พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ'ครูชาลี' ที่วัดธาตุทอง โรคชราพรากชีวิต รวมอายุ 99 ปี


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

 

     วันที่ 5 พ.ค. นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ครูชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง - ผู้กำกับภาพยนตร์) พุทธศักราช 2536  เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564  เวลาประมาณ 00.40 . . ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร เนื่องจากโรคชรา สิริรวมอายุ 99 ปี ซึ่งทางญาติแจ้งว่า ได้ขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันพุธที่ 5 พฤษภาคม 2564  เวลา 17.00  น. ณ ศาลา 11 วัดธาตุทอง เขตวัฒนา กทม. และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 5-7  พฤษภาคม 2564  เวลา 19.00  น. ณ ศาลา 11  วัดธาตุทอง กทม. และจะเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100  วัน โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพให้ต่อไป

           อธิบดี สวธ. เปิดเผยอีกว่า นอกจาก สวธ.ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ เผยแพร่และถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน แล้ว ยังให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000  บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000  บาท ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ

        สำหรับประวัติของครูชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง - ผู้กำกับภาพยนตร์) พุทธศักราช 2536  เกิดเมื่อวันที่ 6  กรกฎาคม พุทธศักราช 2465  ที่จังหวัดสมุทรสาคร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ท่านเป็นบุคลที่สนใจเรื่องเพลงมาแต่เด็ก ทุกครั้งที่มีการจัดงานของวัดต่างๆ จะต้องไปประกวดร้องเพลงทุกครั้ง และมักจะได้รับรางวัลที่ 1  อยู่เป็นประจำ

        จากนั้นได้เข้าสู่วงการแสดงละคร วงการนักร้อง วงการภาพยนตร์ ซึ่งจากการสั่งสมประสบการณ์ทำให้มีความสามารถโดดเด่นทั้งเรื่องการร้องเพลง การประพันธ์เพลง การกำกับการแสดงภาพยนตร์โดยเฉพาะด้านการประพันธ์เพลง มีผลงานสร้างสรรค์เกือบ 1,000  เพลง ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงเป็นอมตะจนปัจจุบันมีจำนวนมาก เช่น เพลงสดุดี มหาราชา แสนแสบ ท่าฉลอม สาวนครชัยศรี ทุ่งรวงทอง มนต์รักดอกคำใต้ แม่กลอง ฯลฯ

       นอกจากครูชาลีจะเป็นนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถสูงแล้ว ยังมีผลงานกำกับการแสดงภาพยนตร์ที่มีคุณภาพหลายเรื่อง เช่น ปราสาททราย กิ่งแก้ว และสื่อกามเทพ  จากผลการสร้างสรรค์ที่ทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ครูชาลีได้รับรางวัลเกียรติยศจำนวนมากทั้งรางวัลตุ๊กตาทอง  รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์  รางวัลกิตติคุณสังข์เงิน รางวัลเมขลา รางวัลแผ่นเสียงทองคำ

      ครูชาลี เป็นศิลปินที่เป็นแบบอย่างแก่วงการบันเทิงของประเทศไทยในการสร้างสรรค์งานด้วยศรัทธาในวิชาชีพโดยมิได้คำนึงถึงเรื่องธุรกิจ ครูชาลีได้ถ่ายองค์ความรู้การสร้างสรรค์บทเพลงสร้างศิลปินชื่อดังประดับวงการบันเทิงมากมายด้วยผลงานเพลงที่เป็นอมตะยอดนิยมตลาดกาล เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร เพ็ญศรี พุ่มชูศรี สวลี ผกาพันธุ์ ฯลฯ ทั้งยังให้ความช่วยเหลือสังคมตลอดมา ครูชาลี อินทรวิจิตร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับภาพยนตร์) เมื่อปีพุทธศักราช 2536

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"