1 พ.ค. 64 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง วิกฤตโควิด คนไทย เห็นอะไร กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,045 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.9 ระบุ ภาครัฐยังไม่นำบิ๊กดาต้ามาใช้เป็นประโยชน์ และยังทำงานล่าช้าเป็นไทยแลนด์ 1.0 ไม่ใช่ 4.0 รองลงมาคือ ร้อยละ 77.8 ระบุ ภาครัฐไม่เป็นเอกภาพในการช่วยเหลือประชาชน และร้อยละ 75.7 ระบุ ภาครัฐบริหารจัดการวัคซีนล่าช้า ไม่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.7 ระบุในช่วงวิกฤตb\ิโควิด เห็นฝ่ายการเมือง มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ทะเลาะขัดแย้งบนวิกฤตความตายของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 85.4 ระบุ เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น หวังผลแต่การเมือง และร้อยละ 85.4 ระบุเป็นตัวแพร่เชื้อโควิด ไม่รับผิดชอบต่อสังคม
ที่น่าพิจารณาคือ เห็นอะไรในกลุ่มเจ้าสัว ผู้ประกอบการ ช่วงวิกฤตโควิด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ระบุ นักลงทุน ธุรกิจสีเทา ยังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว เป็นเหตุต้นตอแพร่เชื้อ รองลงมาคือร้อยละ 85.2 ระบุ เจ้าสัว ผูกขาด ยังมุ่งกอบโกย ไร้น้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ และร้อยละ 84.7 ระบุ ยังคงจ่ายส่วยเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนอยากเห็น ช่วงวิกฤตโควิด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.1 อยากเห็น เจ้าสัว เลิกผูกขาด มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ รองลงมาคือร้อยละ 94.8 อยากเห็น นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ลงพื้นที่ทำมากกว่าพูด ร้อยละ 93.7 อยากเห็น ทุกฝ่ายยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง มากกว่า ผลประโยชน์และการเมือง ร้อยละ 93.5 อยากเห็น รัฐ เพิ่มงบทางการแพทย์และเยียวยาประชาชน ร้อยละ 92.8 ระบุ ต้องเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการ ต้นเหตุแพร่ระบาดโควิด ร้อยละ 92.4 ระบุ อยากเห็นภาครัฐร่วมมือทุกภาคส่วน นำเข้าวัคซีนอื่นๆ และคุมเข้มความปลอดภัย ร้อยละ 92.1 อยากเห็นตู้ปันสุข กลับมาทำงาน กระจายช่วยเหลือแบ่งปัน และร้อยละ 91.7 อยากเห็น นักการเมืองเสียสละ เอาเงินเดือนช่วยเยียวยาบุคลากรการแพทย์และสังคม
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่ปรากฏ ยามบ้านเมืองเกิดวิกฤต ประชาชนหวาดกลัวตาย ยังคงพบร่องรอยปรากฏความขัดแย้งในสังคม ความเห็นแก่ตัว การเอาตัวรอด รักตัวกลัวตาย การโทษกันไปมา ความไม่รับผิดชอบตนเองและสังคม น้ำใจที่เริ่มหดหาย ความไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้งต้นตอของการแพร่ระบาดและปัญหาการควบคุมโดยสะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐ ยังไม่มองประชาชนเป็นศูนย์กลาง ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่กับเทคโนโลยีและการบริหารจัดการข้อมูล และยังไม่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกันในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะระบบราชการที่ล่าช้าและไม่เข้มแข็ง
“ที่น่าห่วงคือ ภาคการเมือง สะท้อนถึงความขัดแย้ง บั่นทอนบ่อนแซะกันหวังผลการเมือง เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น หน่วงรั้งฉุดบ้านเมืองยามวิกฤต และไม่เป็นตัวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมในสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะที่ภาคเอกชน ยังคงพบการกอบโกยและผูกขาดธุรกิจบนความเป็นความตายของประชาชน ความเห็นแก่ตัวของธุรกิจสีเทาดำที่มีผู้มีอำนาจ และการคงจ่ายส่วยกับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจ” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ทุกภาคส่วนต้องออกแรงกู้วิกฤตศรัทธาร่วมกัน ทำสิ่งที่ประชาชนอยากเห็น เช่น ประเด็นใหญ่เรื่องการจัดการวัคซีนโควิดที่ต้องการให้ภาครัฐเปิดโอกาสภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่น ๆ ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และประชาชนยังอยากเห็นการกลับมามีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันไม่สร้างปัญหากับผู้อื่นและสังคมส่วนรวม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |