เปิดภูเก็ต ต้องรอบคอบ


เพิ่มเพื่อน    

      ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบศ. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบในแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดส สามารถเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตได้โดยตรงผ่านเครื่องบิน และสามารถท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้โดยไม่ต้องกักตัว ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564

                ซึ่งมีการเรียกโปรเจ็กต์นี้ว่า ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ ซึ่งหมายถึงการทดลองนำร่อง การเปิดประเทศแบบย่อยๆ เพื่อที่จะทดลองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา หวังเป็นการเปิดรับเม็ดเงินท่องเที่ยวที่จะเข้ามาจุนเจือ ธุรกิจและเศรษฐกิจของไทยในเวลานี้

                แต่หลังจากช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อโควิด-19 ระลอกที่ 3 ซึ่งในครั้งนี้รุนแรงและแพร่กระจายเป็นวงกว้างกว่าเดิม ทั้งๆ ที่จุดเริ่มต้นมาจากผับและสถานบันเทิงไม่กี่แห่งในซอยทองหล่อเท่านั้น แต่การระบาดในครั้งนี้ที่มาพร้อมเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษ ได้ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มทวีคูณทั่วประเทศ จนระบบสาธารณสุขแทบจะรองรับไม่ไหว ขณะเดียวกันก็คร่าชีวิตคนไปมากมายด้วยเช่นเดียวกัน

                คำถามก็คือ ไทยพร้อมหรือยังที่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เพราะดูจากการระบาดรอบนี้ ก็ดูเหมือนว่าการบริหารจัดการทั้งเรื่องระบบ สาธารณสุขที่รองรับ กับการฉีดวัคซีน จะไม่สามารถรองรับกับการระบาดใหญ่ๆ ได้

                แน่นอนสิ่งที่จะต้องรับมือเมื่อมีการเปิดประเทศ การฉีดวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ จะต้องทำได้เร็วกว่านี้ และครอบคลุมคนจำนวนมากที่สุด แม้ในตอนนี้ภาครัฐเองก็จะพยายามไปเร่งฉีดคนในภูเก็ต เพื่อที่จะให้ทันต่อการเปิดเกาะภูเก็ต แต่ในปัจจุบันการฉีดวัคซีนมีความล่าช้ามาก เพราะตอนนี้ฉีดได้เฉลี่ยเพียง 1-3 หมื่นโดสต่อวันเท่านั้น และที่กังวลตามมา คือ ประสิทธิภาพของวัคซีน ที่ฉีดช่วยป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดได้มากแค่ไหน เห็นได้จากข่าว จากทั่วโลก แม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังติดและป่วยได้ รวมถึงแพร่เชื้อได้เหมือนเดิม ในส่วนนี้จะรับมืออย่างไร เพราะเมื่อเปิดประตูประเทศมาแล้ว นอกจากจะเป็นการขนคนเข้ามาแล้ว ก็ต้องไม่ลืมว่าจะมีการเปิดรับเชื้อโรคเข้ามาด้วย

                ดังนั้น รัฐบาลจะต้องวางแนวทางอย่างไร ที่จะคุ้มครองให้คนไทยและนักท่องเที่ยวคนอื่นไม่ให้ได้รับเชื้อ และกลายมาเป็นการระบาดระลอกแล้วระลอกเล่าแบบนี้

                โจทย์ที่น่าคิด คือ มาตรการเดิมให้อยู่ในภูเก็ต 7 วัน ถึงจะออกไปเที่ยวจังหวัดอื่นได้ ฝ่ายผู้ดูแลนโยบายจะต้องคิดให้รอบคอบว่า ระยะเวลาดังกล่าวมันเพียงพอหรือไม่ เพราะจากข้อมูลในตอนนี้ เจ้าโควิดกลายพันธุ์มีการปรับตัวที่เก่งมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถซ่อนได้นานกว่าเดิม โดยตรวจไม่พบ ไม่มีอาการ ทำให้ต้องตรวจเชื้อหลายครั้งกว่าจะเจอ ของแบบนี้ ก็ทำให้ต้องมีการทบทวน กติการให้เข้มขึ้น

                สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้ต้องการจะคัดค้านในการเปิดภูเก็ตรับนักท่องเที่ยว เพราะเข้าใจดีว่า หากไม่เปิดเศรษฐกิจไทยที่พึ่งรายได้ท่องเที่ยวเป็นหลัก หรือหากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนี้ล้มลง ก็ยากและใช้เวลาในการช่วยเหลือ แก้ไข ฟื้นฟู ให้กลับมา รวมไปถึงจะยิ่งไปส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

            เพียงแต่วิงวอนให้การผลักดัน ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ เต็มไปด้วยความรอบคอบ รัดกุม และให้แน่ใจว่ามันจะไม่ทำให้เกิดวิกฤติแบบที่เจอในปัจจุบัน ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าแบบนี้.  

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"