ด้านทางการทหาร อาจบอกว่า ไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 3 ทุกประเทศต้องร่วมมือรบกับเชื้อโรคนี้ให้หมดไป โดยเฉพาะการพัฒนาวัคซีนให้มีประสิทธิภาพ พร้อมมาตรการป้องกันต่างๆ ที่ดำเนินการควบคู่ เพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ ปลอดภัย
โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาช่วยเหลือ "ดร. มาร์ช" พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และ อดีตรองประธานกสทช. ประเมินว่า ในอนาคตข้างหน้ามีความเป็นไปได้สูงที่ประวัติการรับวัคซีนโควิด-19 จะมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน
กิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีน เช่น เข้าร่วมงานแสดงต่างๆทั้งคอนเสิร์ต มหกรรมกีฬา รวมไปถึงสถานที่ที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนอื่น ทั้งในอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ รวมทั้ง คาดการณ์ว่าอาจจะต้องมีการฉีดซ้ำทุกๆ ปี หรือสองปี
เราจำเป็นที่จะต้องมี covid passport หรือ covid pass ที่เป็นระบบดิจิทัล เช่นนำไปผูกกับบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด หรือการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิททัล (NDID) และอาจจะนำเทคโนโลยี เช่น Blockchain หรือ IoT มาใช้ สามารถเรียกตรวจสอบได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สามารถปลอมแปลงได้
การเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชน เป็นสิ่งจำเป็น แต่การเก็บประวัติและติตตามด้วยระบบดิจิทัล ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะช่วยป้องกันผลอันไม่พึงประสงค์ อาทิ เตือนให้มารับวัคซีนเข็มที่สองได้ทันเวลา ป้องกันความสับสนของการรับวัคซีนเข็มแรกและเข็มสองที่ไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งแจ้งเพื่อให้มารับวัคซีนขนานใหม่ เมื่อตรวจพบเชื้อกลายพันธ์ที่วัคซีนที่ได้รับการฉีดไปแล้วนั้นไม่สามารถต้านทานได้ เป็นต้น
ข้อเสนอของ "ดร.มาร์ช" เป็นสิ่งที่น่าคิดเพราะหากปล่อยให้มีแต่ "สมุดฉีดวัคซีน" อาจไม่ตอบสนองต่อกระแสโลก และสิ่งที่ต้องรับมือในอนาคต
ช่างสงสัย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |