ความเข้มข้นของ PM2.5 (ตอนบนของประเทศไทย, ตอนบนของ สปป.ลาว และรัฐฉานของเมียนมา) ปี 2562-2563
9 พ.ค.64- ในปี 2562 กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(ภาคเหนือ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาแบบแผนการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามพรมแดน(transboundary haze pollution)) ในรายงานที่ชื่อว่า " ผืนป่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมลพิษ PM2.5 ข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง ปีพ.ศ.2558-2563 " ซึ่งการศึกษา เน้นไปที่ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) และจุดความร้อน(hotspot) ในไทย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านรีโมตเซนซิงและข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Terra/AQUA ระบบเซ็นเซอร์ MODIS ซึ่งถูกออกแบบเพื่อติดตามและตรวจสอบข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี 2563 ได้ มุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ซึ่งเปิดเผยให้เห็นถึงบทบาทของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เชื่อมโยงกับการกระจายตัวของมลพิษ PM2.5 ข้ามพรมแดนโดย
การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมระหว่างปี 2558-2562 ซึ่งพบว่า มีพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อนในพื้นที่ปลูกข้าวโพดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(ภาคเหนือตอนบนของไทย ตอนบนของ สปป.ลาว และรัฐฉานของเมียนมา)โดยเฉลี่ย 1 ใน 3 ของพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ในรายงานนี้ได้ขยายการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นัยสำคัญของจุดความร้อนและร่องรอยพื้นที่เผาไหม้ที่มีต่อการกระจายตัวและความเข้มข้นของมลพิษ PM2.5 ข้ามพรมแดนในช่วงปี 2558-2563 ข้อค้นพบหลัก และผลการวิเคราะห์นี้จะย้ำเตือนอีกครั้งต่อผู้กำหนดนโยบายของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ถึงเจตจำนงทางการเมืองและการลงมือปฏิบัติเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนจากมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน และการที่อุตสาหกรรมในห่วงโซ่อุปทานอาหารสัตว์มีภาระรับผิด(accountability) พร้อมไปกับการรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
การสูญเสียพื้นป่าไม้ธรรมชาติเป็นเงื่อนไขสำคัญของการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบาดจากสัตว์สู่คน รายงานล่าสุดจากGlobal Forest Watch ระบุว่า ในปี 2563 สปป. ลาว เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าดั้งเดิม(primary forest loss)มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก ระหว่างปี 2544-2563 พื้นที่ป่าใน สปป.ลาวลดลงร้อยละ 19 คิดเป็นพื้นที่ 20.625 ล้านไร่ (3.73 ล้านเฮกตาร์) หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.42 ล้านตัน ปัจจัยหลักของการสูญเสียพื้นที่ป่าในสปป.ลาว คือการขยายตัวของการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commoditydriven deforestation)ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์มีบทบาทสำคัญในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และการกักเก็บดูดซับก๊าซเรือนกระจก(GHG)4 ผืนป่าเป็นพลังสำคัญในการต่อกรและเยียวยาสภาพภูมิอากาศ
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Food and Agriculture Organizationof the United Nations:FAO) ระบุว่าบทบาทสำคัญของป่าต่อวิกฤตโลกร้อนคือ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2.6 พันล้านตันในแต่ละปีหรือ 1 ใน 3 ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล5 ในขณะเดียวกัน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชนที่ดินและการป่าไม้(LULUCF) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกราวร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกซึ่งมากกว่าภาคการคมนาคม และทำให้ประสิทธิภาพของป่าไม้ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง การที่รักษาพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ไว้นั้นจึงจำเป็นต่อการลดผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ วิถีชีวิตของชุมชน และคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหาร
การวิเคราะห์ภาพดาวเทียมของมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2563 พบว่า ป่าฝนเขตร้อนถูกทำลายไปในปริมาณเทียบเท่ากับสนามฟุตบอลทุก 6 วินาที6 และข้อมูลระบุว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนไปใช้เพื่อรองรับการขยายตัวของเกษตรกรรมที่เติบโตขึ้นในปริมาณมากและรวดเร็ว
รายงานฉบับนี้ ยังระบุอีกว่าอุตสาหกรรมเนื้อยักษ์ใหญ่ ยังเป็ตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นการเพาะปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งสัดส่วนภาคเกษตรกรรมทั้งหมด ราวร้อยละ 80 เป็นพื้นที่เกี่ยวข้องกับการทอุตสาหกรรมปศุสัตว์7 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ข้อมูลที่คำนวณจาก FAO เมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้ผลออกมาว่า พื้นผิวของโลกทั้งหมดที่อยู่อาศัยได้นั้น(รวมพื้นที่ป่า น้ำจืดและเมือง) ร้อยละ 50 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และในพื้นที่เกษตรกรรมนั้น ร้อยละ 77 ถูกใช้ไปกับการทำปศุสัตว์รวมถึงปลูกพืชอาหารสัตว์ โดยมีเพียงร้อยละ 23เท่านั้นที่เป็นพืชอาหารและพืชชนิดอื่น
ในประเทศไทย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ ห่วงโซ่อุปทานสำคัญของการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 80,000 ล้านบาทต่อปี โดยมูลค่าการส่งออกที่สัมพันธ์ตามมาจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ การส่งออกสินค้าไก่เป็นอันดับสามของโลก คิดเป็นมูลค่า 3,116 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 97,903 ล้านบาท การเติบโตของพื้นที่ปลูกข้าวโพดในไทยนั้นเป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนสร้างแรงจูงใจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มายาวนาน เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนาด้วยการสนับสนุนสินเชื่อ โดยให้เกษตรกรยื่นความประสงค์ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าว มาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ หรือการประกันรายได้ ซึ่งราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ให้ราคารับซื้อสูงสุดอยู่ที่ 9.35 บาทต่อกิโลกรัม
รายงานกรีนพีซ ระบุอีกว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถูกวางไว้อยู่ในบริบทที่เป็นตัวการทำลายป่าตลอดมารวมถึงเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ด้วยลักษณะพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาเอื้อต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ใช้น้ำน้อย แต่ให้ผลผลิตสม่ำเสมอประกอบกับนโยบายที่ส่งเสริมของรัฐบาล ทำให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว และมีการนำกระบวนการเผามาใช้เพราะสามารถกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ เนื่องจากภาระหนี้สินจากไร่ข้าวโพดเองก็ผลักดันให้เกษตรกรต้องเผาเพื่อลดต้นทุน
แม้ว่าข้าวโพดเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์จะถูกมองว่าเป็นจำเลย แต่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลว่าบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรใดที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เพาะปลูกเหล่านั้น และเมื่อขาดข้อมูลนี้ รัฐบาลจะไม่สามารถเอาผิดบริษัทอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ว่า ใครควรรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการเผาที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าแต่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลว่าบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรใดที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เพาะปลูกเหล่านั้น และเมื่อขาดข้อมูลนี้ รัฐบาลจะไม่สามารถเอาผิดบริษัทอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ว่า ซึ่งการเกิดไฟป่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่สมดุลในตัวเอง ป่าแห้ง ป่าไหม้ ป่ากลับฟื้นตัว เป็นวงจรปกติเช่นนี้เรื่อยไป
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2423 จนถึงปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้น 1.09 องศาเซลเซียส(เทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม) โดยปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และฤดูกาลไฟป่ายาวนานขึ้นทั่วทั้ง1 ใน 4 ของพื้นผิวโลกที่มีพืชพรรณปกคลุม11 การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ระยะเวลาที่ได้รับฝนและความแห้งแล้ง ต่างส่งผลกระทบต่อการพัฒนา เติบโตและขยายพันธุ์ของพืช การศึกษา12 พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในบางพื้นที่รวมถึงป่าเขตร้อน
การใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ(Climate Model) ศึกษาการแพร่กระจายของระบบนิเวศป่าไม้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้การจำลองสภาพภูมิอากาศที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มเป็นสองเท่าในชั้นบรรยากาศในปี 2539 และการศึกษาเฉพาะพื้นที่ ภาคเหนือในปี 2551 พบว่าป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพป่าที่แห้งแล้งขึ้นในแทบทุกพื้นที่ ป่าไม้ในพื้นที่เหล่านี้อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดเนื่องจากสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมาก่อนไม่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้และระบุว่าอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าประมาณ 32 แห่งในประเทศไทยจะตกอยู่ในความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ16
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่ายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดวิกฤตโรคระบาด COVID-19ถึงจะยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ถึงสาเหตุที่มาของไวรัส แต่กรณีการระบาดครั้งใหญ่ของโลกมักมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงถึงการทำลายป่าที่อุดมสมบูรณ์หรือคุกคามสัตว์ป่าอย่างไรก็ตาม องค์กร Global Forest Coalition ระบุว่า แบคทีเรียดื้อยา เป็นอีกภัยหนึ่งที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ได้ และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้อง และเกินความจำเป็นโดยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์จะยิ่งทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น แต่รักษาโรคได้ยากขึ้น ในปี 2019 UN Interagency Coordination Group (IACG) ได้เตือนว่า ภัยจากเชื้อดื้อยาเป็นเรื่องที่ “รอไม่ได้” ปัจจุบันนี้มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาทั่วโลกราว700,000 คน ต่อปี ขณะที่ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ก็ยิ่งสูงขึ้น ผืนป่าของโลกที่รักษาสมดุลของจุลชีพในสิ่งแวดล้อมที่ลดน้อยลงบวกกับการทวีเพิ่มขึ้นของการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้โลกเสี่ยงต่อโรคระบาด
รายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) กล่าวถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงผืนดินโดยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ไปในทิศทางเดียวกันว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตอาหารและการจัดการผืนดินของโลกไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไว้ไม่ให้สูงไปกว่าขีดจำกัดที่ปลอดภัยและจะส่งผลให้เกิดความล่มสลายของระบบนิเวศ
17 ข้อเสนอแนะของ IPCC คือ จำเป็นต้องมีการจัดการผืนดินอย่างยั่งยืนมากขึ้น เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ดังเช่นในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์และหลากหลายองค์กร18 ต่างออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
"ทางออกที่ยั่งยืนที่สุดสำหรับอนาคตของเรา คือการลดการบริโภคและการผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการลดการทำลายป่าได้ในระดับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อต่อกรกับภัยแล้งยาวนาน โรคระบาด การเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิ และความไม่มั่นคงทางอาหารการลดลงของพื้นที่ป่า คือ การทำลายความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ดิน น้ำ และอุณหภูมิ ซึ่งสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร"รายงานระบุ
ข้อค้นพบหลัก วิกฤตมลพิษ PM2.5 ยังคงเป็นความท้าทายของการจัดการมลพิษทางอากาศในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง โดยเฉพาะระหว่างเดือนธันวาคม และมกราคมพฤษภาคมของทุกปีความเข้มข้นของ pm 2.5 ในระดับที่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพในปี 2562 และปี 2563 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากแผนที่และกราฟ วิกฤตมลพิษ PM2.5 ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 2 ปี มีความรุนแรงไม่แพ้กัน ปี 2562 มีสัดส่วนการกระจายตัวของ PM2.5 ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 25 มคก.ต่อลบ.ม. ขึ้นไป (ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพตามเกณฑ์ของ WHO) มากกว่าปี2563 เพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 3 ประเทศ พบว่าตอนเหนือของ สปป.ลาว มีสัดส่วนการกระจายตัวของ PM2.5 (ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 25 มคก.ต่อ ลบ.ม. ขึ้นไป) ครอบคลุมพื้นที่ถึงร้อยละ 99 ในปี 2562 และร้อยละ 98
ในปี 2563 ภาคเหนือตอนบนของไทย มีสัดส่วนการกระจายตัวของ PM2.5(ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 25 มคก.ต่อ ลบ.ม.ขึ้นไป)ครอบคลุมพื้นที่ถึงร้อยละ 93 ในปี 2562 และร้อยละ 71 ในปี 2563 และรัฐฉานของเมียนมามีสัดส่วนการกระจายตัวของ PM2.5(ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 25 มคก.ต่อ ลบ.ม. ขึ้นไป)ครอบคลุมพื้นที่ถึงร้อยละ 27 ในปี 2562 และร้อยละ 18 ในปี 2563การกระจายตัวของ PM2.5 ดังที่วิเคราะห์จากภาพดาวเทียม มีปัจจัยสำคัญมาจากกระสมลมประจำถิ่นที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตรจากผิวพื้นโดยเป็นลมที่พัดมาจากรัฐฉานของเมียนมาและพัดพาฝุ่น PM2.5 กระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนที่เป็นช่วงที่ PM2.5 มีความเข้มข้นรุนแรง
ในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง โดยเฉลี่ยช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ราว 2 ใน 3 ของจุดความ ร้อนอยู่ในพื้นที่ป่าและ ราว 1 ใน 3 ของจุดความร้อนอยู่ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด
ระหว่างปี 2558-2563 พื้นที่ป่า 10.6 ล้านไร่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขงกลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดการวิเคราะห์จากภาพดาวเทียมระบบ MODIS ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2558-2563 พื้นที่ป่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดจำนวน 10.6 ล้านไร่ โดยการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากที่สุดในเขตตอนบนของ สปป.ลาว จำนวน 5,148,398 ไร่ รองลงมา คือ รัฐฉาน(เมียนมา) จำนวน 2,939,312 ไร่ และภาคเหนือตอนบนของไทยจำนวน 2,552,684 ไรข้อมูลวิเคราะห์จากภาพดาวเทียมระบบ MODIS ข้างต้น สอดคล้องกับการวิเคระาห์ของGlobal Forest Watch ที่ระบุว่า สปป. ลาว เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าดั้งเดิม(primary forest loss) มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปี 256319 ระหว่างปี2544-2563 พื้นที่ป่าใน สปป.ลาวลดลง 19% คิดเป็นพื้นที่ 3.73 ล้านเฮกตาร์(20.625 ล้านไร่) หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.42 ล้านตัน ปัจจัยสำคัญของการสูญเสียพื้นที่ป่าคือการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์(Commodity-driven deforestation)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |