แผนที่มีชีวิต 65 ชาติพันธุ์ ช่วยลดความขัดแย้ง


เพิ่มเพื่อน    

นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศมส. เดินหน้าพัฒนาการวิจัยชาติพันธุ์และมานุษยวิทยา


     นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(ศมส.) (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตามที่ ศมส.ได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในการพัฒนาการวิจัยชาติพันธุ์และมานุษยวิทยาผ่านศูนย์วิจัยสหวิทยาการเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีนั้น บอร์ดบริหาร ศมส.ได้เน้นย้ำถึงการจัดทำแผนที่มีชีวิต ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ว่ามีอยู่กี่กลุ่ม พื้นที่ใดบ้าง ขณะนี้ ศมส.ได้รวบรวมข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว จำนวน 65 ชาติพันธุ์ทั่วประเทศ โดยแผนที่มีชีวิตที่ ศมส.ร่วมมือกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจะดำเนินการใช้ระบบภูมิสารสนเทศหรือจีไอเอส อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน ดำเนินการเก็บภาพถ่ายทางอากาศเก็บรายละเอียดแผนที่ 3 มิติ เพื่อเห็นการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของชุมชนต่างๆ เทียบกับภาพเก่าหรือแผนที่ในอดีตที่มีอยู่ ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น เรียกว่า แผนที่มีชีวิต   
    นายพีรพน กล่าวต่อว่า สำหรับแผนที่มีชีวิต ทาง ศมส.และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเริ่มดำเนินการจัดทำแผนที่มีชีวิตในพื้นที่กลุ่มชาติพันธ์แม่น้ำท่าจีน แม่กลอง ไปแล้วตามโครงการสาครบุรี ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม รวมถึงการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อย่างชัดเจนจากอดีตถึงปัจจุบัน จากนั้นจะเริ่มดำเนินการทำแผนที่มีชีวิตในรายกลุ่มชาติพันธ์ นอกจากความร่วมมือกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแล้ว ศมส.ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในพื้นที่เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธุ์ใช้ทำแผนที่มีชีวิตอีกด้วย
    “ การจัดทำแผนที่มีชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ ศมส. ตามแผนยุทธศาสตร์จะเสร็จภายในปี 2564 แผนที่มีชีวิตจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและนักวิชาการที่สนใจศึกษาว่า ในประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่บริเวณไหนบ้าง แต่ละจุดมีการเปลี่ยนแปลงเช่นไร นอกจากนี้  จะทำให้แต่ละพื้นที่ทราบว่ามีกลุ่มชาติพันธ์ใดอาศัยอยู่ หน่วยงานภาครัฐจะได้เข้าไปส่งเสริมได้ถูกต้อง ที่สำคัญจะทำให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบได้ทราบว่า พื้นที่ของตนเองมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่  มองวิถีอย่างเข้าใจ ไม่อคติ ดูถูก มองความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นความหลากหลายที่จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง” ผอ.ศมส. กล่าว 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"