8พ.ค.64-
องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) พร้อมจัดหาวัคซีนให้กับโรงพยาบาลเอกชน ตามการพิจารณาร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญ องค์กรภาครัฐและเอกชน ภายใต้ข้อกำหนดของบริษัทที่ต้องบริหารจัดการและกระจายวัคซีนด้วยองค์กรภาครัฐ ซึ่งเป็นแนวทางของผู้ผลิตทั่วโลก เนื่องจากวัคซีนโควิดทุกชนิดที่ผลิตได้ในขณะนี้เป็นการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ต้องการให้การกระจายวัคซีนให้กับประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึง
นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เผยว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)และ อภ. ได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนจากหลายบริษัท เพื่อฉีดให้กับประชาชนเพิ่มเติม โดยที่ผ่านมา บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ได้มีการหารือกับกระทรวงสาธารณสุข และอภ.มาเป็นระยะ ๆ และอภ. ได้มีการยืนยันเมื่อ3 พ.ค.64 ที่ผ่านมา กับทางสธ . ถึงความร่วมมือกันในการจัดหาวัคซีนของโมเดอร์นา ให้กับโรงพยาบาลเอกชน โดยผ่านการบริหารจัดการโดยทางองค์การเภสัชกรรม ซึ่งในขณะนี้วัคซีนดังกล่าวอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นการขออนุญาตขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉิน เรียกว่า Conditional Approval for Emergency Use Authorization (EUA)
ทั้งนี้แนวทางของผู้ผลิตทั่วโลก สำหรับวัคซีนโควิดทุกชนิดที่ผลิตได้และใช้ฉีดใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะต้องบริหารจัดการและกระจายวัคซีนด้วยองค์กรภาครัฐ โดยมีการรวบรวมความต้องการวัคซีนของโมเดอร์นา จากภาคเอกชน และยืนยันคำสั่งซื้อเพื่อแจ้งจำนวนความต้องการไปยังบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา เพื่อให้บริษัทเร่งการนำเข้าวัคซีน กระจายไปฉีดให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง ให้เร็วที่สุดภายในปีนี้
"ในส่วนการจัดหาให้กับโรงพยาบาลเอกชนซึ่งจะไม่ซ้ำกับทางภาครัฐ โดยวัคซีนโมเดอร์นา ได้ทำการยื่นขอขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 19 เม.ย.กับทาง อย. แล้ว คาดว่าอีกไม่นานจะได้รับใบอนุญาตในเร็วๆนี้ ในส่วนยี่ห้ออื่นๆ อย่าง ไซโนฟาร์ม ปัจจุบันยังไม่มีเอกสารขอขึ้นทะเบียนกับทาง อย. และวัคซีนของบารัค ไบโอเทค ชนิดเชื้อตาย อยู่ในระหว่างการขึ้นทะเบียนกับทาง อย. "ผอ.อภ.กล่าว
ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รอง ผอ.อภ. กล่าวถึงการบริหารจัดการวัคซีนในส่วนของภาคเอกชนว่า เหตุผลในการจัดหาวัคซีนผ่านภาครัฐ คือ อภ. เพราะการประกาศอนุมัติใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉิน บริษัทผู้ผลิตจะต้องติดต่อผ่านภาครัฐเท่านั้น หากเกิดความเสี่ยงในการรับวัคซีนรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแล และไม่มีการเกร็งกำไร เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงมากขึ้น
“ตัวอย่างการดำเนินงาน คือ บริษัทผู้ผลิตวัคซีน ที่มีทะเบียนใช้ในกรณีฉุกเฉิน จะมีการกำหนดนโยบายว่า คู่สัญญาต้องเป็นภาครัฐเท่านั้น หลังจากก็จะมีการยื่นเอกสารในการทำสัญญา และนำมาขึ้นทะเบียนกับทาง อย. ในส่วนของสมาคมโรงพยาบาลเอกชนต้องทำสัญญากับทาง อภ. โดยการชำระเงินจะผ่านทาง อภ.100% และทางโรงพยาบาลเอกชนก็จะทำประกันหากมีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน ซึ่งหากองค์กรภาคเอกชนต้องการใช้วัคซีนก็จต้องติดต่อผ่าน รพ.เอกชน เพื่อทำการจัดสรรวัคซีนและฉีดให้” รองผอ.อภ.กล่าว
ด้าน ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน คือ วัคซีนซิโนแวค และแอสตราเซเนกา ผ่านการลงทะเบียนที่รัฐกำหนดโดยไม่เสียค่าใช่จ่าย ในส่วนกรณีวัคซีนที่ต้องจ่ายเงินเองนั้น จะมีการสำรวจความต้องการวัคซีน และนำส่งให้กับ อภ.เพื่อดำเนินการจัดหา ก่อนจะเปิดให้มีการลงทะเบียนจองฉีดวัคซีน เพราะในตอนนี้ยังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ว่าวัคซีนจะนำเข้ามาได้เมื่อไหร่ ต้องรอการยืนยันจากบริษัทผู้นำเข้า ส่วนราคาจะคิดเป็นต้นทุนวัคซีน ค่าบริการ และประกัน โดยจะรวมเป็นแพคเกจราคาเดียว โดยคาดว่าราคาค่าทำประกันจะอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อราย
นายกสมาคมรพ.เอกชน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้หากในการพิจารณาผลข้างเคียงจะขึ้นอยู่กับขณะแพทย์ของแต่ละโรงพยาบาล หากคนไข้มีอาการแพ้ หรือภาวะแทรกซ้อนจากวัคซีนในระดับอาการปานกลาง-ระดับแอดมิด นอนที่โรงพยาบาล จะได้วงเงินชดเชย 1 แสนบาท หากถึงขั้นเสียชีวิตจะได้เงินชดเชย 1 ล้านบาท ทั้งนี้ราคาที่กำหนดจะ ไม่ใช่ในเชิงพาณิชย์ สำหรับการนำเข้าวัคซีนอาจจะมีมากกว่าหนึ่งชนิด เพราะวัคซีนส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาในเฟสที่ 3 และมีความต่อเนื่องในการพัฒนา เนื่องจากตัวเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็มีการกลายพันธุ์ "นพ.เฉลิมฃัยกล่าว
"และขอย้ำว่าการจัดหาวัคซีนนี้ที่ต้องให้องค์การเภสัชกรรม เป็นผู้จัดซื้อเข้ามานั้น เป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทผู้ผลิตที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐของประเทศผู้ซื้อวัคซีนเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อและบริหารจัดการตามแนวทางของการได้รับทะเบียนแบบฉุกเฉิน และเป็นแนวทางของผู้ผลิตทั่วโลก"นพ.เฉลิมกล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |