แผนการพัฒนาปาล์มน้ำมัน


เพิ่มเพื่อน    

อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองเสมอ ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในระดับต้นๆ ของประเทศ และมักจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ของเกษตรกรในประเทศด้วย  รัฐบาลเองจึงต้องมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ กระตุ้น หรือสนับสนุนการค้าและการส่งของในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้เสมอ

                ซึ่งปาล์มน้ำมันนั้นถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายๆ อุตสาหกรรมไม่ใช่แค่ผลิตเป็นน้ำมันเพื่อการบริโภค หรือในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น แต่ยังนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภาคพลังงาน ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของน้ำมันดีเซลพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

                อย่างในการที่พัฒนาน้ำมันเกรดพิเศษบี 20 ขึ้นมาก็เป็นการนำวัตถุดิบที่ได้จากการทำปฏิกิริยาทางเคมีของน้ำมันปาล์มออกมาเป็นไบโอดีเซล (บี100) มาผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 20% เพื่อให้เกิดบี 20 ขึ้น เป็นหนึ่งในนโยบายการใช้วัตถุดิบในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นปัจจัยหลักในการระบายสต๊อกน้ำมันในประเทศที่ตอนนั้นล้นตลาดอยู่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรอีกด้วย

                และจากเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดมากขึ้น ปาล์มน้ำมันจึงถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ให้มากขึ้นไปอีก อย่างล่าสุดที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2564 ที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคัล (Oleochemical Industry) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ

                ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ตอบโจทย์ความหวังว่าจะเป็นผู้นำในอาเซียน ด้วยอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างมาตรการและแนวทางขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มดังกล่าวทันที

                โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคัลของประเทศตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยจะยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้มีมูลค่าเพิ่ม และเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสอดรับกับการพัฒนาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ (ไบโออีโคโนมี) ของรัฐบาล อีกทั้งเป็นการดูดซับผลผลิตปาล์ม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาปาล์มมีเสถียรภาพและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                และได้กำหนดผลิตภัณฑ์เป้าหมาย 6 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่นพื้นฐาน (Base oil) 2.น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (Bio-Transformer oil) 3.ผงซักฟอกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สารตั้งต้น MES) (Methyl Ester Sulfonate : MES) 4.น้ำมันหล่อลื่นและจาระบีชีวภาพ (Bio Lubricants and Greases) 5.พาราฟิน (Paraffin) และ 6.สารกำจัดศัตรูพืช/แมลง (Pesticides/Insecticides)

                รวมทั้งได้กำหนดมาตรการและแนวทางการขับเคลื่อนใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านกระบวนการผลิต เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม เช่น การขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทยเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ 2.ด้านมาตรฐานและการทดสอบ เช่น การจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3.ด้านสิทธิประโยชน์ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน 4.ด้านอุปสงค์  เช่น มาตรการจัดซื้อสินค้าและจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 5.ด้านอื่นๆ เช่น มาตรการส่งเสริม/สิทธิประโยชน์ภายใต้อีอีซี เพื่อสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคัล

                อย่างไรก็ตาม การผลิตในช่วงแรกจะเป็นการผลิตเพื่อทดแทนสารตั้งต้นจากปิโตรเลียมก่อน โดยมีแผนที่จะส่งออกในอนาคตเนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการมาก โดยความต้องการในผลิตภัณฑ์เป้าหมายมีปริมาณสูงถึงประมาณ 53 ล้านตันต่อปี ตลาดที่มีศักยภาพ ได้แก่ ภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยในปี 2563 ประเทศไทยมีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ประมาณ 2.974 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 90,000 ล้านบาท

                ทั้งนี้ หากได้ดำเนินการขับเคลื่อนตามมาตรการและแนวทางดังกล่าวจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ตอบสนองกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทั้งเป็นการดูดซับผลผลิตปาล์ม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาปาล์มมีเสถียรภาพและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"