จัดหาและกระจายวัคซีน: ข้อเสนอเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด


เพิ่มเพื่อน    

       เรื่องการจัดหาและกระจายวัคซีนก็เป็นหัวข้อใหญ่ที่คณะแพทย์และนักวิชาการ TDRI ระดมสมองแล้วได้ข้อเสนอดังนี้

            2.มาตรการจัดหาและการกระจายวัคซีนโควิด-19 ในระยะปานกลางและระยะยาว

            การตั้งเป้าหมายการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรไทยทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้  (มิถุนายน-ธันวาคม) หมายถึงต้องมีการฉีดวัคซีนให้ได้ประมาณ 4.3 แสนโดสต่อวัน เราจึงต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดีและกระจายตัวอย่างทั่วถึง เช่น การให้บริการฉีดวัคซีนนอกสถานพยาบาลในเขตเมืองใหญ่ การให้บริการฉีดวัคซีนที่ รพ.สต.ในเขตชนบท การใช้หน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ด้วยความร่วมมือของธุรกิจเอกชน มหาวิทยาลัย (ซึ่งกระจายอยู่ในเมืองใหญ่) บุคลากรครู และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ซึ่งกระจายทั่วประเทศลงไปถึงระดับตำบล)  รวมทั้งการใช้หน่วยรักษาพยาบาลของรัฐวิสาหกิจและกองทัพ การจัดระบบ tele-medicine เพื่อเฝ้าระวังกรณีผู้มีปัญหาผลข้างเคียง การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริหารระบบ cold chain เพื่อรองรับการฉีดวัคซีนในแต่ละท้องที่ให้ทั่วถึง และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

            นอกจากการปฏิบัติตามแผนการฉีดวัคซีนโควิดในปัจจุบันแล้ว รัฐควรมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนแผนการได้ตามสถานการณ์การระบาดและข้อมูลวิชาการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

            เช่น การเพิ่มเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้ถึงร้อยละ 80  ของ “คนที่อาศัยในประเทศไทย” (ที่อาจมากกว่า 70 ล้านคน) ภายในสิ้นปีนี้

            พิจารณาปรับการกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดเพิ่มเติมในอนาคต

            หรือพิจารณาเพิ่มชนิดและจำนวนวัคซีน หากมีข้อมูลพบว่าวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้อยู่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคในประชากรไทยต่ำกว่าที่คาดหวังไว้

            หรือพิจารณาการงดการใช้วัคซีนบางชนิดหรือปรับเปลี่ยนข้อบ่งชี้สำหรับวัคซีนบางชนิดให้แก่ประชาชน หากมีรายงานผลข้างเคียงร้ายแรงของวัคซีนที่มีการใช้ในประเทศไทยในอนาคต

            นอกจากการบริหารจัดการระบบการฉีดวัคซีนโควิด-19  ในปีนี้แล้ว รัฐควรริเริ่มวางแผนจัดหาวัคซีนเข็มที่ 3 สำหรับประชากรไทยไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความล่าช้า และเพิ่มความสามารถในการต่อรองของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนสำหรับการฉีดกระตุ้น (booster dose) เมื่อประชาชนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ในปีนี้เริ่มมีระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนรอบแรกลดลงในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า

            หรือวัคซีนสำหรับการฉีดกระตุ้นหากมีเชื้อกลายพันธุ์เข้ามาระบาดในประเทศ จนอาจทำให้ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนรอบแรกไม่เพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงได้

            3.มาตรการการกำกับควบคุมการประกอบธุรกิจบางประเภทในระยะปานกลางและระยะยาว

            แม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการระบาดในระลอกสามได้ แต่ต้องเผื่อใจว่าเราอาจต้องเจอการระบาดในระลอกที่สี่หรือห้า อันเนื่องมาจากความจริงที่ว่าเราไม่สามารถจะควบคุมให้การติดเชื้อเป็นศูนย์เหมือนระลอกแรก จะมีการระบาดเป็นคลัสเตอร์ต่างๆ และหากเจอกับเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีการติดง่ายและรุนแรง เราก็อาจเจอวิกฤติอีก จึงควรเร่งควบคุมต้นตอของการแพร่เชื้อแบบ Superspreading ดังที่เกิดขึ้นจริงมาแล้วดังนี้

            3.1. การกำกับควบคุมสถานบันเทิง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เนื่องจากเจ้าหน้าที่และข้าราชการหลายหน่วยงานใช้อิทธิพลหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจที่ไม่ถูกกฎหมาย

            รัฐจำเป็นต้องทบทวนมาตรการจัดการและควบคุมการดำเนินงานของสถานบันเทิง โดยเฉพาะสถานบันเทิงขนาดใหญ่ที่เกิดจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจและเป็นต้นตอใหญ่ของการระบาด

            ตัวอย่างนโยบายและการควบคุมแบบใหม่ อาทิ  มาตรการการแบ่งโซนธุรกิจสถานบันเทิง

            รวมทั้งการควบคุมจำกัดการเติบโตและการขยายตัวของสถานบันเทิงเข้าไปในที่อยู่อาศัยหรือย่านธุรกิจบางย่าน  การควบคุมมิให้เกิดสถานบันเทิงขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งรายได้นอกระบบของเจ้าหน้าที่รัฐบางคน

            3.2. การแก้ไขจุดอ่อนของระบบการกำกับดูแลตลาดสด  ตลาดสดเป็นกิจการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตสำหรับคนฐานราก ไม่สามารถปิดได้ แต่ตลาดสดหลายแห่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อโควิด ดังที่พบที่ตลาดในสมุทรสาคร, ปทุมธานี, กทม.

            เพราะตลาดสดส่วนใหญ่ที่เป็นโครงสร้างอาคารยังขาดระบบสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ โครงสร้างตลาดแออัด  อากาศถ่ายเทไม่สะดวก กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่างๆ

            ยิ่งกว่านั้น อาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ซื้อขายกันในตลาดยังไม่ปลอดภัย มีสารเคมีและจุลินทรีย์ปนเปื้อน  กลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่เป็นคนฐานรากของประเทศ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องร่วมมือกับ กทม.และเทศบาลกำหนดมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน และการออกแบบตลาดให้เจ้าของตลาดและผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดเหล่านี้ปรับปรุงโครงสร้างตลาด และจัดระบบสุขาภิบาลให้มีการระบายอากาศที่ดี

            การมีสุขลักษณะ ลดความแออัด และการสุ่มตรวจลูกจ้าง พ่อค้า แม่ค้าจะช่วยป้องกันได้ ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดควรกำกับการปรับปรุงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว.

            (พรุ่งนี้: การบริหารวิกฤติแบบบูรณาการอย่างแท้จริง)

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"