2 พ.ค. 2564 นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า เสียดายยาสมุนไพรไทยมาก ในช่วงเกิดโรคระบาดยิ่งน่าเสียดาย รัฐบาลควรจะทุ่มงบประมาณไปในการวิจัยและจดลิขสิทธิ์โดยเร่งด่วน สมุนไพรไทย เป็นวัตถุดิบชั้นเลิศ ตำรายาโบราณของไทยก็เป็นภูมิปัญญาไทยที่บรรพบุรุษไทยสั่งสมมาหลายร้อยปี และเป็นวัตถุดิบยาที่เกิดในสภาพแวดล้อมบนแผ่นดินไทยและเหมาะกับคนไทยคนเอเซียโดยธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ถ้ารัฐบาลไทยนำมาพัฒนาต่อยอด จะช่วยประชาชนได้มากและลดการพึ่งพายาต่างประเทศได้มหาศาล
“แต่โครงการดี ๆ แบบนี้ มันต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง เนื่องจากการซื้อยาต่างประเทศเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่หอมหวลชวนอนุมัติ จะมาสร้างภูมิปัญญาของชาติ ต้องสร้างจากผู้มีภูมิปัญญาเท่านั้น” นายวรวุฒิ กล่าว
สอดคล้องกับความเห็นขององค์กรหลักที่ค้นคว้า วิจัยและผลักดันให้การมีการจดลิขสิทธิ์สมุนไพรมาอย่างต่อเนื่องอย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่มองว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องเร่งทำ โดย ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ยาสมุนไพร มีคุณค่าในเชิงวัฒนธรรม และความสำคัญในการพึ่งตนเอง หากมองย้อนกลับไป คนไทยอยู่กันมาอย่างไรในสมัยก่อนทั้ง ๆ ที่ไม่มีองค์ความรู้การแพทย์ตะวันตก และในสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดในระลอกแรก ประเทศจีนก็มีการนำงานวิจัยที่ตีพิมพ์ของประเทศจีนเกี่ยวกับประสบการณ์การนำยาจีนมาใช้
“หมอจีนไม่รู้หรอกว่า ในยาสมุนไพรมีสารสำคัญอะไร แต่เชื่อว่ามันจะสร้างกลไกการป้องกันตัวเองให้ร่างกาย ทำให้ขับไล่เชื้อได้ดีขึ้น พอใช้ได้ผลก็มีนักวิจัยคนอื่นๆ มาเอาไปศึกษาต่อในหลอดทดลองพบว่ามันช่วยต้านฤทธิ์ไวรัสโคโรนา 2019 โดยคนของเขาไม่มีคำถามที่สงสัย แต่วันนี้คนไทยตั้งคำถามกับ ฟ้าทะลายโจร ว่ามีงานวิจัยหรือเปล่า แค่งานวิจัยในหลอดทดลอง หรือการเคสไม่กี่ราย จะใช้อ้างอิงได้หรือ ฝรั่งไม่มีประสบการณ์ในการใช้ เขายังคิดทำขาย มีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรทั้งรักษาและเสริมภูมิคุ้มกัน มีการกล่าวถึง ประเทศเล็ก ๆ อย่างบ้านเรา ว่ามีการนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ในผู้ป่วยโควิด-19 ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเปลี่ยนความสงสัย เป็นการช่วยกันลงมือทำ การพัฒนาสมุนไพรก็เหมือนการปลูกต้นไม้ เราอยากกินผล แต่ไม่เคยรดน้ำพรวนดินเราจะเอาผลจากไหน” ภญ.ผกากรอง กล่าว
ภญ.ผกากรอง กล่าวด้วยว่า ทุกวันนี้สังคมไทย โดยเฉพาะแวดวงวิชาการ สนใจแต่เพียงว่า งานวิจัยต้องตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งเราก็ไม่ปฏิเสธว่ามันจำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ แต่วันนี้เราต้องกลับมาและมองว่าสิ่งที่เราทำๆ กันนั้น ประชาชนในประเทศได้อะไร ทำไมเราไม่คิดใหม่ ว่าเราจะช่วยประเทศเราคนละไม้ละมืออย่างไร เป็นไปได้หรือไม่ที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้นักวิจัยทำงานกับตลาด เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศชาติ เราต้องเริ่มทำแต่วันนี้ ถ้าไม่เริ่ม คราวหน้ามีโรคใหม่ เราก็ไม่มีอะไรใช้ และจะจบด้วยว่าเรายังไม่มีงานวิจัย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |