'วิโรจน์’กระตุกรัฐบาลอย่าให้'4รอคอย'ของผู้ติดเชื้อโควิดกลายเป็น‘รอความตาย’


เพิ่มเพื่อน    


30 เม.ย.64 - นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีการแถลงของ ศบค. แถลงเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 ที่ระบุว่า พบข้อมูลระยะเวลาวันที่ทราบผลติดเชื้อจนถึงเสียชีวิตค่าเฉลี่ย 3 วัน ”จึงอาจทำให้ตีความได้ว่า การระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบนี้ รุนแรงมาก เพราะติดเชื้อเพียงแค่ 3 วัน ก็เสียชีวิตแล้ว จากข่าวบางรายเสียชีวิตในวันที่ทราบผลตรวจ บางรายเสียชีวิตก่อนที่ผลตรวจจะออกก็มี

อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ ชี้ว่า ระยะเวลา 3 วัน ดังกล่าวเริ่มนับจาก ‘วันที่ทราบผลติดเชื้อ’ จึงมีสมมติฐานที่สามารถคิดได้อีกมิติหนึ่งคือ การเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ อาจจะเกิดขึ้นจาก ‘การรอคอย’ ก็ได้ ซึ่งการรอคอย อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการ 4 รอ ได้แก่  

หนึ่ง รอคิวตรวจ ซึ่งมีรายงานข่าวปรากฏว่ามีผู้ติดเชื้อที่ต้องรอคิวตรวจจนต้องเสียชีวิตหรือกว่าจะมาพบแพทย์ ผู้ติดเชื้ออาจจะมีอาการหนักแล้ว

สอง รอผลตรวจ เนื่องจากมีการตรวจ RT-PCR เป็นจำนวนมาก ทำให้กว่าจะออกผลตรวจได้ อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ

สาม รอเตียง ทั้งที่ทราบผลตรวจแล้วแต่ยังต้องรอเตียงว่าง ระหว่างที่รอจากเดิมที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ก็อาจลุกลามจนเชื้อไวรัสลงปอด และมีอาการหนักขึ้น

สี่ รอยา ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุหรือมีน้ำหนักตัวมาก หรือมีโรคประจำตัว ระหว่างรอเตียงหรือได้เตียงแล้ว ระหว่างที่ยังไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย หากได้รับยาก Favipiravir เร็วภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์ ก็จะสามารถสกัดการรุกลามได้ แต่หากกระบวนการจ่ายยาช้า ต้องรอให้มีอาการก่อน ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถสกัดการลุกลามได้ พออาการหนักขึ้น โอกาสการเสียชีวิต ก็มีเพิ่มขึ้น

“ผมคิดว่ากระทรวงสาธารณสุขควรเอากรณีการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น มาวิเคราะห์ว่าในกระบวนการรักษาผู้ป่วย นั้นมีระยะเวลาในการรอคอย หรือ Idle Time เท่ามไหร่ และสามาถลดขั้นตอนการทำงาน ลดงานเอกสาร ลดงานธุรการ ลดการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน ลดหลักฐานเอกสารที่ใช้ แก้ไขกฎระเบียบที่วุ่นวาย เพื่อทำให้ขั้นตอนต่างๆ มีระยะเวลาในการรอคอยที่ลดลงได้หรือไม่ ในแวดวงวิศวกรรม วิศวกรในกระบวนการผลิตต่างทราบดีว่า Idle Time เป็นความสูญเปล่า หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Muda เป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าและมีต้นทุนเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีนี้ คือ กระบวนการในการรักษาชีวิตคน ซึ่งเป็นต้นทุนที่มีมูลค่ามหาศาล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดการรอคอยให้เหลือน้อยที่สุด”

นายวิโรจน์ ยังชี้ต่อไปว่า ความจริงต้นทุนที่ถูกที่สุดก็คือ การฉีดวัคซีนไม่ให้ประชาชนต้องเจ็บป่วย ต้นทุนหากฉีด AstraZeneca 2 โดส ก็อยู่ที่ 302 บาท ถ้าเป็น Sinovac 2 โดส ก็อยู่ที่ 1,098 บาท ถ้าเป็น Pfizer 2 โดส ก็อยู่ที่ 1,181 บาท ถ้าเป็น Johnson & Johnson ฉีดแค่โดสเดียว ราคาอยู่ที่ 302 บาท แต่ต้นทุนในการรักษาแพงกว่ามาก อย่างค่าตรวจ RT-PCR เคสละ 1,600 บาท ยา Favipiravir เม็ดละประมาณ 125 บาท ผู้ติดเชื้อ 1 คน ต้องใช้ยาประมาณ 40-70 เม็ด ต่อรายก็มีต้นทุนสูงถึง 5,000-8,750 บาท หากผู้ติดเชื้อมีอาการหนักต้องเข้าห้อง ICU อย่างสถาบันบำราศนราดูร ก็มีต้นทุนเพิ่มอีกวันละ 1,000 บาท ยังไม่นับค่าใช้จ่ายอื่นๆ

“ต้นทุนที่แพงที่สุดก็คือ การเสียชีวิตของผู้ป่วย ที่ทำให้เด็กหลายๆ คนต้องเป็นเด็กกำพร้า คู่ชีวิตอีกเป็นจำนวนมากต้องเป็นหม้าย พ่อแม่หลายคู่ที่ต้องอยู่ในสภาพคนหัวหงอกต้องมาเผาคนหัวดำ ความสูญเสียชีวิต ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียที่มีมูลค่ามากมายมหาศาลมาก โรคโควิด-19 เป็นโรคที่แข่งกับเวลา ถ้าได้ยา Favipiravir ตั้งแต่อาการยังไม่หนัก โอกาสรอดก็สูง ถ้าได้ยาช้า หลังจากที่ปอดอักเสบหนักมากแล้ว โอกาสรอดชีวิตก็จะเหลือน้อยลง อย่าปล่อยให้ผู้ติดเชื้อต้องเสียชีวิต เพราะการรอคอย ไม่ว่าจะเป็น รอคิวตรวจ รอผลตรวจ รอเตียง หรือ รอยา เพราะการรอต่างๆ เหล่านี้ ผู้ติดเชื้ออาจกำลัง ‘รอความตาย’ อยู่ก็ได้” นายวิโรจน์ ระบุ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"