ออกลายซะแล้ว รัฐบาลทหารเมียนมาระบุจะรับพิจารณาข้อเสนอของอาเซียนต่อเมื่อสถานการณ์ในเมียนมา "คืนสู่เสถียรภาพ" แล้ว ด้านอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐเตือนเมียนมาเสี่ยงจะเป็นรัฐที่ล้มเหลว ขณะชายแดนฝั่งไทยเดือด กะเหรี่ยงเคเอ็นยูโจมตีค่ายทหาร
แฟ้มภาพ พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำสภาบริหารแห่งรัฐ มาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 (Photo by Secretariat of the President of Ind/Anadolu Agency via Getty Images)
เอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า แถลงการณ์เมื่อวันอังคารที่ 27 เมษายน ของสภาบริหารแห่งรัฐ หรือรัฐบาลทหารเมียนมา เป็นการแสดงท่าทีอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับแต่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่อินโดนีเซียเมื่อวันเสาร์ ซึ่งพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้นำรัฐบาลทหารชุดนี้ เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง ที่ประชุมนั้นออกแถลงการณ์ "ฉันทมติ 5 ข้อ" ซึ่งรวมถึงการเรียกร้องให้ "หยุดความรุนแรงทันที" และให้ผู้แทนพิเศษของอาเซียนเยือนเมียนมา
แถลงการณ์ของรัฐบาลทหารกล่าวว่า เมียนมาจะพิจารณา "ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ของบรรดาผู้นำอาเซียนอย่างรอบคอบ เมื่อสถานการณ์ในประเทศกลับคืนสู่เสถียรภาพแล้ว" และว่า ข้อเสนอแนะของประเทศเพื่อนบ้านจะได้รับการ "พิจารณาในเชิงบวก" หากมันอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินการให้เป็นไปตามโรดแมพ 5 ขั้นตอนของเมียนมา
ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหาร บอกกับเอเอฟพีว่า รัฐบาลเมียนมา "พึงพอใจ" กับการเดินทางไปร่วมประชุมครั้งนี้ เพราะได้อธิบาย "สถานการณ์ที่แท้จริง" ต่อบรรดาผู้นำอาเซียน
สกอต มาร์เซียล อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเมียนมา เตือนว่า การตอบสนองของกองทัพเมียนมาต่อซัมมิตครั้งนี้แสดงให้เห็นสัญญาณของการถอยหลัง และอาเซียนไม่อาจละล้าละลังอยู่ ในขณะทที่รัฐบาลทหารขยับถอยหลัง แม้แต่กับข้อตกลงที่จำกัดซึ่งเห็นพ้องกันเมื่อวันเสาร์ ควรมีการติดตามผลและกำหนดราคาที่ต้องจ่ายหากรัฐบาลทหารเตะถ่วง มีเหตุผลที่ไม่มีใครในเมียนมาเชื่อใจกองทัพ
ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวเมื่อวันจันทร์ แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย พร้อมกับเรียกร้องนานาชาติแสดงจุดยืนที่หนักแน่น และเตือนว่าเมียนมาเสี่ยงที่จะเป็นรัฐที่ล้มเหลว
"ความพยายามที่ผิดกฎหมายและโหดร้ายของกองทัพที่กำหนดเจตจำนงของตนหลังจากทศวรรษแห่งเสรีภาพที่มากขึ้น จะไม่มีวันได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างชัดเจน และไม่ควรได้รับการยอมรับจากทั่วโลกด้วย" อดีตผู้นำสหรัฐกล่าวในแถลงการณ์
เขาสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลสหรัฐและอีกหลายประเทศที่กำหนดราคาที่กองทัพเมียนมาต้องจ่าย เพื่อพยายามฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศนี้ "ประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาควรตระหนักว่า ระบอบที่ฆ่าคนซึ่งประชาชนไม่ยอมรับ รังแต่จะนำมาซึ่งความไร้เสถียรภาพมากขึ้น, วิกฤติด้านมนุษยธรรม และความเสี่ยงของรัฐที่ล้มเหลว"
นับแต่รัฐประหาร 1 กุมภาพันธ์ สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (เอเอพีพี) ที่เป็นกลุ่มสังเกตการณ์อิสระในเมียนมาแต่รัฐบาลทหารเรียกว่า "องค์กรผิดกฎหมาย" ระบุว่า ทหาร-ตำรวจเมียนมาฆ่าพลเรือนมากกว่า 750 คนแล้ว แต่กองทัพให้ตัวเลขที่น้อยกว่านี้มากและยังโทษความรุนแรงว่าเป็นฝีมือของ "พวกก่อจลาจล"
เมื่อวันอังคาร เกิดการปะทะระหว่างทหารสหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติ (เคเอ็นยู) กับทหารเมียนมาในรัฐกะเหรี่ยง ติดกับแม่น้ำสาละวินบริเวณชายแดนไทย เมื่อทหารเคเอ็นยูบุกโจมตีค่ายทหารเมื่อเวลา 05.00-06.00 น. เสียงปืนและเสียงระเบิดดังข้ามมาถึงฝั่งไทย
ซอ ตอ นี โฆษกของเคเอ็นยู เผยว่า เคเอ็นยูยึดค่ายทหารแห่งนี้ได้และเผาทิ้ง พวกเขากำลังตรวจสอบว่ามีคนบาดเจ็บล้มตายหรือไม่ ขณะกลุ่มสื่อ ศูนย์ข่าวสารกะเหรี่ยง กล่าวว่า ชาวบ้านเห็นทหาร 7 นายวิ่งหนีออกจากค่าย
เดือนที่แล้ว กองทัพเมียนมาตอบโต้การโจมตีฐานที่ตั้งของทหารด้วยการโจมตีทางอากาศตอนกลางคืนเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี ทำให้ชาวกะเหรี่ยงอพยพทิ้งถิ่นฐานมากกว่า 24,000 คน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |