1 พ.ค. 64 - กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “หัวอกแรงงานไทยวันนี้” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 625 คน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 ได้รับผลกระทบต่อการทำงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 52.2 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 23.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 22.0 ไม่มี OT เงินโบนัส ขณะที่ร้อยละ 18.2 ไม่ได้รับผลกระทบ
เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 40.2 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนร้อยละ 15.1 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
ทั้งนี้เมื่อถามว่าจัดการกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 รอเงินช่วยเหลือ เงินเยียวยา จากภาครัฐ รองลงมาร้อยละ 30.7 กู้หนี้ยืมสิน ร้อยละ 27.8 หารายได้ หาอาชีพเสริม และร้อยละ 20.7 นำเงินเก็บมาใช้
ส่วนเมื่อถามว่าคาดหวังอะไร หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย พบว่าแรงงานร้อยละ 30.9 คาดหวังว่าค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นถึง 400 บาท รองลงมาร้อยละ 27.5 คาดหวังว่าจะมีสวัสดิการดีขึ้น และร้อยละ 26.3 คาดหวังว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีงานให้เลือกมากขึ้น
สุดท้ายเมื่อถามว่าตั้งเป้าหมายหรือวางแผนชีวิตไว้อย่างไร ในอนาคต พบว่าแรงงานร้อยละ 25.8 อยากเป็นพนักงานบริษัทมีเงินเดือนมั่นคง รองลงมาร้อยละ 23.0 อยากเป็นเจ้าของกิจการ และร้อยละ20.5 อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิดอยู่กับครอบครัว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |