สมควรอ่าน!'คำนูณ'ยกบันทึกกฤษฎีกาที่1271/2563 เทียบเคียงคดี'ธรรมนัส'


เพิ่มเพื่อน    

7 พ.ค.64 - นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึง กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สมาชิกภาพส.ส.ของร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่สิ้นสุดลงตามคำร้อง โดยยกอํานาจอธิปไตย การใช้อำนาจตุลาการย่อมต้องไม่ตกอยู่ในอาณัติหรือภายใต้อำนาจตุลาการของรัฐอื่นคำพิพากษาของศาลออสเตรเลียไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายไทยว่า
คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกคนไทยโดยศาลต่างประเทศและมีการจำคุกจริงจะมีผลต่อคนไทยคนนั้นในประเทศไทยอย่างไร เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในช่วงวันสองวันนี้

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปแล้วโดยยึดหลักอำนาจอธิปไตย

ก่อนหน้านี้ และแม้กระทั่งขณะนี้ มีการเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 276/2525 ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันมีการเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 562/2554 ที่มีความเห็นแตกต่างไปจากบันทึกฯฉบับแรกและมีแนวทางใกล้เคียงกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเพื่อความสมบูรณ์ทางวิชาการ

ขอเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาล่าสุดเกี่ยวกับกรณีใกล้เคียงกันนี้อีกฉบับนะครับ ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะเป็นฉบับล่าสุดเกี่ยวกับกรณีนี้ เป็นบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 1271/2563 เมื่อเดือนตุลาคม 2563 นี่เอง กรณีนี้เป็นคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกคนไทยของศาลสหรัฐอเมริกาในคดียาเสพติด เมื่อพ้นโทษออกมาแล้ว เขาได้ร้องขอสิทธิประโยชน์จากการถูกสั่งพักราชการจากต้นสังกัดคืน รวมทั้งขอให้เพิกถอนคำสั่งพักราชการ ต้นสังกัดได้ขอความเห็นมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพราะเห็นว่าความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในปี 2525 และ 2554 ยังมีความแตกต่างกัน

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในบันทึกฉบับนี้เป็นการประชุมร่วมกันของคณะ 11 (ศ.คณิต ณ นคร - ประธาน) กับคณะ 13 (ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ - ประธาน) มีความครอบคลุมทางวิชาการ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ของไทย และข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่

“คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 11 และคณะที่ 13) จึงมีความเห็นว่า ข้อหารือนี้มิใช่ข้อหารือเกี่ยวกับการดําเนินคดีอาญาแต่เป็นข้อหารือเรื่องวินัยทหาร และการพิจารณาให้ความเห็นในกรณีนี้เป็นกรณีที่ใช้ผลของคําพิพากษาของศาลต่างประเทศมารับฟัง เป็นพยานหลักฐานในฐานะข้อเท็จจริงในการดําเนินการทางวินัยกับข้าราชการทหาร ซึ่งเป็นการรับฟังคําพิพากษาของศาลต่างประเทศในฐานะข้อเท็จจริง มิใช่การรับคําพิพากษาของ ศาลต่างประเทศมาบังคับโทษในประเทศไทย ดังนั้นข้อความว่า ‘เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว’ ตามข้อ 77 วรรคสอง แห่งข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการทหารพักราชการ พ.ศ. 2528 จึงรวมถึงคดีถึงที่สุดตามคําพิพากษาของศาลสหรัฐอเมริกาด้วย....”

สมควรอ่าน และสมควรศึกษาอย่างยิ่งครับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"