จาก “แผนการปฏิรูปประเทศ” ของรัฐบาลที่ยังคงเดินหน้ามาถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และต้องให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมนั้น ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการรายงานถึงผลการสำรวจการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแผนปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2564 ให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ครม.รับทราบ
หลังจากมติ ครม.กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลักๆ ของรัฐบาล แล้วรายงาน ครม. โดย สสช.ได้สอบถามประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 6,970 คน และได้รายงานที่ประชุม ครม.ถึงผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว
1.ด้านแหล่งข้อมูลที่รับรู้ข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ ร้อยละ 89.8 จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ร้อยละ 53.5 จากการพูดคุยกับเพื่อน ญาติ คนในครอบครัว บุคคลทั่วไป ร้อยละ 38.0 และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 21.1
2.ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนร้อยละ 66.7 ระบุว่ามีส่วนร่วมในการใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง, ร้อยละ 17.5 เกือบทุกครั้ง, ร้อยละ 6.7 เป็นบางครั้ง, ร้อยละ 3.3 นานๆ ครั้ง, และร้อยละ 5.8 ไม่มีส่วนร่วมในการใช้สิทธิเลือกตั้งเลย
3.การมีส่วนร่วมทางการเมือง 3 อันดับแรก ได้แก่ การให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาประเทศ เช่น เสียภาษี ปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นพลเมืองที่ดี ร้อยละ 82.2 การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองในกลุ่มเพื่อน ญาติ คนในครอบครัว คนรู้จัก ร้อยละ 81.0 และการติดตามผลคะแนนการเลือกตั้ง ร้อยละ 70.7
4.ความเชื่อมั่นต่อระบบธรรมาภิบาล มีคะแนนเฉลี่ย 3.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า มีความเชื่อมั่นต่อระบบธรรมาภิบาลอยู่ในระดับกลางๆ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 44.7
5.การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.4 และประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 39.3
6.การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อหน่วยงานภาครัฐในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.4 และมีข้อเสนอแนะแนวทางการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับมากขึ้น ลงพื้นที่สอบถามความต้องการ รับฟังปัญหา ติดตามข้อมูลต่างๆ ของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ
ทั้งนี้ จากผลสำรวจดังกล่าว สสช.ยังได้ทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงภาครัฐที่น่าสนใจ คือ หน่วยงานภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากประชาชนมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53.5 รับรู้ข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์
หน่วยงานภาครัฐควรให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่อประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงาน และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ขณะเดียวกันภาครัฐควรส่งเสริมและสร้างความเข้าใจในทุกระดับ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อประกอบการตัดสินใจของภาครัฐ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ
และหน่วยงานภาครัฐควรมีการลงพื้นที่เพื่อสอบถามความต้องการ ความคิดเห็น รับฟังปัญหา และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่อการดำเนินโครงการของรัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนและหมู่บ้านด้วย
ทั้งนี้ จากผลสำรวจและข้อเสนอแนะดังกล่าว เมื่อ ครม.รับทราบแล้ว คาดว่าจะมีการปรับในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของประชาชนต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |