สำหรับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 จะต้องทราบถึงกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น
อันดับแรกต้องรู้ก่อนว่า วัคซีนทำงานอย่างไร
กลไกธรรมชาติของร่างกายเมื่อได้รับเชื้อก่อโรค จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นๆ และระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถจดจำเชื้อโรคนั้นได้ ดังนั้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้ออีกในอนาคตร่างกายที่ได้จดจำเชื้อโรคจะสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับเชื้อโรคได้ในเวลาอันรวดเร็วและทันท่วงที
กรณีของวัคซีนโควิด-19 มีการพัฒนาเพื่อจำลองกระบวนการของร่างกายเวลาติดเชื้อโควิด-19 โดยการใช้เชื้อโควิด-19 ที่ถูกทำให้หมดฤทธิ์ หรือ ใช้ส่วนของเชื้อไวรัส หรือ สารสังเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถก่อโรคในร่างกายแก่ผู้รับวัคซีน แต่ยังมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ต่างไปจากการติดเชื้อโรคจริง
ดูภาพประกอบ
วัคซีนโควิด-19 ส่วนใหญ่ต้องฉีด 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เพียงพอและอยู่นาน โดยเว้นระยะระหว่างเข็มแตกต่างกัน ซึ่งมักเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มในระยะห่างที่เหมาะสม ถึงจะมั่นใจว่า ร่างกายมีภูมิค้มกันเพียงพอป้องกันโรคได้
แม้วัคซีนจะถูกฉีดเป็นรายคน แต่ก็มีประโยชน์ในการปกป้องคนใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงได้อีกด้วยในภาพรวม วัคซีนโควิด-19 เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการปัญหาโควิด-19 ทั้งการลดความสูญเสียจากการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต ลดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและในอนาคตอันใกล้มีความเป็นไปได้ที่เราอาจจะมีข้อมูลมากเพียงพอที่แสดงในเห็นว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะช่วยลดการติดเชื้อและแพร่กระจายโรคในสังคมได้
วัคซีนต่างชนิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่างกันหรือไม่
ปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการรับรองโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย 3 ชนิด (ข้อมูล 24 เม.ย. 2564 ) ได้แก่ วัคซีนจากบริษัท AstraZeneca วัคซีนจากบริษัท Sinovac และวัคซีนจากบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งทั้ง 3 ชนิดล้วนมีประสิทธิภาพและคุณสมบัติตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก สามารถป้องกันการติดเชื้อรุนแรงได้ 100%
อย่างไรก็ตามประสิทธิพลที่ได้จากการทดสอบวัคซีนจะมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการทดสอบวัคซีนเป็นการดำเนินการภายใต้บริบทที่มีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี ต่างจากสถานการณ์การให้วัคซีนจริง ซึ่งประสิทธิพลของการป้องกันโรคขึ้นกับหลายปัจจัย ตั้งแต่การเก็บรักษาวัคซีน เทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง รวมถึงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
วัคซีน แต่ละชนิด มีผลการวิจัยด้านประสิทธิภาพแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนี้ นอกจากมาจากตัววัคซีนเอง คิดยังเป็นผลจากระเบียบวิธีวิจัย ที่ออกแบบมาแตกต่างกัน ของแต่ละบริษัทอีกด้วย เช่น การวัดผลของวัคซีนในการป้องกัน การเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน (กลุ่มอายุ) หรือการทดสอบวัคซีน ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์โรคต่างกัน รวมทั้งการเกิดการกลายพันธุ์ในหลายพื้นที่ ดังนั้นการแปลผล เพื่อพิจารณานำวัคซีนมาใช้ จึงไม่สามารถพิจารณาเพียงตัวเลข ประสิทธิภาพเพียวอย่างเดียว ต้องวิเคราะห์บริบทแวดล้อม และระเบียบวิธีวิจัยด้วย
นอกจากประสิทธิภาพแล้ว ประเด็นความปลอดภัยก็เป็นประเด็นที่สำคัญ ในการพิจารณานำหลักวัคซีนมาใช้ แม้ว่าวัคซีนโควิด-19 จะถูกพัฒนาในเวลารวดเร็วกว่าวัคซีนชนิดอื่นที่ใช้เวลาเฉลี่ยสิบปี แต่กระบวนการติดตามความปลอดภัยก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นหรือย่อหย่อน อีกทั้งนับถึงตอนนี้ มีการใช้วัคซีนมากกว่าหนึ่งพันล้านโดสทั่วโลก (24 เม.ย. 2564) มีรายงานการเจ็บป่วยรุนแรง ที่มีสาเหตุโดยตรงมาจากวัคซีนน้อยมาก
สำหรับวัคซีนที่นำมาใช้ในประเทศไทยทั้งสองชนิด มีข้อมูลความปลอดภัยที่ดี อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ เป็นอาการเฉพาะที่และหายได้เอง ปัจจุบันยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงในอัตราที่สูงกว่าวัคซีนชนิดอื่น ที่ใช้อยู่ทั่วไป
การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ใช้เวลาที่เร่งด่วน แต่ยังคงยึดหลักเกณฑ์ที่จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทำให้ผู้พัฒนาวัคซีนส่วนใหญ่ อาจไม่ได้ทำการวิจัยในบางกลุ่มประชากรอย่างเพียงพอ เนื่องจากเป็นประชากรกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ทำให้ยังมีข้อมูลด้านความปลอดภัย ในประชากรเหล่านี้จำกัด ในเบื้องต้นจึงกำหนดให้ฉีดวัคซีน ในประชากรที่มีข้อมูลเพียงพอก่อน และรอข้อมูลการวิจัยเพิ่มเติม ในกลุ่มประชากรเปราะบาง เพื่อความมั่นใจว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย จึงค่อยขยายกลุ่มเป้าหมาย
ที่มา คู่มือวัคซีน สู้โควิด ฉบับประชาชน ที่จัดทำขึ้นโดย กระทรวงสาธารณสุข , องค์การอนามัยโลก , ยูนิเชฟ , สสส.
อ่านเพิ่มเติม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |