แพทย์ 3 สถาบัน ประสานเสียง ฉีดวัคซีนเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการต่อสู้ไวรัสร้าย อันตรายต่ำกว่าติดเชื้อ


เพิ่มเพื่อน    


11พ.ค.64-คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดเสวนาหัวข้อ “ผ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัด ๆ กับ ทีมแพทย์ 3 สถาบัน” 

จากจำนวนคนไทยมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1.7 แสนคน ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยังไม่มีใครเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน แต่ทุกวันมีคนเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ประมาณ 1-2 ใน 100 คนทุกวัน จึงควรกลัวโรคมากกว่ากลัววัคซีน ส่วนผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน คนที่เป็นแผลพบประมาณ 1ใน1 แสนคน ส่วนคนที่มีอาการไข้ ปวดบวมแดงร้อน พบประมาณ 10% และหากพบว่าฉีดวัคซีนแล้วมีไข้ขึ้นสูง โดยเฉพาะในคนหนุ่มสาวจะแสดงถึงปฏิกิริยาของร่างกายต่อวัคซีน ยิ่งไข้สูงภูมิคุ้มกันก็จะสูงขึ้นตามด้วย โดยจะมีอาการประมาณ 1-2 วัน ร่างกายก็จะปกติ แต่ในผู้สูงอายุ อย่าง คุณพ่ออายุ 92 ปี หลังจากฉีดแล้ว พบว่าไม่มีไข้ และใช้ชีวิตปกติ ต่างจากพี่สาวอายุ 60 ปี มีอาการไข้ต้องนอนพักถึง 2 วัน จึงหายเป็นปกติ  

ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวต่อว่า ส่วนมีอาการชาข้างใดข้างหนึ่ง ก็เป็นปฏิกิริยา ที่บ่งบอกถึงร่างกายอาจจะยังไม่พร้อม มีอาการอ่อนเพลีย หรืออาการกลัว ก็จะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน - 1 สัปดาห์ถึงหายเป็นปกติ  จึงไม่ต้องตกใจทุกอย่างปลอดภัย ไม่มีใครเสียชีวิต พิการ หรืออันตรายเรื้อรังถาวร ทั้งนี้ ณ จุดที่มีการฉีดวัคซีนจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ในการแก้ดูแลหากมีอาการแพ้หรือผลข้างเคียงคอยให้ความช่วยเหลือ 

“อย่างประเทศสก็อตแลนด์ ที่มีการตีพิมพ์ผลงานของการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ และแอสตร้าเซนเนก้า โดยลักษณะการปูพรมฉีดเข็มเดียวให้กับประชากร และมีการวัดประสิทธิผลออกมาดีเท่ากัน 90% ป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้  ซึ่งเป็นโมเดลที่ควรจะนำมาใช้กับประเทศไทย จึงอยากขอให้ทุกคนกลัวโควิด-19 อย่ากลัวการฉีดวัคซีน ฉีดก่อนป้องกันก่อน และเราทุกคนจะปลอดภัย ทำให้โควิด-19 จากโรคร้ายกลายเป็นโรคหวัดธรรมดาด้วยวัคซีน” ผอ.ศูนย์วิจัยคลินิก กล่าว 

ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้จะแก้ปัญหาและยุติได้ด้วยวัคซีนอย่างเดียว จะเห็นได้ว่าทั่วโลกทำไมถึงต้องไขว่คว้าหาวัคซีน และขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1,300 ล้านโดส โดยมีเป้าหมายางน้อยอย่อยู่ที่ 10,000 ล้านโดส ซึ่งในประเทศไทยก็ต้องฉีดให้ครบไม่น้อยกว่า 100 ล้านโดส 

สำหรับผลการฉีดวัคซีน นพ.ยง กล่าวว่า ในเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย อย่าง สายพันธุ์อังกฤษไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาหรือบราซิล ยอมรับว่าอาจจะมีผลบ้าง แต่ในสายพันธุ์อินเดียยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจนว่าจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงหรือไม่  และการฉีดวัคซีนสำหรับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการทำการศึกษาพบว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ในคนอายุน้อยจะมีอาการข้างเคียงมากกว่าผู้สูงอายุ และซิโนแวค ฉีดได้สำหรับคนทุกวัยมีอาการข้างเคียงน้อย  ทั้งนี้ คนที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว ก็ยังคงต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 เพราะเมื่อเป็นแล้วหายเปรียบเสมือนกับได้ฉีด 1 เข็ม หากได้รับวัคซีนเพิ่มอีก 1 เข็ม หลังจากนั้นช่วง 3-6 เดือน ภูมิต้านทานในร่างกายที่เพิ่มขึ้น แต่ในกรณีที่ติดเชื้อแล้วหายกว่า 1 ปี แนะนำให้ฉีดใหม่ครบ 2 เข็ม 

นพ.ยง เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส และอังกฤษ ที่มีประชากรจำนวนประมาณ 65 ล้านคนเท่ากัน โดยอังกฤษมีการใช้วัคซีนไฟเซอร์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นแอสตร้าเซนเนก้า ประชากรได้ฉีดเข็มแรกครอบคลุมกว่า 70% ซึ่งในวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์ ในขณะที่ฝรั่งเศสมีความกังวลผลข้างเคียงการเกิดภาวะลิ่มเลือด จึงทำให้ชะลอการฉีดวัคซีน ประชากรที่ได้ฉีดเข็มแรกจึงอยู่ที่ 34% ทำให้พบผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ถึง 1-2 หมื่นคนต่อวัน และผู้เสียชีวิตอีก 200-300 คนต่อวัน สะท้อนให้เห็นว่าเราต้องรีบฉีดให้ได้มากที่สุดและไวที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์ใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 

สำหรับความกังวลการเกิดภาวะลิ่มเลือด เมื่อฉีดวัคซีน  ศ.นพ.พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า วัคซีนโควิด-19 ไม่ได้เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดลิ้มเลือดอุดตันทั่วไป โดยเฉพาะในประชากรไทยจะมีการเกิดลิ้มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำต่ำกว่าประชากรตะวันตกประมาณ 10 เท่า อาจจะด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม และจากข่าวที่เผยแพร่จากในฝั่งยุโรปว่ามีการเกิดลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ คือ นอกจากมีลิ่มเลือดอุดตันยังมีเกล็ดเลือดต่ำด้วย ซึ่งจะเจอน้อยมากในประชากร 1ในแสนคน ถึง 1 ในล้านคน จึงไม่ต้องตกใจ เพราะอาการดังกล่าวอาจจะเกิดเพราะการตอบสนองของภูมิต้านทานในร่างกายบังคับ ถ้ารุนแรงเกินไปก็จะไปกระตุ้นให้เกล็ดเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันขึ้นมา สามารถรักษาได้ แต่โอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันมีมากในคนไทยหากติดโควิด-19 ซึ่งคนไข้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ที่มีอาการปอดอักเสบเรื้อรัง อยู่ในไอซียู ประมาณร้อยละ 20 คนไข้จะมีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้นหากกลัวเกิดลิ้มเลือดอุดตันอยากจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ดีกว่า เพราะจากที่มีการฉีดวัคซีนในคนไทยยังไม่มีใครเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ 

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม  นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างฉีดวัคซีนกับไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า มีความแตกต่างอย่างมาก เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 จะลดลงถึง 50% ทันที และเมื่อฉีดวัคซีนครบแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้มีความปลอดภัย สำหรับประสิทธิภาพยี่ห้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวค เมื่อทำกราฟเปรียบเทียบจะเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้การทดลองในแต่ละชนิดไม่ได้ทำในสถานที่เดียวกัน จะมีการเปรียบเทียบตรงๆไม่ได้ แต่ก็เห็นประสิทธิภาพของวัคซีน โดยเทียบการป้องกันโควิด-19 ในประชากรที่ฉีดวัคซีน 1,000 คน จะป้องกันได้ 10-20 คน 

รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ  รองหัวหน้าภาควิชากุมาร เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริม สำหรับการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กที่มีมากขึ้น อย่าง ผู้ติดเชื้อเด็กที่รักษาอยู่รพ.จุฬาฯ ประมาณ 100 ราย ดังนั้นในระหว่างที่เด็กกำลังรอการฉีดวัคซีน คงต้องรอผู้ใหญ่ในสังคมที่จะช่วยกันฉีดวัคซีนให้ไปถึง 70% เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อไปสู่เด็ก 

ศ.พญ.กุลกัญญา ได้กล่าวเสริมในกรณีที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกยี่ห้อหนึ่ง แล้วเข็มที่สองอีกยี่ห้อ ยังไม่มีผลการศึกษาหรือข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้นตอนนี้แนะนำให้ใช้ยี่ห้อเดียวกันทั้ง 2 เข็ม แต่ถ้ามีความจำเป็น อย่าง หากมีอาการแพ้ยี่ห้อหนึ่งในเข็มแรก เข็มที่สองก็สามารถเปลี่ยนได้ เท่าที่มีการศึกษาการใช้วัคซีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนยี่ห้อไม่ได้ทำให้เกิดผลเสีย เพียงแต่บอกไม่ได้ชัดเจนว่าภูมิคุ้มกันจะเสริมได้ดีขึ้นแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่มีปัญหา

“การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน ด้วยระบบที่ได้ถูกออกแบบไว้ให้พร้อมและปลอดภัยมากกว่าการฉีดครั้งไหนๆในประเทศไทย” รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทิ้งท้าย 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"