ก้มหน้าใช้ของเก่า


เพิ่มเพื่อน    

 

    กรณีการจัดซื้อรถเมล์ NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ถือเป็นกรณีศึกษาของสังคมไทย เพราะเป็นสุดยอด “มหากาพย์” ผ่านเวลาล่วงเลยมากว่า 13 ปี คนไทยยังไม่มีโอกาสได้ใช้ พอทำท่าว่าจะได้ใช้ก็ต้องล้มประมูลกันไปอย่างไม่เป็นท่า ไม่ว่าจะยุคไหน รัฐบาลไหนก็เหมือนกัน เปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมา หลากหลายรูปแบบจากซื้อเป็นเช่า จากเช่าเป็นซื้อ แล้วก็กลับมาเป็นเช่าเป็นซื้อวนเวียนกันไป จากซื้อ 3,183 คัน ลดลงมาจนถึงยุค คสช.ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เหลือเพียง 489 คัน 
    เริ่มประมูลในปี 2558 ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ผู้แข่งขันการประมูลทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ต่อสู้กันอย่างดุเดือด จนต้องล้มประมูลหลายครั้งหลายคราว ยกตัวอย่างง่ายๆ ปี 2559 บริษัท เบสท์รินฯ ชนะประมูล แต่มีปัญหาในการส่งมอบรถให้ ขสมก. เพราะรถยนต์ที่บริษัทเบสท์รินฯ นำเข้ามา ถูกกรมศุลกากรท้วงติงว่า อาจสำแดงแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นเท็จ โดยอ้างว่าประกอบที่มาเลเซีย ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า 40% ในฐานะประเทศในกลุ่มอาเซียน แท้จริงแล้วประกอบที่จีนเป็นเหตุให้ ขสมก.ยกเลิกสัญญาในที่สุด
    ต่อมาปี 2560 เปิดประมูลรอบใหม่ บริษัทเบสท์รินฯ ถูกขึ้นแบล็คลิสต์ ขสมก.เปิดประมูลใหม่ “กลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO” ชนะประมูล และทยอยส่งมอบรถเมล์ NGV ให้กับ ขสมก.ตามสัญญาไปแล้ว 100 คัน ในเดือนมีนาคม 2561 และเตรียมส่งมอบภายในสิ้นปีนี้ครบ 489 คันตามสัญญา
    ทำให้ประชาชนดีใจกันเหลือล้นว่า ในที่สุดก็ได้ใช้บริการรถเมล์ใหม่กันเสียทีหลังจากที่ทนนั่งรถเก่าๆ อายุการใช้งานบางคันมากกว่า 30 ปีเสียด้วยซ้ำไป 
    แต่แล้วฝันของประชาชนก็สลายไป เมื่อศาลปกครองกลางออกคำสั่งคุ้มครอง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.61 ไม่ให้ ขสมก.รับมอบรถเมล์จากกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO มาใช้  
    คนกรุงฯ “ฝันสลาย” ลงฉับพลันและคงต้องทำใจใช้รถเมล์เก่าๆ ขสมก.กันต่อไป 
    ปัจจุบัน ขสมก.มีรถเมล์ที่ให้บริการอยู่ประมาณ 2,774 คัน ประกอบด้วยรถธรรมดาและปรับอากาศ ให้บริการขนส่งผู้โดยสารทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 114 เส้นทาง แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ขณะที่รถเมล์เหล่านั้นผ่านอายุการใช้งานมาเป็นเวลา 20-30 ปี ซึ่งจริงๆ แล้ว ควรที่จะปลดระวางได้แล้ว เพราะมีสภาพทั้งเก่า ชำรุดทรุดโทรม แถมยังสร้างมลพิษทางอากาศ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนกรุงฯ 
    มาคิดกันเล่นๆ ว่า รถเมล์ ขสมก.ใช้เวลาวิ่ง 1 รอบ หรือประมาณ 12-13 ชั่วโมงต่อวัน ค่าซ่อมบำรุงกิโลเมตรละ 5-6 บาท/วัน/กิโลเมตร 
    แต่ถ้าหากใช้รถใหม่จะใช้เวลาวิ่งเพียงรอบละ 8 ชั่งโมง 2 รอบ หรือ 16 ชั่วโมงต่อวัน ค่าซ่อมบำรุงรถใหม่ไม่เกิน 2.50-3 บาท/วัน/วัน/กิโลเมตร
    จึงไม่แปลกเลยว่าค่าซ่อมรถของ ขสมก.ที่เกินกว่า 6 บาท/วัน/กิโลเมตร และยังไม่นับรวมค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการซ่อมบำรุงที่สูง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเห็นตัวเลขขาดทุนของ ขสมก.ที่สูงกว่า 1 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
    ดังนั้น ทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาการจัดซื้อรถเมล์ NGV ของ ขสมก. คงต้องรอการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลฯ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ว่าจะสามารถเดินหน้าตรวจรับรถเมล์ NGV จาก “กลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO” ต่อ เพื่อนำมาให้บริการคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามแผนงานที่วางไว้ และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับ ขสมก. 
    อย่างไรก็ตาม มหากาพย์รถเมล์ NGV ถือเป็นบทเรียนที่สะท้อนให้เห็นถึง “ความไม่โปร่งใส” ในกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐ แม้จะมีความพยายามสร้างภาพด้วยการจัดให้มีการทำ “ข้อตกลงคุณธรรม” ก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับกระบวนการจัดซื้อตลอดเวลา 13 ปี ก็เป็นอย่างที่เห็น
    ....คนกรุงไม่มีโอกาสได้ใช้ใหม่ๆ ยังคงต้องทนนั่งรถเก่าๆ ท่ามกลางกาศร้อนๆ ที่ต้องฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปอย่างไม่รู้ชะตากรรม แต่ก็แอบมีความหวังกันนิดๆ ว่าเร็วๆ นี่แหละคงได้ใช้รถใหม่กันแน่.
 

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"