ศศก.ร่วม สสส. จัดคลับเวทีวิชาการ “กัญชา” ด้วยระบบ ZOOM ส่งคำถามแลกเปลี่ยน ดูเหรียญสองด้าน รู้โทษและประโยชน์ของการใช้ รวมถึงผลกระทบต่อสังคม แนะเฝ้าระวังเข้าวงจรยาเสพติด ควรป้องกันมากกว่าแก้ปัญหาภายหลัง Dr. Jurgen Rehn Ph.D จากประเทศแคนาดา เจาะลึกธุรกิจเป็นเงินหมื่นล้านเป็นภาพรวมทั่วโลก มูลค่ามหาศาลมาก
ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดคลับเวทีสนทนาวิชาการเพื่อสังคมหัวข้อ “กัญชา 360 องศาหมุนรอบตัว ล้อมรั้วให้ปลอดภัย” เมื่อวันอังคารที่ 30 มีนาคม 2564 ที่โรงแรมเดอะสุโกศล มีวิทยากร รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส., Dr. Jurgen Rehn Ph.D จากประเทศแคนาดา, นพ.ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.), รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้จัดการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) โดยมี ประพจน์ ภู่ทองคำ เป็นผู้ดำเนินรายการ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้รับหนังสือสั่งสมองให้เลิกเสพด้วยสติและชีวิตที่มีคุณค่า นพ.วอลเตอร์ ลิง และหนังสือข้อเท็จจริงและตัวเลข : สารเสพติดผิด กม.ในประเทศไทย ปี 2560-2563
รัศมน กัลยาศิริ บรรณาธิการ
รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า เปิดคลับสนทนาเพื่อทำความเข้าใจกับสังคม หลังจากกฎหมายปลดล็อกส่วนของกัญชาและกัญชงออกมา มีผลไม่ใช่ยาเสพติด อาจทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามมาทั้งด้านบวกและด้านลบ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวัง เพราะอาจทำให้เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมองไม่เห็นโทษที่ยังมีอยู่ของสารเสพติด โดยเฉพาะช่อดอกและเมล็ดกัญชา เนื่องจากสมัยที่เราเป็นเด็ก กัญชาเป็นยาเสพติด แต่ยุคนี้เราต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่วนอื่นๆ ของกัญชาทำเป็นอาหารได้ ต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนบริโภค เลือกรับประทานให้ถูกต้องเพื่อรักษาโรค ส่วนที่เป็นยารักษาโรคต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เราต้องเรียนรู้ความรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ขณะเดียวกันต้องเฝ้าระวังให้เกิดความปลอดภัยด้วย
ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตประชาชน เพราะยังมียาเสพติดจำนวนมากที่ถูกลักลอบนำเข้าประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ยาบ้าและไอซ์” จึงมีแนวโน้มที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาของสารเสพติดเป็นปัญหาระดับประเทศ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดำเนินงานทั้งด้านการปราบปราม การป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการป้องกันการเสพติดซ้ำ
การให้ความรู้อย่างถูกต้องผ่าน Social Media ด้วยการสนับสนุนสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีบทเรียนครบถ้วนพัฒนาในรูปแบบสื่อแนวใหม่ ใช้การสื่อสารเป็นพื้นฐานพัฒนาเข้าไปในกลุ่มเด็กปฐมวัย ค่อยๆ ปลูกฝังให้ความรู้ นำ พ.ร.บ.จราจรเกี่ยวกับการขับขี่เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้อย่างไร เมื่อผู้ขับขี่เสพกัญชาด้วย รวมถึงการมีบทลงโทษอย่างจริงจัง
Dr. Jurgen Rehn Ph.D จากประเทศแคนาดา กล่าวว่า ธุรกิจเป็นเงินหมื่นล้านเป็นภาพรวมทั่วโลก ต้องค้นคว้าจะเกิดเป็นเงินมูลค่ามหาศาลมาก แต่ปัจจุบันประเมินรายได้ 14% ต่อปี หลายประเทศเชื่อว่าจะได้ส่วนแบ่งด้านการตลาดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตลาดกัญชาวางแผนงบประมาณหลากหลายรูปแบบ ประเทศโซนอบอุ่นคิดว่าเป็นโอกาสทางการตลาด การอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาอย่างถูก กม. มีบริษัทร่วมทุนระดับประเทศควบคุมทางการตลาด ประเทศเลบานอนเป็นประเทศเล็กมาก อยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียน สร้างรายได้ 1.2 พันล้าน/ปี เป็นประเทศอาหรับประเทศแรกที่อนุญาตให้ใช้กัญชาถูก กม.
ด้วยประสบการณ์ของประเทศแคนาดา เป็นประเทศแรกที่ออก กม.ใช้กัญชาในทางการแพทย์เมื่อปี 2001 รัฐบาลต่อยอดข้อกำหนดต่างๆ กลุ่มที่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชาทางการแพทย์ไม่เกิน 100 เคส ภายใต้ กม.พื้นฐานที่มีความเสี่ยงสูงเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ผู้หญิงจะมีความเจ็บป่วยทางจิตใจรุนแรงมากกว่าเพศชาย ส่วนผู้ชายมีสุขภาพปานกลางถึงน้อยค่อนข้างสูงกว่าหญิง
แต่ละมลรัฐมีทางปฏิบัติต่างกันเป็นหัวข้อหลักในการ Vote แต่ละมลรัฐ อนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มีการขับเคลื่อนทาง กม.ด้วยนโยบายที่แตกต่างกัน เมื่อมีการใช้ทางการแพทย์เพียงพอแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย มีการใช้เอกสารอย่างชัดเจน ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อถกเถียงมากมาย “ผมมีส่วนในการให้ทุกคน share you tube content สถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ วัตถุประสงค์ที่นำมาใช้ในการผลิต บทบาทของแพทย์ยังไม่ชัดเจน แพทย์ในประเทศแคนาดาสั่งกัญชาเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ แต่คนไข้ต้องได้รับการประเมินเมื่อมีการใช้กัญชาได้ประโยชน์จากกัญชา มีฝ่ายขายกัญชาเป็นจำนวนมากมาย ต้องเป็นไปตามที่ กม.กำหนด
อันตรายจากการใช้กัญชาเป็นส่วนผสม จำเป็นต้องมีจิตแพทย์จิตเวชให้การดูแลอย่างใกล้ชิด โอกาสการเสียชีวิตของผู้คนที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ความเสี่ยงหญิงและชายขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงอายุ ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย ในประเทศแคนาดามีร้านจำหน่ายกัญชาเฉพาะในตลาดที่ถูกต้องตาม กม.อยู่ภายในข้อกำหนดแต่ละแห่ง ใครที่มีใบอนุญาตการให้ข้อมูลปริมาตร THC ในกัญชา เพื่อความปลอดภัย ไม่อยู่ในปริมาณมากจนเกิดอาการเมามายได้
ในช่วงที่ กม.บังคับใช้ในปีแรก ปี 2019 คนในแคนาดา 5 ล้านคนใช้กัญชา 16.8% จากประชากรอายุมากกว่า 15 ปี เมื่อเปรียบเทียบปี 2018 จำนวน 14.9% จากประชากรอายุมากกว่า 15 ปี เป็นข้อมูลถูกรายงาน ถือว่าสูงมากของการใช้เมื่อเปรียบเทียบภายใน 1 ปี คือเพิ่มขึ้น 6% ชาวแคนาดาอายุมากกว่า 15 ปี ใช้กัญชาในชีวิตประจำวันค่อนข้างมากในระดับสูงไม่แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปทั้งหญิงและชายอายุ 18-44 ปี มีการใช้กัญชาเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ใช้กัญชา คนใช้กัญชาบางคนเสพกัญชาขณะขับรถเป็นเวลานาน 2 ชั่วโมง
กรณีศึกษา 8 คนที่เสพกัญชาในขณะขับรถ มีอันตรายและเสี่ยงสูง สัมพันธ์กับการรู้คิด กระทบต่อสมองในผู้ใหญ่ จึงไม่อนุญาตให้ใช้กัญชาในคนที่มีอายุยังน้อย ยกเว้นเป็นการรักษาทางจิตเวช จากสถิติ วัย 20-24 ปี เป็นอายุที่มีการใช้กัญชามากที่สุด เป็นการเก็บข้อมูลในรอบ 12 เดือน มีแนวโน้มว่าผู้หญิงจะใช้กัญชามากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มด้วยว่าเมื่ออายุมากขึ้นจะใช้กัญชาอย่างสม่ำเสมอ บางกลุ่มก็ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง แต่ก็ยังมีบางกลุ่มไม่เคยใช้กัญชา มีมากกว่า 10% ที่ใช้กัญชา
แคนาดา สหรัฐ มีการใช้กัญชาแพร่หลายมาก สำหรับเมืองไทยมีวัฒนธรรมในการใช้กัญชาช่วง 5-10 ปีน้อยมาก เนื่องจากมีความเข้มงวดในการใช้รักษาทางการแพทย์ ต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการให้ถูก กม. ต่อไปพฤติกรรมในการใช้กัญชาของคนไทยก็มีแนวโน้มที่จะติดเหมือนกับคนในประเทศอื่นๆ การใช้กัญชาในความหมายอิสระ ความสุข สบาย ความเจ๋ง คำถามที่ตามมาคือ วันใดวันหนึ่งกัญชาจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตปกติของเราหรือไม่ เราจำเป็นต้องควบคุมสารมึนเมา มีใบอนุญาตถูก กม. ยอดอ่อนไม่อนุญาตให้มีการเสพ เราพึงระวังความเสี่ยงในทุกมิติ ความเสี่ยงที่เกิดจากความเข้มข้น หากมีการเสพใบกัญชาก็ต้องมีข้อกำหนดในการขับขี่รถ มีการเสียชีวิตเมื่อเสพกัญชามากไปในการขับรถ ควรบริหารจัดการดูแลผู้เสพอย่างเหมาะสมขณะขับขี่หรือโดยสาร
ในประเทศเยอรมนีทำธุรกิจอย่างไรให้กัญชามีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้คนทั่วโลกใช้กัญชา 1 ครั้ง/1 สัปดาห์ กม.ออกมาขึ้นอยู่กับงบประมาณและการจัดการอย่างเหมาะสม การแพร่หลายกัญชาในสังคม ทางการแพทย์ต้องมีกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ การแพทย์ควรได้รับการพิจารณาให้มีความสมดุลกับวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ ควบคุมกฎเกณฑ์ให้อยู่ในกรอบ ไม่เหมาะสมใช้กัญชาเพื่อลดความซึมเศร้า
ยาบ้ามีตลาดหลักอยู่ในประเทศไทย บังกลาเทศ
ยาไอซ์ส่งออกไปยังภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประเทศไทยเป็นเส้นทางลำเลียงผ่าน
หนังสือข้อเท็จจริงและตัวเลข: สารเสพติดผิด กม.ในประเทศไทยปี 2560-2563 ดนัย อินทรกำแหง เก็บข้อมูลสารเสพติดในประเทศไทย ในสถานการณ์โลก สารเสพติดสังเคราะห์มีส่วนผสมของแอมเฟตามีนใช้มากเป็นอันดับ 3 ของสารเสพติดผิด กม.ทั่วโลก ยาบ้า ยาไอซ์ MDMA เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งผลิตจากแหล่งผลิตสามเหลี่ยมทองคำ ยาบ้ามีตลาดหลักอยู่ในประเทศไทย บังกลาเทศ ยาไอซ์ส่งออกไปยังภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยประเทศไทยเป็นเส้นทางลำเลียงผ่าน ยาอีติดต่อซื้อขายผ่านทางเว็บไซด์ที่ผิด กม. หรือสื่อสังคมออนไลน์ ถูกจัดส่งทางไปรษณีย์มาจากทวีปยุโรป
ยาบ้ามีสัดส่วนการแพร่ระบาดอยู่ที่ร้อยละ 75 รองลงมาคือไอซ์ร้อยละ 7 กัญชาร้อยละ 5 สารเสพติดที่ต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาด เฮโรอีน เคตามีน พบการแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนเพิ่มสูงขึ้น การจับกุมยาบ้าในภูมิภาคเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 15 เท่า จากปี 2562-2560 ประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า การจับกุมยาไอซ์ในภูมิภาคเพิ่มขึ้น 5 เท่า แต่ในเมืองไทยพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 112 เท่า
การจับกุมและดำเนินคดีสารเสพติดผิด กม.มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ใน 10 ปีที่ผ่านมา สารเสพติดขึ้นสู่ศาลมากที่สุดเมทแอมเฟตามีน ร้อยละ 78 พืชกระท่อมร้อยละ 16 กัญชาร้อยละ 5 จ.ที่มีข้อหาเมทแอมเฟตามีนมากที่สุด กรุงเทพฯ นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี นครราชสีมา สงขลา ร้อยละ 40 มีฐานความผิดในฐานะผู้เสพร้อยละ 27 มีฐานความผิดในฐานะผู้ครอบครอง ร้อยละ 24 มีฐานความผิดในฐานะผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย
หนังสือ “สั่งสมองให้เลิกเสพ ด้วยสติและชีวิตที่มีคุณค่า” นพ.วอลเตอร์ ลิง นำเสนอข้อมูลว่ากว่า สองพันปีมาแล้ว แพทย์และนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ กาเลน สังเกตว่าคนที่ป่วยด้วยโรคทางสมองมีพฤติกรรมแตกต่างจากคนที่ป่วยด้วยโรคทางกายอื่นๆ โรคที่ส่งผลกระทบต่อสมองนั้นไม่เพียงแค่ร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดที่ทำงานผิดปกติไป แต่ตัวตนทั้งคนจะได้รับผลกระทบไปด้วย โรคที่มีผลต่ออวัยวะอื่นๆ แม้จะป่วยมากเพียงใดแต่ตัวตนของเรายังเป็นตัวเราคนเดิม ในขณะที่โรคทางสมองมีผลต่อตัวคน ทั้งความเป็นคน บุคลิกภาพ และความเป็นตัวตน คุณจะไม่ใช่คนที่คุณเคยเป็นอีกต่อไป ไม่ใช่คนที่คนในครอบครัวและเพื่อนฝูงเคยรู้จักมาก่อน แม้แต่ตัวผู้เสพเองก็ยังไม่รู้จักตัวเองแต่อย่างใด
ยาเสพติดทำลายสมอง ทำให้ผู้เสพไม่สามารถหยุดเสพได้ด้วยตัวเอง ทั้งๆ ที่อยากจะเลิกการเสพติดเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่ง ทุกวันนี้การบำบัดรักษามุ่งเน้นว่าการเสพติดเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ดี หาเรื่องใส่ตัว แม้แต่นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าการเสพติดเป็นโรคทางสมอง สังคมและบุคลากรทางการแพทย์บำบัดรักษาผู้เสพติดเสมือนกับว่าเป็นคนกระทำความผิด
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ขอให้สังคมของเรา "เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด"
Dr.Ling เป็นผู้ที่ชักนำข้าพเจ้าให้มาทำงานแก้ไขปัญหายาเสพติด เมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว ยาบ้า หรือ methamphetamine กำลังระบาดมากในเมืองไทย ถึงขั้นวิกฤติ เพราะผู้เสพเป็นจำนวนมากมีอาการ psychotic คลุ้มคลั่งถึงกับทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ชีวิต Dr. Ling เป็น ผอ.ศูนย์ต่อต้านสิ่งเสพติดที่มหาวิทยาลัย UCLA ซึ่งข้าพเจ้าเรียนจบปริญญาโททาง Public Health จึงสนใจว่าทำไมผู้เสพ methamphetamine ในประเทศไทยจึงมีอาการรุนแรงและร้ายแรงมากกว่าผู้เสพในประเทศอื่นๆ
การแก้ไขรักษาผู้ติดยาจะต้องเป็นการรักษาโรคทางสมองและทางจิต ซึ่งเป็นการรักษาที่ซับซ้อน ทั้งทางด้านชีวภาพ พฤติกรรมบำบัด รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสังคม
นพ.ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)
“ผลวิจัยทางการแพทย์ การสูบกัญชาเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยไม่ใช่ป้องกันมะเร็ง”
จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ามารับการบำบัดจากกัญชาพบมากที่สุด และมีอาการทางจิตรุนแรงพอสมควร เพราะผู้ที่สูบกัญชากว่าจะแสดงอาการรุนแรงใช้ระยะเวลานานกว่ายาบ้าหรือไอซ์ จึงเข้าสู่กระบวนการบำบัดช้ากว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะเป็นอาการหลอน หลงผิด และหวาดระแวงกลัวผู้อื่นทำร้าย
“สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการอนุญาตเสพกัญชาเพื่อสันทนาการ แต่กลับพบว่ากัญชาหาซื้อได้ตามแหล่งโซเชียลและแหล่งที่ผู้เสพรู้เองว่าจะหาได้อย่างไร แม้รัฐบาลจะเร่งจับกุมก็ตาม ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้คนหันมาติดยาเสพติดได้ยาก คือ การสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ครอบครัวและสถานศึกษา หากมีความเข้มแข็งจะเข้าสู่วงจรนี้ได้ยาก ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจว่า กฎหมายอนุญาตให้นำบางส่วนของกัญชามาใช้เพื่อทางการแพทย์เท่านั้น คนที่ฟังข่าวอาจจะเข้าข้างตัวเองว่าสามารถสูบได้เพื่อสันทนาการ” นพ.ล่ำซำกล่าว
ปี 2562 คนไทยใช้กระท่อมแต่จับกลุ่มน้อยกว่าการใช้ยาบ้า ส่วนกัญชาในปี 2562 กราฟการใช้กัญชาขึ้นมาเป็นอันดับ 1 คือ 100 คนใช้กัญชา 1.3 เป็นการเสพใน 1 ปี ในชีวิตจริง การที่พ่อแม่เห็นลูกสูบกัญชาก็มีความเป็นห่วง ลูกก็ย้อนบอกว่าพ่อแม่เชย ด้วยเหตุผลว่าผมสูบกัญชาเป็นการป้องกันมะเร็งได้ “ผมขอเปิดผลวิจัยทางการแพทย์ การสูบกัญชาเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยไม่ใช่ป้องกันมะเร็ง คำถามว่าถ้าไม่สูบไอระเหยหยอดน้ำมันกัญชาคงจะไม่เป็นไรใช่ไหม ในชีวิตจริงผมเจอคำถามแบบนั้นจากเยาวชนจริงๆ กัญชาทางการแพทย์หยดออกมาเป็นยาเสพติด มีเคสลูกชายขโมยกัญชาของแม่ไปสูบ แม่สงสัยว่าลูกชายจะแอบเอาน้ำมันกัญชาไปสูบกับบุหรี่แทน เพราะแม่รู้สึกว่ากัญชาหมดเร็วขึ้น”
ทุกวันนี้น้ำมันกัญชาหาซื้อได้ทางเน็ต สถิติ 90:1000 คนเคยเสพกัญชามาก่อน ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองหลวงมากที่สุด การที่คนเคยทดลองไม่ได้แปลว่าจะติดกัญชา มีผู้เข้ารับการรักษา 2 แสนราย เป็นอาการขึ้นๆ ลงๆ ตามสถานการณ์ ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา 5 อันดับแรก ยาบ้า ยาไอซ์ ยาเสพติดรุนแรงก่อปัญหาอาชญากรรม กัญชา กระท่อม เฮโรอีน การบำบัดรักษามีทั้งสมัครใจ และบังคับบำบัด เพราะถูกจับกุม เจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติส่งเข้ามาบำบัด บางคนเป็นนักโทษอยู่ในเรือนจำ
เยาวชนจะต้องเติบโต สมองก็ต้องมีการพัฒนา ส่งผลต่อการตัดสินใจ ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 25 ปีไม่ควรทดลองสูบกัญชา เพราะสมองต้องเจริญเติบโตเต็มที่ โอกาสที่เด็กจะติดกัญชาได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลต่อความจำสมาธิอันตรายจากสารเสพติดมีมากมาย การกะระยะเสียไป การขับรถมีปัญหาได้ มีอาการหวาดระแวงสูง ครึกครื้นเป็นสุข เสพแล้วเมาหัวเราะทั้งวัน ระยะยาวมีสารตกค้าง มีอาการจิตหลอน ก่อความรุนแรง ฆ่า เผาบ้าน ปีที่แล้วมีข่าวคนเมากัญชาอาละวาดกับเพื่อนเกิดอุบัติเหตุ มีการสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจากเวชระเบียนกว่า 1,000 รายมาบำบัด มีอาการมากน้อยแค่ไหน ผู้ป่วยไม่ใช่คนเสพทั่วไป เสพหนักจนติด ญาติพามาเพื่อบำบัด มีโรคทางจิตเวช 73% เราพบว่ามีหอผู้ป่วยวิกฤติจิตเวชยาเสพติด จัดห้องแยกให้อยู่ คนไข้กัญชาอยู่หอผู้ป่วย 15% ปี 64 พบผู้ป่วยกัญชา 28% ก่อนหน้านั้นพบ 90% เป็นยาบ้า เกิดอาการหลอน หูแว่ว มีเสียงข่มขู่ Illusion มีอาการซึมเศร้า บางคนไม่สนใจ ไม่อยากจะทำอะไร ไม่มีแรงจะทำอะไร ผู้ป่วยมีโรคทางจิตเภท
โอกาสที่เกิดความเสี่ยงจากการใช้กัญชา ก่อนใช้ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ 1.อายุยิ่งน้อยการใช้กัญชาถ้าอายุต่ำกว่า 18 ปี อันตรายมาก 2.กัญชาสังเคราะห์มีคนเสียชีวิตแล้ว ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรใช้กัญชาจากธรรมชาติ 3.สูบกัญชาเผาไหม้ควันเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ ปอด ถ้าสูบไอระเหยจากไอน้ำ 4.อย่าอัดลึกและอั้นลมหายใจ จะมีอันตรายมากกว่า 5.กัญชามีความเข้มข้นสูงมีความเสี่ยงสูง ขับขี่ภายใน 6 ชม. โอกาสเสี่ยงสูงเพราะยังมีกัญชาอยู่ในเส้นเลือด ยิ่งถ้าดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่เกิดอันตรายในการขับรถได้ แม้จะมีสติแต่การควบคุมหย่อนสมรรถนะลง เกิดการง่วงเหงาหาวนอนและซึมได้ สมรรถนะไม่ปกติ 6.ครอบครัวมีกรรมพันธุ์ ติดยาเสพติดให้ระวัง
รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้จัดการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.)
ถ้าใช้ยาน้ำมันกัญชาเยอะเกินขนาด ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหัวใจวาย หมดสติ มึนงง
ประเทศอุรุกวัยเป็นประเทศแรกที่ปลดล็อกกัญชา แต่ละประเทศมีการปลดล็อกด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งต้องการให้ผู้ติดกัญชาได้รับการดูแล ไม่ใช้บทลงโทษทางอาญา หลายประเทศผลักดันให้ใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ แคนาดา สหรัฐ แคลิฟอร์เนีย แต่ก็ต้องสังเกตเด็กด้วย เพราะเด็กชอบที่มีการปลดล็อกได้ทดลองก็จะมีโอกาสติดกัญชาได้เมื่อเติบโตขึ้น บางประเทศปล่อยให้มีการค้ากัญชาอย่างเสรี
ขณะนี้ กระแสการบริโภคกัญชาและนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารเริ่มมีมากขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นจึงอยากทำความเข้าใจว่า การนำกัญชามาเป็นส่วนผสมปรุงในอาหารจะออกฤทธิ์ช้ากว่าการสูบ เนื่องจากปริมาณที่ให้อนุญาตมีส่วนสารมึนเมาน้อย กว่าจะออกฤทธิ์ใช้เวลานาน ทำให้ผู้ที่บริโภคในครั้งแรกบางครั้งไม่ได้รู้สึกถึงความเคลิบเคลิ้ม หรือความสุขอย่างที่คิด จึงบริโภคซ้ำไปอีกต่อเนื่อง เมื่อสะสมเรื่อยๆ จะกลายเป็นรับประทานในปริมาณมากเกินไป ดังนั้นก่อนที่จะรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ควรต้องรู้ว่าร้านดังกล่าวได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่ นำกัญชามาจากที่ใด เพราะแต่ละสายพันธุ์มีสารเมาไม่เท่ากัน รวมถึงกระบวนการปรุงอาหารแต่ละอย่างอาจทำให้สารเมาออกมาไม่เท่ากัน
รศ.พญ.รัศมนกล่าวว่า สิ่งที่ต้องระวังคือ กลุ่มเปราะบาง เช่น เยาวชนและผู้ที่มีโรคประจำตัว หากต้องการใช้ควรปรึกษาแพทย์ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ส่วนการสูบกัญชาแน่นอนว่ากฏหมายยังไม่ได้อนุญาต แต่ต้องยอมรับว่ามีการสูบมานานแบบผิดกฎหมาย ซึ่งการสูบออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่หากสูบผิดวิธีอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้
ทางด้านการแพทย์ในต่างประเทศบางแห่งอนุญาตให้ใช้กัญชาได้อย่างเสรี มีข้อกำหนดให้ซื้อจากสถานที่เฉพาะ กำหนดอายุผู้ซื้ออย่างชัดเจน ในประเทศแคนาดามีผู้ใช้กัญชาสูงอยู่แล้ว อุบัติเหตุทางถนนจากการใช้กัญชามีอยู่สูง แต่ในบริบทของเมืองไทยแตกต่างกัน ไม่ได้ใช้กัญชามากเท่ากับประเทศแคนาดา ถ้าเราอนุญาตให้ใช้กัญชามากขึ้นก็ต้องระวังสถิติผู้ใช้จะสูงขึ้นเหมือนแคนาดา ความสุขในการกินดื่มกัญชาให้ผลที่แตกต่างกัน กระแสกัญชา cannabis มีสาร THC (สารเมา) สูงก่อให้มึนเมา ต่างจากกันชงมีสาร THC น้อย ถ้ามีสารเมาน้อยนำมาใช้ได้ในเครื่องดื่ม อาหาร เด็กเยาวชนชอบทดลองเพราะเห็นเป็นของใหม่ ของแปลก ต้องระมัดระวังด้วย มีการนำส่วนที่มีสารมึนเมา ความเข้มข้นน้อยมาใช้รักษาโรค
ร้านค้าที่นำสารมึนเมา ความเข้มข้นน้อยมาผสมอาหาร เครื่องดื่ม จะบอกกับลูกค้าว่าบริโภคแล้วไม่เมา เพียงแต่ง่วงนอน มีกรรมวิธีผ่านไอระเหยทำให้สารเมาหายไป ร้านค้าบอกว่าจะไม่ขายให้กับเด็ก แต่ถ้าเด็กตื๊อว่าเคยรับประทานแล้วก็พร้อมที่จะขายให้ นำไปเก็บไว้ในตู้เย็นไปผสมได้ พร้อมยังบอกด้วยว่ากรรมวิธีผ่านความร้อนทำให้สารเมาหายไป แต่ก็มีกระบวนการกรรมวิธีให้สารเมาออกมาเยอะขึ้น กรดที่ไม่เมาเปลี่ยนไปเป็นสารเมาได้ ต้องมีความระมัดระวังด้วย เพราะเด็กเล็กดื่มโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะเห็นเป็นน้ำหวานมีสีสันน่ารับประทาน เท่ากับเด็กได้กัญชาโดยไม่ได้ตั้งใจ บางคนนำไปใส่ไมโครเวฟเพื่อให้สารเมาออกไป
การเมาน้อยเมามากอย่างที่เรียกว่าเคลิ้มสุข ง่วงนิดหนึ่งแล้วอยากจะนอน ให้สารทำให้เกิดอาการ talkative รับสารในอาหาร เครื่องดื่ม เราได้รับผลทางจิตประสาทจากสารเหล่านี้ทำให้การตัดสินใจไม่ไตร่ตรอง ถ้าไม่เคยทดลองมาก่อนและเป็นคน sensitive โดยเฉพาะเด็กๆ ควรหลีกเลี่ยง แต่คนใช้เป็นประเภทฮาร์ดคอร์ มีฤทธิ์ดื้อยา ใช้แล้วแทบไม่รู้สึก ความเข้มข้นน้อย บางคนใจร้อนหยดน้ำมันกัญชาแล้วยังไม่ออกฤทธิ์ ต้องรอ 30นาที ระหว่างรอก็หยดยาซ้ำไปเรื่อยๆ ถ้าใช้ยาเยอะเกินขนาด จะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหัวใจวาย หมดสติ มึนงง
คุกกี้บราวนี่ที่ผสมกัญชาจำหน่ายที่แคลิฟอร์เนีย ใช้สาร THC ค่อนข้างสูง เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีต้องระมัดระวัง มีเด็กหลายพันคนประสบปัญหาของฤทธิ์ยา บางคนได้สารพิษจาก Second hand Smoke โดยไม่ได้ตั้งใจ อาการที่พบในเด็กเนือยๆ อ่อนแรงมาก บางคนเดินเซ ใจสั่น ม่านตาขยาย ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในประเทศแคนาดาไม่จำเป็นต้องปลูกกัญชา เพราะสังเคราะห์ในห้องแล็บทดลอง เกิดฤทธิ์ในวอร์ดคนไข้มีอาการทางจิตเวชรุนแรงจากกัญชา ถ้าเกิดจากสารสังเคราะห์จะรุนแรงมากกว่าใช้สารใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์กัญชามีสาร THC เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า มุ่งเน้นให้เกิดความเคลิบเคลิ้ม ปี 1995 เพิ่มขึ้น 4% ซึ่งสูงมาก ปี 2014 เพิ่มขึ้นเป็น 12% ผู้ขายประสงค์ให้เคลิบเคลิ้มมากขึ้น มีความสนุกสนาน ชาวต่างชาติมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับผู้บริโภคคนไทย
เมื่อ 5 ปีก่อนมีเคสอาเจียน กัญชาช่วยลดอาการคลื่นไส้จากเคมีบำบัดได้ แต่พบว่ากลับมีอาการอาเจียนมากยิ่งขึ้นไปอีก ผู้บริโภคต้องรู้ให้เท่าทันผู้ผลิตด้วย เท่าที่สำรวจความคิดเห็นคนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการนำกัญชามาใช้เพื่อรักษาโรค แต่ไม่เห็นด้วยนำกัญชามาใช้เพื่อสันทนาการ ด้วยมีความกังวลในการควบคุม เท่าที่พบเด็กอายุน้อยที่สุด 9 ขวบใช้กัญชา เด็กในแคลิฟอร์เนียใช้กัญชาโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะหยิบยาผิดมาใช้
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.):ภาพ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |