จีนส่งโมดูลแรกซึ่งเป็นโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกง ขึ้นสู่วงโคจรแล้วเมื่อวันพฤหัสบดี รอประกอบกับโมดูลอี่นที่จะส่งตามมา โดยหวังว่าจะเปิดใช้สถานีอวกาศแห่งใหม่นี้ภายในปีหน้า
จรวดลองมาร์ช-5บี วาย2 นำโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกงของจีนทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชางเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 (Photo by Hua Jiajun/VCG via Getty Images)
ปัจจุบันมีสถานีอวกาศโคจรอยู่รอบโลกเป็นสถานีเดียวคือสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐ, รัสเซีย, แคนาดา, ยุโรป และญี่ปุ่น แต่จีนไม่มีส่วนร่วมด้วย ไอเอสเอสจะปลดระวางหลังปี 2567 แต่นาซาคาดว่าน่าจะยังใช้งานได้ถึงปี 2571 หลังจากนั้นสถานีอวกาศแห่งนี้ของจีนจะเป็นสถานีอวกาศเดียวที่โคจรรอบโลก
สถานีโทรทัศน์รัฐบาลจีนถ่ายทอดสดการปล่อยจรวดลองมาร์ช-5 บี วาย 2 ที่ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดศูนย์อวกาศเหวินชางในมณฑลไห่หนาน หรือไหหลำ ทางใต้ของจีน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน ในภารกิจนำโมดูลหลักที่ชื่อ “เทียนเหอ” ของสถานีอวกาศ “เทียนกง” ขึ้นสู่วงโคจรโลก โมดูลหลักที่ส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกนี้มีความยาว 16.6 เมตร และกว้าง 4.2 เมตร จะหน้าที่จ่ายพลังงานและระบบขับเคลื่อน มีเทคโนโลยีสำหรับการช่วยชีวิตและเป็นพื้นที่อาศัยสำหรับนักบินอวกาศ
จีนตั้งเป้าหมายว่า สถานีอวกาศเทียนกงหรือวังสวรรค์ จะเริ่มปฏิบัติการได้ในปี 2565 หลังจากจรวดส่งโมดูลเพื่อนำมาประกอบเป็นสถานีอวกาศแห่งนี้ราว 11 ครั้ง เมื่อสร้างเสร็จ สถานีอวกาศแห่งนี้จะมีรูปทรงคล้ายกับสถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย ที่โคจรรอบโลกช่วงทศวรรษ 1980 จนถึงปี ค.ศ.2001
สถานีอวกาศจีนใหม่นี้มีน้ำหนักมากกว่า 90 ตันเล็กน้อย หรือขนาดราว 1 ใน 4 ของสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) คาดว่าจะโคจรในระดับต่ำ โดยสูงจากพื้นโลกระหว่าง 400–450 กิโลเมตร มีอายุการใช้งานราว 15 ปี
ไป๋ หลินหู รองหัวหน้าออกแบบสถานีอวกาศแห่งนี้กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ซีซีทีว่า โมดูลหลักมีพื้นที่ 50 ลูกบาศก์เมตร ให้นักบินอวกาศอยู่ได้ 3 คน และติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมล้ำยุคที่นักบินอวกาศใช้เว็บไซต์ได้ไม่ต่างจากคนทั่วไปใช้อินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์บนโลก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |