รวมทั้งมีการตั้ง SDG Working Teamทำการศึกษาถึงเกณฑ์การวัดผลอย่างละเอียดของ THE ImpactRankings
“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDG) ของสหประชาชาติมีทั้งสิ้น 17 ข้อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งนี้จุฬาฯ เลือกส่งข้อมูลเข้าจัดอันดับใน SDG9 ข้อ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจุฬาฯ และจุฬาฯมีผลงานที่มีความโดดเด่นระดับโลก เมื่อคำนวณคะแนนแล้วคะแนนรวมของจุฬาฯ ในปีนี้สูงมาก ติดอันดับ 1 ของเอเชีย และอันดับ 23ของโลกโดยคะแนนที่ดีที่สุดของจุฬาฯ คือ SDG 3(สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) SDG 9 (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม) SDG 15 (ระบบนิเวศบนบก)” รศ.ดร.ณัฐชา อธิบายเบื้องหลังความสำเร็จของจุฬาฯ ที่สามารถครองอันดับ 1ในเอเชียและอันดับ 23 ของโลก มาจาก 4 ปัจจัยหลักดังนี้
1. การวางกลยุทธ์ (Strategy) สร้างความเข้าใจในเรื่องเกณฑ์ SDG ทั้ง 17 ข้อ วิธีวัดคุณภาพมหาวิทยาลัยของ THE Impact Rankings และกติกาการคำนวณ ซึ่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE Impact Rankings สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคือ
"การเป็นผู้นำการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งดำเนินการผ่าน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญของจุฬาฯ ได้แก่ การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leaders) การสร้างผลงานวิจัย นวัตกรรมที่มีประโยชน์สูงเพื่อสังคม (Impactful Research and innovation) และการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน(Sustainability)2. การวิเคราะห์ Impact Content ได้คัดเลือกผลงานของคณาจารย์และนิสิตที่มีผลกระทบสูงในระ ดับโลก มีการอ้างอิงในวงวิชาการต่างชาติมาก มีการเชื่อมโยงกับสังคมและในระดับชาติ นำเสนอแก่ THE Impact Rankings
3. การประสานพลังจุฬาฯ ในการทำงานร่วมกันตั้งแต่สภามหาวิทยาลัย อธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะหน่วยงานต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลงานวิจัย นวัตกรรมจุฬาฯ ที่โดดเด่นอย่างแท้จริง
4. การเล่าเรื่อง (Storytelling) ผนวกเนื้อหาข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมจุฬาฯ เรียบเรียงเป็นเรื่องราว ที่น่าสนใจและสื่อสารออกไปว่างานวิจัยและนวัตกรรมนั้นส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร
รศ.ดร.ณัฐชา กล่าวว่า ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE Impact Rankings ทำให้รับรู้ถึงจุดแข็งของจุฬาฯ และจุดที่ควรเพิ่มเติม สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในปีหน้าจุฬาฯ ต้องทำให้ดีกว่าเดิม โดยเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยที่อันดับดีกว่าว่ามีจุดเด่นอะไร สิ่งที่วางแผนไว้มี 2 ส่วนคือ 1. การเน้นเรื่องวิจัยให้มากยิ่งขึ้น จากการศึกษาเกณฑ์ THE จะพบว่า 27% ในทุกๆ เกณฑ์ของ SDG เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของการวิจัย หากมีการบูรณาการนวัตกรรมงานวิจัยกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการช่วยเหลือสังคมมหาวิทยาลัยจะเป็นความหวังให้กับสังคมได้อีกมากทุกวันนี้บริบททางสังคมเปลี่ยนไปมากมหาวิทยาลัยไทยต้องพัฒนาผลงานวิจัยขึ้นเองเพื่อให้ทันกับความรู้และสร้างความมั่นคง ในประเทศมหาวิทยาลัยต้องเป็นกลไกสำคัญที่ตอบโจทย์สังคม
2. จุฬาฯ จะบูรณาการงานสอนและงานบริการสังคมเพื่อสร้างโอกาสความเท่าเทียมแก่คนในสังคม ให้มากยิ่งขึ้น เช่น โครงการจุฬาฯ-ชนบท เพิ่มการศึกษาที่มีคุณภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนการสอน ในรูปแบบออนไลน์ เสริมความรู้เรื่อง SDG ทั้ง17 ข้อให้แก่นิสิตจุฬาฯ จุฬาฯ ต้องแข่งขันกับมหาวิทยาลัยในอาเซียนและในเอเชียการนำมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเป็นเครื่องชี้ว่าคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทยทัดเทียมมหาวิทยาลัยโลกอยากให้คณาจารย์และนิสิตมุ่งมั่นตั้งใจทำงานวิจัยที่มีประโยชน์สูงต่อสังคม งานวิจัยที่ดีนอกจากจะวัดด้วยการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการแล้วอยากให้มองถึงการนำผลงานวิจัยไปช่วยเหลือสังคมด้วยสมกับสโลแกนใหม่ของจุฬาฯ Innovations for Society” รศ.ดร.ณัฐชากล่าวในที่สุด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |