จากการเสียชีวิตของนายอาคม ปรีดากุล หรือ 'ค่อม ชวนชื่น' ศิลปินตลกระดับตำนานของประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นบุคคลสาธารณะคนแรกของประเทศไทย ที่ต้องพ่ายแพ้ให้กับเชื้อโรคร้ายโควิด-19
แน่นอนกรณีของ 'น้าค่อม ชวนชื่น' จะเป็นบทเรียนที่สำคัญ ที่จะทำให้ทุกคนตระหนักรู้ และระมัดระวังตัวเองมากขึ้น เพราะถึงแม้ว่า เชื้อโควิด-19 จะไม่นับเป็นเชื้อโรคที่มีความรุนแรงที่สุด แต่เพราะมันเป็น เชื้อที่ติดง่าย และในบางคนที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ ก็ไม่อาจจะรับมือกับมันได้
ก่อนอื่นต้องทราบลักษณะอาการของโรคโควิด-19 กันก่อน
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เชื้อโควิด-19 จะส่งผลต่อผู้คนป่วยในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล
อาการทั่วไปมีดังนี้
มีไข้
ไอแห้ง
อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
ปวดเมื่อยเนื้อตัว
เจ็บคอ
ท้องเสีย
ตาแดง
ปวดศีรษะ
สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการรุนแรงมีดังนี้
หายใจลำบากหรือหายใจถี่
เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ
ในกรณีที่ได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
อันดับแรกเมื่อทรายว่า คุณกลายเป็นผู้ป่วยโควิด-19 สถานะของคุณ จะกลายเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน และ "มีเจ้าหน้าที่ขับรถมารับผู้ป่วยที่บ้านเพื่อนำผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล" โดยโรงพยาบาลที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะมีทั้งโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน หากเลือกเข้ารักษากับโรงพยาบาลรัฐ จะถูกส่งตัวไปรักษาตามที่ทางรัฐกำหนดให้
โดยการเลือกเข้ารักษาในโรงพยาบาลนั้น "ควรเลือกโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิการรักษาของตนเองก่อน หากพบว่ากรณีที่เตียงไม่พอ สายด่วน 1330 โดย สปสช.ช่วยทำหน้าที่ประสานจัดหาเตียงรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ร่วมกับกรมการแพทย์ และ สพฉ. ร่วมจัดหาเตียง สายด่วนกรมการแพทย์ 1668 กรณีโรงพยาบาลตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 แล้วไม่มีเตียงรองรับ พร้อมรถ สพฉ.ช่วยรับส่งผู้ติดเชื้อ หรือถ้าติดต่อไม่ได้ ยังมีสายด่วน 191 ของตำรวจที่จะเป็นอีกช่องทางในการประสายเพื่อรับส่งตัว
แนวทางการรักษา
ในการเข้ารับการรักษาของโรงพยาบาล ทางศบค. ได้จำแนกกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
สีเขียว กลุ่มไม่มีอาการ หรือ มีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ น้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น
สีเหลือง ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว หรือ เป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง / มีโรคร่วมที่สำคัญ คือ 1. อายุมากกว่า 60 ปี 2. เป็นโรคปอด 3. โรคไตเรื้อรัง 4. โรคหัวใจและหลอดเลือด 5. โรคหลอดเลือดในสมอง 6. เบาหวานคุมไม่ได้ 7. อ้วน (น้ำหนักเกิน 90 KG) 8. ตับแข็ง 9. ภูมิคุ้มกัน
สีแดง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก X-ray พบปอดอักเสยรุนแรง มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือด น้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลง มากกว่า 3% หลังออกแรง (Exercise-induced Hypoxemia)
ทั้งนี้เมื่อรู้ว่าป่วยในระดับใด แพทย์ก็จะส่ผู้ป่วยไปพักในห้องแยกโรคเดี่ยวหรือห้องเฉพาะผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด-19 พร้อมประเมินอาการ และรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดทั่วไป
จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการรักษา
1.ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านไวรัสในปริมาณที่เหมาะสมกับของแต่ละคน
2.ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น จะถูกย้ายไปที่ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ (AIIR) และมีแพทย์คอยดูแล เฝ้าระวัง ติดตามอาการ และรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น
3.หากผู้ป่วยอาการดีขึ้น จะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้งหลังเข้ารับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น หากผลตรวจออกมาเป็นลบ (ไม่พบเชื้อไวรัสโควิด-19) และตรวจเพื่อยืนยันผลเป็นครั้งที่ 2 (ระยะห่างจากการตรวจแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง) ก็สามารถออกจากโรงพยาบาล
ขั้นตอนการรักษาโรคโควิด-19
ตามปกติจะเป็นการรักษาตามอาการที่เป็น แต่ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยมีอาการหนัก และมีปริมาณไวรัสจำนวนมาก แพทย์ก็จะใช้ยา Favilavir ในการรักษา COVID-19 เพื่อลดปริมาณไวรัส นอกจากนี้มีรายงานการใช้ยาหลายขนาน เช่น ยาต้านไวรัสเอดส์ (lopinavir ร่วมกับ Ritonavir) ใช้ร่วมกับยาต้านไข้หวัดใหญ่, ยาต้านไข้มาลาเรีย (คลอโรควิน), สำหรับยา Remdesivir ซึ่งทั้งหมดต้องอยู่บนพื้นฐานของการวินิจฉัยของแพทย์
ความเสี่ยงและการเสียชีวิต
จากข้อมูลการศึกษาพบว่า กว่า 80% ของผู้ป่วยโควิดจะหายเอง โดยภูมิป้องกันจะเป็นคนกำจัดเชื้อให้ จะมีเพียง 20% ที่มีอาการหนัก และในจำนวนดังกล่าว มีราวๆ 5% ที่อาจจะเสียชีวิต ในกรณีของผู้เสียชีวิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับ ระบบเลือดและทางเดินหายใจ แต่ที่พบในกลุ่มอายุน้อย สาเหตุจะมาจากโรคอ้วน หรือ การไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที
อย่างกรณีของ 'น้าค่อม' แม้จะเข้ารับการรักษาทันทีตั้งแต่ยังไม่มีอาการ แต่เนื่องจาก น้าค่อมเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุเกิน 60 ปี และยังมีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ความดัน และเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งทุกโรคเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ การติดเชื้อโควิดมีความรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้จากการให้สัมภาษณ์ของ นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์และกรมควบคุมโรค ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เชื้อโควิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะต้องจับตาดูในระยะ 7 วัน ถ้า 7 วันทุกอย่างดีขึ้น เชื้อโรคจะหายไปเอง แต่หากผ่านหลัง 7 วันอาการทรุดนั้นก็คือ แสดงว่า ร่างกายไม่สามารถรับมือกับเชื้อโรคได้
อีกปัจจัย คือ อายุ และโรคประจำตัว จากสถิติที่มีผู้เสียชีวิตจาก COVID 19 พบว่า หลายคนมักจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเสียชีวิตจากโควิด 19 มีมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิต, ไขมันในเลือด รวมถึงคนอ้วนที่มีน้ำหนักมากล้วนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น
อย่างอาการน้าค่อมนั้น สาเหตุที่ทรุดส่วนหนึ่งน่าจะมาจากโรคประจำตัว และเชื้อโควิดได้ลงปอด ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายตามหลัง จากนั้นอาการก็แย่ลงเรื่อย ๆ อวัยวะหลายอย่างเริ่มไม่ทำงาน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
โรคนี้ต้องระวังเชื้อลงปอด
อาการโควิด 19 ในระยะที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเฝ้าระวังเชื้อลงปอด เพราะเมื่อลงปอดแล้วไปทำลายการทำงานของปอดโดยรวม ซึ่งสิ่งที่อาจจะช่วยได้เบื้องต้น สำหรับคนที่ติดเชื้อแล้ว การฆ่าเชื้อด้วยตัวเองที่ช่องปากและลำคอง่ายๆ ก็เป็นเรื่องที่สมควรกระทำมีการแนะนำให้มีการกลั้วคอ ด้วย โพวิโดน ไอโอดีน ซึ่งมีส่วนช่วยลดจำนวนเชื้อในลำคอ และช่องปากได้ แต่ไม่ได้เป็นการรักษา แต่ก็เป็นการป้องกัน
ถึงมือหมอเร็ว
การเข้ารับการรักษาที่รวดเร็วโดยทีมแพทย์จะมีส่วนช่วยในการลดอาการลงได้ หากคนป่วยไม่มีภาวะความเสี่ยงทางด้านอื่นๆ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |