แม้ว่าขณะนี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข ซึ่งขณะนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ผนึกกำลังเดินหน้าต่อสู้กับวิกฤตินี้อย่างเต็มที่ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อให้วิกฤตินี้ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็ยังต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว เรียกได้ว่างานนี้คงต้องยาวไป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักต่างก็บอกกันว่าอย่างน้อยต้องใช้เวลาถึง 2 ปีถึงจะฟื้น ก็แค่ฟื้นนะ
เมื่อเป็นแบบนี้แล้วสิ่งที่ทำได้ก็คือทำใจ และพยายามดูแลสุขภาพของตัวเอง ลดการไปพื้นที่เสี่ยง สวมแมสก์ หมั่นล้างมือ งดสังสรรค์ ดีที่สุดอยู่บ้านหยุดเชื้อ หยุดการเดินทาง ก็น่าจะพากันผ่านซีรีส์ที่ 3 ของโควิดไปได้ แต่ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาเช่นกัน คือปัญหาโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีนี้ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายภาคพื้นของโลกมีสภาพอากาศแปรปรวน มีทั้งร้อน หนาว และพายุกระหน่ำ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ต้องเผชิญปัญหาของฝุ่น PM 2.5 มาติดต่อกันร่วม 2-3 และยังคงไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งภาครัฐและเอกชนต่างก็พยายามหาแนวทางแก้ไข ผลิตนวัตกรรมสารพัดออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา
เช่น ล่าสุดวัตกรรมต้านโลกร้อนที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โซลูชั่นดักจับก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ “UCARSOL” (ยูคาซอล) ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการดักจับเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ และสามารถนำก๊าซที่ดักจับได้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วย
เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) จากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้า และโรงงานปุ๋ย Dow ได้คิดค้นโซลูชั่น “UCARSOL” ซึ่งดักจับก๊าซเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้พลังงานน้อยลงกว่าเดิม ช่วยต้านโลกร้อน และยังสามารถนำไปเคลมเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง ทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตไม่น้อยกว่าปีละ 10% และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศในเอเชียต่างก็มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมเข้มงวด เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ได้นำโซลูชั่นนี้มาใช้เป็นเวลาหลายปีแล้ว
ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ในปี 2563 ลูกค้าโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกาหลีใต้ สามารถลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยออกไปในอากาศได้กว่า 75% และลดพลังงานความร้อนที่ใช้ในกระบวนการดักจับก๊าซได้ถึง 34% หรือเท่ากับลดต้นทุนพลังงานได้ 1 ใน 3 โดยที่ลูกค้าไม่ต้องหยุดการผลิตในระหว่างการเปลี่ยนผ่านเป็นสารตัวใหม่นี้
อีกตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น ในปี 2562 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ร่วมกับ บริษัท ไอซากิ คูลเจน สร้างโรงไฟฟ้าโครงการนำร่องด้านการลดมลพิษทางอากาศ ได้เลือกใช้ SELEXOL Max ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในกลุ่ม UCARSOL ที่มีประสิทธิภาพสูงดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 90% และคาร์บอนไดออกไซด์ที่กักเก็บได้จะอยู่ในรูปบริสุทธิ์ 99% สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อในอุตสาหกรรมอื่นได้ ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ 150,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับปลูกต้นไม้ 1.5 ล้านต้น
แม้กระทั่งในยุโรปและจีนเองก็เริ่มที่จะมีความเข้มงวดในเรื่องของสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถึงขั้นยกเลิกการใช้รถยนต์ที่สันดาปด้วยน้ำมันหันมาใช้ไฟฟ้าแทน
สำหรับประเทศไทยนั้น แม้จะมีความกระตือรือร้นในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังมีไม่มากนัก จะอยู่ในวงแคบๆ กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ อาทิ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับโรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท ไออาร์พีซี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปริมาณการใช้ไอน้ำ และลดการใช้พลังงาน โดยสามารถประหยัดพลังงานไอน้ำมูลค่า 41 ล้านบาทต่อปี ช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึงประมาณ 30% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 20% หรือ 4,382 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 430,000 ต้น
ดังนั้น ขณะที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากกฎหมายใหม่ๆ ที่มีบังคับใช้แล้ว ลูกค้าของภาคอุตสาหกรรมเอง คงต้องหันมาให้ใส่ใจในเรื่องนี้มากขึ้น การลดใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการควรลงทุน ไม่ใช่เพียงเพื่อความยั่งยืน แต่ยังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
และในอนาคตน่าจะกลายเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการค้าการส่งออกไปต่างประเทศ ใครที่ไม่ยอมรับไม่ปรับตัวมีทางเดียวคือจบ อาจถึงขั้นต้องปิดกิจการกันเลยทีเดียว.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |