แยกผู้ป่วยติดเชื้อ ออกจากครอบครัว


เพิ่มเพื่อน    

  

  ทีมคณะนายแพทย์และนักวิชาการของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระดมสมองเพื่อเสนอมาตรการรอบด้านในการทำสงครามกับโควิด-19 รอบใหม่นี้มีมากมายหลายประเด็น

            นี่คือมาตรการทางการแพทย์ที่นำเสนอต่อรัฐบาลอย่างเร่งด่วน (ต่อจากคอลัมน์เมื่อวาน):

            1.2 มาตรการแยกผู้ป่วยผู้ติดเชื้อออกจากครอบครัว  เป็นมาตรการที่จำเป็นและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

            เพราะประสบการณ์ในต่างประเทศพบว่า การกักแยกโรคที่บ้าน (home isolation) จะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อในผู้สูงอายุและเด็กในครอบครัว

            ดังนั้น การจัดสรรพื้นที่กักแยกโรคจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน

            ทั้งการตั้งโรงพยาบาลสนาม และ hospitel ทั้งในที่ดินของรัฐและเอกชน

            โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดการตั้งโรงพยาบาลสนามและ hospitel ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อในเขตกรุงเทพฯ ที่กำลังเป็นวิกฤติขนาดใหญ่

            ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดสองประการ คือ

            โรงพยาบาลต่างๆ จะจำกัดการตรวจโควิดเพราะมีภาระต้องหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อ

            และหน่วยราชการอื่นที่ไม่ใช่ กทม. ไม่สามารถตั้งโรงพยาบาลสนามได้ (ยกเว้นการตั้ง hospitel)

            รัฐบาลจึงควรเร่งใช้อำนาจการบริหารและกฎหมายแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวโดยด่วน

            เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ติดเชื้อที่มีความต้องการและข้อจำกัดส่วนตัวที่แตกต่างกัน รัฐควรมีระบบแยกตัวผู้ติดเชื้อที่สอดคล้องกับความต้องการของคนกลุ่มต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบการติดตามผู้มีความเสี่ยงที่เหมาะสม

            มาตรการแยกผู้ป่วยออกจากครอบครัวนี้ นอกจากจะช่วยลดอัตราการระบาดของไวรัสที่จะสร้างปัญหาการขาดแคลนเตียงสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รุนแรงแล้ว ยังจะลดความจำเป็นในการปิดเมือง/ปิดกิจการที่รังแต่จะก่อความเสียหายร้ายแรงทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพจิตของประชาชน

            และเพิ่มประสิทธิผลของนโยบายรัฐบาลที่ไม่ต้องการปิดเมือง/ปิดกิจการแบบ “เหวี่ยงแห”

            อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการและมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเองและครอบครัว มีที่พักเพียงพอที่จะอยู่บ้านแบบแยกตัวได้เด็ดขาดก็สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดของทีมเฝ้าระวังสอบสวน ทางเลือกนี้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย

            1.3 รัฐควรมีการจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับระบบการสอบสวนโรค การตรวจเชื้อ และการกักแยกโรคเพื่อเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ

            โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการที่อยู่ในชุมชนให้สุดความสามารถ มีการตรวจเชิงรุกในพื้นที่หรือชุมชนที่มีความเสี่ยง

            การจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเสริมเพิ่มเติมอย่างน้อย 200 ทีม จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคจะต้องระดมบุคลากรทางการแพทย์-สาธารณสุขจากจังหวัดและอำเภอต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ  รวมทั้งข้าราชการที่มีความรู้ด้านสาธารณสุข การสื่อสารและจิตวิทยา จากกระทรวงและกรมกองต่างๆ

            หากไม่เพียงพออาจต้องระดมอาสาสมัครที่เป็นนักศึกษาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข การสื่อสารและจิตวิทยา รวมทั้งบุคคลที่เคยทำงานด้านนี้แต่เกษียณแล้ว

            นอกจากนี้ การทำงานของทีมระวังสอบสวนโรคจะต้องมีการประสานงานและสื่อสารกับฝ่ายต่างๆ อย่างรวดเร็ว

            อาทิ การจัดหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก ฯลฯ  ดังนั้นจึงต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเป็นจำนวนมาก

            1.4 การช่วยเหลือผู้ถูกกักตัวและครอบครัว

            เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนทางการเงินให้แก่ผู้ติดเชื้อที่เป็นลูกจ้างรายวัน แรงงานนอกระบบ และคนฐานราก รัฐควรจ่ายเงินทดแทนขั้นต่ำอย่างน้อย 14 วัน ตามจำนวนวันที่กักตัวหรือแยกรักษาตัว

            รวมทั้งการมีมาตรการช่วยให้บุคคลและสมาชิกของครอบครัวเหล่านั้นมีงานทำ มาตรการเร่งด่วนนี้จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนฐานรากที่เสี่ยงติดเชื้อเต็มใจเข้ามารับการตรวจและกักตัวทันที

            เราคาดว่าหากสามารถดำเนินการได้ เราจะสามารถลดการแพร่ระบาดให้ลงมาสู่ระดับที่ควบคุมได้ เช่นมีการติดเชื้อรายใหม่ไม่เกินสามร้อยรายต่อวันใน กทม.และปริมณฑลในเวลาประมาณหนึ่งเดือนข้างหน้า.

            (พรุ่งนี้: ข้อเสนอการจัดหาและกระจายวัคซีน)

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"