ขัดใจทั่นผู้นำ สำนักข่าวแห่งเดียวของสโลวีเนียโดนตัดทุน


เพิ่มเพื่อน    

นักข่าวในสโลวีเนียเปิดแคมเปญรับบริจาคเงินเพื่อค้ำจุนสำนักข่าวอิสระเพียงแห่งเดียวของประเทศ หลังจากโดนรัฐบาลของนายกฯ ยาแนซ ยานซา ระงับเงินทุนสนับสนุนตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเรียกสื่อสาธารณะแห่งนี้ว่าเป็นความอัปยศของชาติ

แฟ้มภาพ นักข่าวประท้วงเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกที่นครอิสตันบุลของตุรกี เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2560 (Photo by Chris McGrath/Getty Images)

    เอเอฟพีรายงานว่า การริเริ่มระดมทุนของนักข่าวสโลวีเนียต้อนรับวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม เป็นความพยายามโอบอุ้มสำนักข่าวเอสทีเอ ที่ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง-ขวาของนายกฯ ยานซา มาตั้งแต่เริ่มต้นเข้าสู่ปี 2564 หลังจากรัฐบาลชุดนี้ต้องการให้สำนักข่าวอิสระแห่งนี้เปลี่ยนตัวคณะผู้บริหาร แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากภายในประเทศและจากสหภาพยุโรป ที่สโลวีเนียเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ก็ตาม

    การขาดเงินสนับสนุนจากภาครัฐกำลังคุกคามการทำหน้าที่ของสำนักข่าวที่ก่อตั้งเมื่อปี 2534 แห่งนี้ รวมถึงการจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างประมาณ 90 คน

    สมาคมนักข่าวของสโลวีเนียและจากนานาชาติตั้งเป้าหมายว่าจะระดมเงินบริจาคให้ได้ 2 ล้านยูโร (ราว 75 ล้านบาท) ซึ่งเท่ากับเงินรายปีที่สำนักข่าวแห่งนี้ได้จากงบสนับสนุนภาครัฐ 

    แถลงการณ์ร่วมของสมาคมนักข่าว (ดีเอ็นเอส) และสหภาพนักข่าว (เอสเอ็นเอส) กล่าวว่า เป้าหมายของรัฐบาลคือกดดันให้สำนักข่าวแห่งนี้เปลี่ยนตัวคณะผู้บริหารและเข้ามาควบคุมเนื้อหาการนำเสนอข่าว

    หนังสือพิมพ์รายวัน 3 ฉบับใหญ่ของสโลวีเนีย ได้แก่ Delo, Dnevnik และ Vecer ฉบับวันจันทร์พร้อมใจกันเรียกร้องให้ชาวสโลวีเนียทุกคนร่วมแคมเปญนี้

    รัฐบาลของยานซาปฏิเสธจะจ่ายเงินอุดหนุนเอสทีเอจนกว่าจะมีการเซ็นสัญญาฉบับใหม่สำหรับปี 2564 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมาธิการยุโรปเคยกล่าวไว้ว่า ตามกฎหมายของอียูแล้ว สโลวีเนียต้องจ่ายเงิน 2.5 ล้านยูโรแก่สำนักข่าวสาธารณะ โดยเน้นถึง "บทบาทสำคัญ" ของสำนักข่าวอิสระแห่งนี้

    นับแต่ขึ้นรับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว นักการเมืองรุ่นเก๋าวัย 62 ปีทวีตโจมตีสื่อที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับการรับมือวิกฤติโควิด-19 ของเขา โดยกล่าวหาสื่อเหล่านี้ว่าเผยแพร่เรื่องโกหกและรับใช้ผลประโยชน์ของฝ่ายค้าน  

    เขาเคยกล่าวโจมตีเอสทีเอเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาว่าเป็น "ความอัปยศของชาติ" เพราะเปิดพื้นที่สำหรับการสัมภาษณ์นักดนตรีที่วิจารณ์รัฐบาลมากกว่าการรายงานข่าวการพบปะระหว่างเขากับวิกตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีชาตินิยของฮังการีที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดของเขา

    การจัดอันดับดัชนีเสรีภาพสื่อโดยองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเมื่อเดือนเมษายน ประเทศที่มีประชากร 2 ล้านคนแห่งนี้มีอันดับร่วงลง 4 อันดับจากปีก่อน มาอยู่อันดับ 36.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"