จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สาม ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาลงทุนในไทยได้เหมือนในอดีต ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงจะต้องเดินหน้าเพื่อผลักดันแผนงานต่างๆ ที่วางไว้ให้บรรลุเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงทำให้รัฐบาลต้องหันมาผลักดันในเกิดการลงทุนในประเทศมากขึ้นในปี 2564
โดยเฉพาะการลงทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อให้มีประสิทธิภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสําคัญต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย จะเห็นได้ว่า กระทรวงคมนาคมได้วางรากฐานการส่งที่ยั่งยืน ล่าสุดได้ปัดฝุ่นเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์)
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2564 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์, บจ.ดีเคด คอนซัลแตนท์, บจ.พีเอสเค คอนซัลแทนส์, บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป, บจ.ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ และ บจ.ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ วงเงินกว่า 67.8 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน
ล่าสุด ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการประชุมถึงความคืบหน้าโครงการดังกล่าว เบื้องต้นที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นโครงการ ซึ่งได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาของโครงการออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม มีการออกแบบท่าเรือให้มีความลึก 16 เมตร ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน แนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟ และทางหลวงสายหลักได้ สามารถรองรับทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร พร้อมทั้งรองรับระบบขนส่งทางท่อ
2.ด้านการพัฒนาพื้นที่หลังท่า จะมีการจัดตั้งพื้นที่หลังท่าเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่าตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.ด้านการส่งเสริมการขนส่ง มีการศึกษาปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อลดขั้นตอน และเอกสารในการขนส่งสินค้า ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ให้สิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง
4.ด้านสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของมวลชน โดยในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น เช่น กำหนดโควตาการรับสมัครเข้าทำงานในโครงการให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ จัดทำและดำเนินโครงการ/แผนงานความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการแล้ว การศึกษานี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งท่าเรือตามแนวทางที่เป็นสากล ตามแนวทางของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา Port Planning Handbook (UNCTAD,1984) และสมาคมโลกเพื่อการขนส่งทางน้ำ PIANC Outline master planning process for greenfield ports (PIANC 185) โดยมีปัจจัยและสัดส่วนที่ใช้ในการพิจารณา 4 ด้าน ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านวิศวกรรม 2.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม 3.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเงิน และ 4.ปัจจัยด้านสังคมโดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี และความได้เปรียบทางกายภาพ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น
ดูเหมือนว่าโครงการแลนด์บริดจ์นี้จะเริ่มต้นไปได้ด้วยดี โดยกระทรวงคมนาคมก็ได้มอบหมายให้ สนข.รับข้อสังเกตและประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งในการคัดเลือกแนวเส้นทางนั้นให้คำนึงถึงการลดระยะวลาในการขนส่งจากท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ที่สั้นและตรงที่สุด รวมถึงพิจารณาเรื่องการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่บริเวณโดยรอบโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเกิดการกระจายการพัฒนาไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการต่อการพัฒนาประเทศชาติ โดยให้ครอบคลุมทั้งภายในประเทศ ประเทศในภูมิภาค และจากประเทศต่างๆ ในเวทีโลก.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |