วันที่ 11 พ.ค. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการประชุมผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (สป.วธ.) ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีผู้บริหารสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) 76 จังหวัดเข้าร่วมประชุมผ่านการประชุมระบบทางไกล เมื่อวันก่อน ได้รับรายงานความคืบหน้าการรณรงค์แต่งกายผ้าไทย ผ้าท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดระยะแรก ขณะนี้มีกระแสตอบรับดีมาก โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รวมไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือช่วยกันรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น พร้อมกับสวมใส่เป็นแบบอย่างเพื่อจัดทำเป็นสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์และสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
“ ได้มอบหมายให้ สวจ.จัดทำอินโฟกราฟิกรณรงค์การแต่งกายผ้าไทยในระยะที่ 2 โดยให้เพิ่มเติมข้อความรายละเอียด ชื่อและแหล่งที่มาของผ้าไทย เพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณค่าและความเป็นอัตลักษณ์ของผ้าไทยในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งให้ประสานความร่วมมือหน่วยงานราชการภายในจังหวัดแต่งกายด้วยผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าผ้าไทยสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้จริง “ นางยุพา กล่าว
ปลัด วธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ สวจ.สำรวจและรวบรวมลายผ้าไทยที่เป็นอัตลักษณ์ สะท้อนถึงมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและประวัติศาสตร์อันโดดเด่นของแต่ละจังหวัด เช่น ลายผ้าศิลาล้อมเพชร จากกำแพงเพชรที่ใช้เทคนิคการทอผ้าที่มีอัตลักษณ์สอดคล้องกับชาติพันธุ์ของ ชาวกำแพงเพชร และผ้าฝ้ายลายอุทัยสุพรรณิการ์ ถือเป็นลายผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นลายผ้าลิขสิทธิ์ของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดด้านการผลิตและแปรรูปผ้าไทยให้ทันสมัย ถือเป็นการขับเคลื่อนนโยบาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ วธ. พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพ สร้างรายได้ทั้งระดับชุมชน จังหวัด และประเทศ ยกระดับผ้าไทยสู่ระดับสากล
นางเลขา สุวรรณชาตรี วัฒนธรรมจังหวัดตรัง กล่าวว่า ภาคใต้ส่วนมาก นิยมใช้ผ้าปาเต๊ะเป็นเครื่องแต่งกายประจำถิ่น สวจ.ตรัง ร่วมจัดทำอินโฟกราฟิกรณรงค์การแต่งกายผ้าไทยในระยะที่ 2 โดยให้เพิ่มเติมข้อความรายละเอียด ชื่อและแหล่งที่มาของผ้าปาเต๊ะเพนท์ลาย พร้อมข้อความ"รักษ์ผ้าไทย ความเป็นไทย งดงามอย่างมีคุณค่า เสน่ห์ผ้าพื้นเมืองตรัง" เพื่อสื่อคุณค่าและอัตลักษณ์ผ้าไทยในจังหวัดตรัง สำหรับผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก เป็นผ้าที่เขียนด้วยขี้ผึ้ง และย้อมสีในบริเวณที่เขียนด้วยขี้ผึ้ง สีจะซึมเข้าไป ถ้าต้องการหลายสีต้องย้อมหลายครั้ง รวมถึงระบายบางส่วน จึงจะได้ผ้าปาเต๊ะที่สวยงาม สีสันสดใส มีทั้งผ้าผืนและนิยมนำไปตัดเย็บชุดสำเร็จรูป รวมถึงพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะ ลวดลายพัฒนาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระแสตอบรับดีมาก ปัจจุบันมีกลุ่มผ้าปาเต๊ะในเมืองตรัง ทั้ง อ.ปะเหลียน อ.ห้วยยอด อ.วังวิเศษ และ อ.ย่านตาขาว โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มมีแรงบันดาลใจต่างกันไป เกิดผ้าปาเต๊ะที่สวยงาม สร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านชาวตรัง โดยมีการจำหน่ายทางออนไลน์ด้วย ซึ่งทาง สวจ.ตรัง ช่วยเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชนแขนงนี้ และขยายตลาดให้กว้างยิ่งขึ้นด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |