ธุรกิจไทยกระทบหนักแค่ไหน?


เพิ่มเพื่อน    

        คงไม่น่าแปลกใจหากจะพบว่ามากกว่า 80% ของบริษัทในประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมการสำรวจใน Global Crisis Survey 2021 ของ PwC จะระบุว่า ธุรกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะในช่วงที่ผ่านมาต้องมีธุรกิจล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก ส่วนใครที่ยังอยู่ก็ต้องบอกว่าสาหัสอยู่ไม่ใช่น้อย แต่ก็พลิกแพลงกลยุทธ์และแผนต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ โดยยังชี้อีกว่าความสามารถในการฟื้นตัวของธุรกิจจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การปรับตัวสู่ภาวะปกติขององค์กร

            นายพันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า 84% ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่า ธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุว่า การดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากข้อจำกัดด้านการขนส่งที่ทำให้การนำเข้าหยุดชะงักและการผลิตชะลอตัวลง ขณะที่ข้อจำกัดถัดมาคือปัญหาเกี่ยวกับพนักงานและสภาพคล่องทางการเงิน

            ผู้ตอบแบบสอบถามได้มีการปรับกระบวนการทำงานและการดำเนินงานต่างๆ เพื่อใช้รับมือกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งสอดคล้องกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ การชะลอการลงทุนเพื่อจัดการสภาพคล่อง และการพัฒนา ปรับปรุงระบบงานต่างๆ ให้พนักงานสามารถทำงานนอกสถานที่ได้ อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้สร้างความท้าทายรูปแบบใหม่ให้กับผู้นำธุรกิจของไทย

            นายพันธ์ศักดิ์ได้ให้มุมมองในเรื่องดังกล่าวว่า หากขาดการดูแลติดตามระบบการทำงานจากระยะไกลที่เพียงพอ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของระบบได้ โดยผู้ไม่หวังดีสามารถสวมรอยเป็นเพื่อนร่วมงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ โดยหลอกล่อให้โอนข้อมูลที่มีความอ่อนไหวได้ ดังนั้น แม้องค์กรต่างๆ จะมีการบังคับใช้นโยบายการทำงานจากระยะไกลได้อย่างราบรื่นในช่วงที่ผ่านมา แต่อาจมีความเสี่ยงจากการโจรกรรมและละเมิดข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ในระดับสูง

            ดูเหมือนว่าทีมรับมือกับภาวะวิกฤติจะกลายมาเป็นกุญแจสำคัญ เพราะผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการวางแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่มีเพียง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่มีการจัดเตรียมทีมรับมือกับภาวะวิกฤติไว้ล่วงหน้า โดยประสิทธิภาพของแผนจะตกอยู่ในความเสี่ยง หากไม่มีทีมรับมือกับภาวะวิกฤติที่ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานโดยรวมในช่วงเกิดวิกฤตการณ์

            แน่นอนว่าการมีทีมรับมือกับภาวะวิกฤติที่มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะในช่วงวิกฤตินี้ หากเกิดความบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการรับมือกับวิกฤติเพียงครั้งเดียว อาจสร้างความไม่ไว้วางใจแก่ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียเป็นวงกว้าง

            ส่วนจุดมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของผลสำรวจนี้คือ เพื่อสำรวจว่าบริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับภัยคุกคามและผลกระทบในระยะยาวของโควิด-19 ต่อกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ระบุว่า พวกเขายังไม่ได้มีการประเมินผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น หรือถอดบทเรียนจากวิกฤติที่ได้รับ ซึ่งแท้จริงแล้วการถอดบทเรียนจากวิกฤติที่เกิดขึ้น จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงแผนการรับมือและจัดการกับวิกฤติในครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น

            องค์กรที่มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติในอนาคต ควรตั้งคำถามว่าสิ่งใดบ้างที่จำเป็น และช่วยให้องค์กรเตรียมรับมือกับภาวะหยุดชะงักครั้งต่อไปให้ดีขึ้น โดยองค์กรต่างๆ มีความจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการและรับมือกับภาวะวิกฤติ เพื่อการฟื้นคืนสู่ภาวะปกติขององค์กร นั่นหมายความว่าองค์กรจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวและพัฒนากระบวนการที่จำเป็นในการรับมือกับวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กลับมาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

            ความท้าทายในการจัดการกับวิกฤติไม่ได้อยู่ที่การคาดการณ์หรือประมาณเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยองค์กรต่างๆ ควรตระหนักว่า แม้ภาวะหยุดชะงักจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ผู้ประกอบการสามารถเตรียมการเพื่อรับมือกับมันได้ ธุรกิจที่ให้ความสำคัญและลงทุนในการสร้างรากฐานเพื่อฟื้นคืนสู่สภาวะปกติและรับมือกับภาวะหยุดชะงัก จะสามารถต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง. 

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"