3 พ.ค.64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ Common School ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายของ “คณะก้าวหน้า” เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมเรียน “หลักสูตรประวัติศาสตร์นอกขนบ” โดยระบุตอนหนึ่งว่า ถ้าคุณคิดว่าวิชาประวัติศาสตร์ไทยน่าเบื่อ เต็มไปด้วยเรื่องของเจ้าขุนมูลนายผู้ปรีชาสามารถและศึกสงครามของชนชั้นนำ แต่ต้องเรียนเพื่อปลูกฝังความรักชาติ (ของชนชั้นนำ) ถูกต้อง! เพราะนั่นคือประวัติศาสตร์ในขนบ ที่พบได้ทั่วไปในหลักสูตรการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการและในมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งสื่อต่าง ๆ เช่น ละคร ข่าว หนังสือพิมพ์ ซึ่งล้วนแต่ทำให้คุณ ‘จงรักภักดีต่อชาติและชนชั้นนำมากขึ้นเท่านั้น’
“Common School ขอนำเสนอ ‘ประวัติศาสตร์นอกขนบ’ รายวิชาย่อยโดย ธงชัย วินิจจะกูล หลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อคนไทย ครั้งแรกในรอบ 30 ปีของผู้เขียนหนังสือ 'กำเนิดสยามจากแผนที่' ซึ่งจะบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ที่คุณอาจจะไม่คุ้นเคย แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยสาระและมุมมองใหม่ เริ่มกันด้วยหัวข้อ “สยามยุคกึ่งจักรวรรดิกึ่งอาณานิคม” ตลอดเดือนมิถุนายน 2564 นี้
“เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม วันที่ 15-30 พฤษภาคม 2564 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 5 มิถุนายน 2564. เปิดห้องบรรยายครั้งแรก วันที่ 9 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป” เพจ Common School ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหลักสูตร “ประวัติศาสตร์นอกขนบ” โดย ธงชัย วินิจจะกูล เป็นรายวิชาย่อยที่ 1 หัวข้อรายวิชาคือ “สยามยุคกึ่งจักรวรรดิกึ่งอาณานิคม” ซึ่งจะมีการบรรยาย 4 คาบเรียน ได้แก่ วันพุธที่ 9 มิถุนายน บรรยายเรื่อง “สยามไม่เคยเสียเอกราช หรือกึ่งอาณานิคม?, วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน บรรยายเรื่อง “เสียดินแดน หรือ จักรวรรดิ์สยามได้ดินแดน”, วันพุธที่ 16 มิถุนายน บรรยายเรื่อง “รัฐสมัยใหม่และการปฏิรูปเพื่อเอกราชหรือ?” และวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน บรรยายเรื่อง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมรดก”
สำหรับนายธงชัย วินิจฉะกูล มีตำแหน่งเป็น ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |