12 พ.ค. 64 - ศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณี ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำร้องของน.ส.จินตนันท์ ชญาต์รศุภมิตร และ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่าการที่คณะกรรมการสรรหากสม.วินิจฉัยตัดสิทธิในการเข้ารับการสรรหาเป็นกสม. เพราะมีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยกสม.พ.ศ. 2560 มาตรา 10 (18) กรณีเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเสมอภาค ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 หรือไม่ รวมทั้งขอให้สั่งเพิกถอนมติที่วินิจฉัยตัดสิทธิบุคคลทั้งสอง พร้อมคืนสิทธิให้เป็นผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกสม.
โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 27 บัญญัติว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ์เสรีภาพและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน วรคคสองบัญญัติว่าเพศชาย และเพศหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน วรรคสามบัญญัติว่า การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ และอายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสภาพทางสถานะของบุคคล สถานะของเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึดษาและอบรม และความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใดจะกระทำมิได้ วรรคสี่บัญญัติว่า มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือ ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้ เช่นเดียวกันกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรือเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่เด็กสตรีผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมตามวรรคสามและวรรคห้า บัญญัติว่า บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในข้อกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
สำหรับพ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. 2560 มีเหตุผลในการประกาศใช้บังคับ ว่า โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 130 อนุมาตรา 10 มาตรา 216 มาตรา 217 และมาตรา 267 บัญญัติให้มีการตราพ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. เพื่อกำหนดคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม การสรรหา การพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และอำนาจ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของกสม. เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความเห็น และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้ประกอบการพิจารณา และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกสม. ให้บรรลุเป้าหมาย โดยมาตรา 10 บัญญัติลักษณะต้องห้าม ดำรงตำแหน่งกสม. ว่า กรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ อนุมาตรา 18 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ภายในระยะ 10 ก่อนเข้ารับการสรรหา ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 202 อนุมาตรา 4 ที่บัญญัติลักษณะต้องห้ามของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ภายในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือก และรัฐธรรมนูญมาตรา 210 อนุมาตรา ที่บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ในองค์กรอิสระ รวมถึงกสม. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 202 ด้วย
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 บัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 250 ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา ต่อมามีการใช้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 263 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะการบัญญัติ ให้ระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 ยังคงทำหน้าที่ รัฐสภา สภาผู้แทนราษฏร และวุฒิสภาต่อไป และให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาตามลำดับ
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่ง สิ้นสุดลงในวันก่อนวันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญนี้ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัย ที่ 1/2560 วินิจฉัยไว้แล้วว่า บทเฉพาะกาลที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำเป็นต้องมีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนและฉบับปัจจุบัน เพื่อให้การบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างราบรื่น เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในระยะเริ่มแรก รวมทั้งเพื่อให้องค์กรนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีให้เกิดช่องว่าง อันส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ต้องหยุดชะงัก จนกว่ากลไกที่กำหนดขึ้นใหม่ หรือใช้บังคับนั้นมีความพร้อมหรือสามารถดำเนินการได้แล้วแต่กรณีการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง จึงอยู่ในฐานะของ การทำหน้าที่แทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ชั่วคราวในสถานการณ์ที่จำเป็นระหว่างรอให้มีการจัด องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ประกอบกับเมื่อพิจารณาคุณสมบัติที่ว่า ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีความแตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา การที่รัฐธรรมนูญมาตรา 263 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภานั้น ย่อมหมายถึงการให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำภารกิจของตน ด้วยความรับผิดชอบเหมือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภา โดยเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา แต่ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกรัฐสภาแต่อย่างใด
ดังนั้นการที่ผู้ร้องเรียนทั้งสองเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญมาตรา 263 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นหรือ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามพ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. 2560 มาตรา 10 อนุมาตรา 18 การที่ผู้ถูกร้องมีมติตัดสิทธิ์ผู้ร้องเรียนทั้งสอง ในการเข้ารับการสรรหาเป็นกสม. ด้วยเหตุที่มีลักษณะต้องห้ามตามพ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. มาตรา 10 อนุมาตรา18 จึงเป็นมติที่ไม่ชอบพ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. ส่วนที่ผู้ร้องโต้แย้งว่า คณะกรรมการสรรหากสม. ดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับการวินิจฉัยของคณะกรรมการ สรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันกับที่มีมติว่า การเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่ถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2560 มาตรา 11 อนุมาตรา 18 มติดังกล่าวเป็นการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเสมอภาค เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 เห็นว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงคณะกรรมการสรรหากสม. เคยให้ผู้อื่นที่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการสรรหา เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นกสม.
แต่ปรากฏตามคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และ เอกสารประกอบของผู้ถูกร้อง ว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหากสม. วินิจฉัยมาโดยตลอดว่า บุคคลใดที่เคยเป็น หรือเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีลักษณะต้องห้าม ทำให้ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหาได้ จึงไม่มีความแตกต่างในการวินิจฉัยของผู้ร้องเรียนทั้งสอง มติดังกล่าว ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค ถึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27
สำหรับคำขอของผู้ร้อง ที่ว่า มีเหตุเพิกถอนมติดังกล่าวคืนสิทธิ์จากผู้ร้องเรียนทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า เมื่อวินิจฉัยไปแล้วแม้ มติของผู้ถูกร้อง ไม่ชอบด้วยพ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. แต่มติดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยคำขอเกี่ยวกับการเพิกถอนมติดังกล่าว และการคืนสิทธิ์ให้กับผู้ร้องเรียนทั้งสองแต่อย่างใด อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงวินิจฉัย มติดังกล่าวของผู้ถูกร้อง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |