5พ.ต.64-นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้ซักซ้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ โดย สพฐ.ได้ประเมินความพร้อมร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ที่มีการกำหนดแบ่งโซนพื้นที่การควบคุม เพื่อสำรวจความพร้อมโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ว่า สามารถเปิดเรียนจริงในวันที่ 1 มิถุนายนได้กี่แห่ง หรือโรงเรียนในพื้นที่ใดไม่สามารถเปิดเรียนได้จะต้องใช้วิธีการเรียนการสอนที่สพฐ.กำหนดไว้ 5 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนผ่านระบบ Online Onsite Onair Onhand และ Ondemand มีทั้งหมดกี่แห่ง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว สพฐ.จะยึดพื้นฐานความพร้อมของนักเรียนเป็นที่ตั้ง โดยจะไม่มีการบังคับให้นักเรียนจะต้องเรียนในรูปแบบไหน แต่เด็กสามารถเลือกเรียนได้ตามความพร้อมของตัวเอง เพื่อไม่ให้เป็นการกดดันหรือไปสร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง ดังนั้นโรงเรียนสามารถเลือกรูปแบบการเรียนได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของนักเรียนแต่ละคน เพราะ สพฐ.จะมีการถอดบทเรียนจากสถานการณ์โควิดช่วง 1ปี ที่ผ่านมาว่า การเรียนการสอนของเรามีจุดอ่อนจุดแข็งในด้านไหนบ้าง เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
นายอัมพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สพฐ.จะจัดทำคลังสื่อความรู้แบ่งเป็นระดับปฐมวัย ประถมศึกษา ไปจนถึงมัธยมศึกษา เพื่อให้โรงเรียนสามารถดึงแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่ในคลังข้อมูลไปใช้ต่อยอดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้ ขณะเดียวกัน นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ยังได้ประสานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เข้ามาช่วยพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพด้วย รวมถึงการเรียนผ่านระบบ Onair จะประสานกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ ดีแอลทีวี ช่วยจัดตารางเรียนเสริมในการจัดการเรียนการสอนเชื่อมโยงกับการเปิดภาคเรียนใหม่ด้วย โดยจะมีการจัดหาอุปกรณ์เสริมให้แก่นักเรียน เพื่อรองรับการเรียนทั้ง 5 รูปแบบดังกล่าว ดังนั้นหากโรงเรียนใดพบนักเรียนไม่สามารถเรียนในรูปแบบ online onsite onair ได้ก็ให้มาเรียนแบบ Onhand คือการนำบทเรียนและแบบฝึกหัดจากโรงเรียนมาเรียนรู้ที่บ้านแทน
“การจัดการเรียนการสอนท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ในภาคเรียนนี้สพฐ.จะไม่มุ่งสร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง จะหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้เด็กอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยรมว.ศธ.มีความห่วงใยนักเรียนทุกคน เพราะเมื่อมีการเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไปจากกำหนดเดิม ทำให้เด็กมีเวลาว่างมากขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไม่หยุดการเรียนรู้ ซึ่งรมว.ศธ.จึงมีข้อสั่งการให้สพฐ.สร้างกิจกรรมทางเลือกให้แก่นักเรียนให้เด็กเลือกเรียนตามความสมัครใจ เช่น ทักษะอาชีพ การเรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น”เลขาฯ กพฐ.กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |