ยังคงเป็นประเด็นร้อนฉ่า หลังจากมีการหารือถึงเรื่องการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม มีความเห็นไม่ตรงกัน ในเรื่องที่จะดำเนินการกับสถานะของบริษัทการบินไทยให้กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งตามที่กระทรวงการคลังเสนอมา เพื่อให้สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ โดยกระทรวงคมนาคมเห็นว่าจะเกิดภาระกับรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นมากว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีหนี้อยู่ 2.2 แสนล้านบาท
หลังจากเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมติดตามความคืบหน้าเรื่อง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์, นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง พร้อมตัวแทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สนง.บริหารหนี้สาธารณะ สนง.นโยบายรัฐวิสาหกิจ บริษัทผู้ทำแผนฟื้นฟูการบินไทย (บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด) ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประชุม
โดยในที่ประชุมกระทรวงการคลังเสนอการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในแนวทางที่จะให้นำกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการดำเนินการปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้นการบินไทย 47.86% โดยที่กองทุนวายุภักษ์จะขายหุ้นบริษัทการบินไทยให้ บจก.ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ (ธพส.) ตั้งแต่ 2.15% ขึ้นไป จะมีผลทำให้การบินไทย กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง ตาม พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ, พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ และ พ.ร.บ.เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ และ พ.ร.บ.อื่นๆ
ทั้งนี้ มีรายงานแจ้งงว่า การคลังและคมนาคมมีความเห็นไม่ตรงกัน ในส่วนที่จะดำเนินการกับสถานะของการบินไทย ให้กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง ตามที่การคลังเสนอมา เพื่อให้สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ โดยคมนาคมเห็นว่าจะเกิดภาระกับรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นมาร่วม 3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 2 แสนล้านบาท โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคม มองว่าในแผนแก้ไขปัญหาการบินไทยที่จะหาทางออกร่วมกันนั้น มีรายละเอียดจึงหารือคลังเพื่อขอแผนฟื้นฟูการบินไทย ที่ผู้ทำแผนฟื้นฟูการบินไทย และกระทรวงคลังทำขึ้น มาประชุมพิจารณาคู่ขนาน เพื่อช่วยหาทางออกให้การบินไทย ก่อนที่จะมีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีต่อไป
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมพร้อมให้การสนับสนุน กระทรวงการคลัง และการบินไทยที่จะแก้ไขปัญหาการบินไทยหากแผนฟื้นฟูที่จัดทำขึ้นดังกล่าวมีความสมบูรณ์ แต่หากกระทรวงคมนาคมพิจารณาแผนแล้วเห็นว่าไม่เรียบร้อย ในเรื่องนี้ก็ต้องมาหารือร่วมกันว่า ไม่เรียบร้อยเรื่องไหน ด้านไหนบ้าง เพราะการบินไทยเคยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมมาก่อน โดนนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในฐานะ รมว.คมนาคม ก็อยากให้มีการแก้ไขสำเร็จ เพราะการบินไทยคือสายการบินของคนไทย ส่วนแนวทางที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้มีการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติขึ้นมาใหม่นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทาง ซึ่งในที่ประชุมก็มีสิทธิ์ที่จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับคมนาคม
ต้องมาจับตากันว่าในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อโหวตแผนฟื้นฟูบริษัทการบินไทย ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 นี้นั้น โดยในขณะนี้ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ได้มีการปรับแก้และเสนอแผนฟื้นฟูฉบับใหม่ ซึ่งหากรัฐบาลไม่ค้ำประกัน แบงก์ก็ไม่มีใครกล้าปล่อยกู้เพิ่ม ขณะที่เจ้าหนี้บางส่วนก็ต้องรับเงื่อนไขแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้อยากทำวิธีนี้ เพราะหากฟื้นฟูไม่สำเร็จจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย
ขณะเดียวกัน ประเด็นที่ยังเห็นต่างกันหลักๆ อยู่ 2-3 ประเด็น อาทิ เรื่องโมเดลธุรกิจ และกลไกการบริหารแผนฟื้นฟู ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของกลไกการบริหารแผนฟื้นฟู มีประเด็นเรื่องการบริหารแผน ซึ่งทางเจ้าหนี้สถาบันการเงินต้องการมีส่วนบริหารแผนฟื้นฟูด้วย ที่สุดแล้วบทสรุปของการบินไทย สายการบินแห่งชาติจะออกมาในรูปแบบไหน ต้องมาติดตามกันต่อหลังจากนี้.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |