ส.ส.วิโรจน์ เคลื่อนไหวแล้วหลังเพจดังแฉอยู่เบื้องหลัง 'หมอไม่ทน' ล่าชื่อตะเพิด 'อนุทิน'


เพิ่มเพื่อน    

27 เม.ย.64 - นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีโพสต์จากเพจ Ringside การเมืองว่า สิ่งที่เขียนสื่อไปในทางที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่า ตนมีส่วนเกี่ยวข้องกับแคมเปญใน Change ของกลุ่ม ‘หมอไม่ทน’ และมีปัญหา หรือความแค้นส่วนตัวกับนายอนุทิน ไม่ทราบว่าเพจ Ringside การเมือง เป็นของใคร แต่ยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับแคมเปญใน Change ของกลุ่มหมอไม่ทน

“ผมยืนยันว่า ผมไม่เคยมีปัญหา หรือความแค้นส่วนตัวใดๆ กับคุณอนุทิน ทุกๆ ภารกิจที่ผมทำ ล้วนเป็นการทำหน้าที่ภายใต้อำนาจนิติบัญญัติอันทรงสิทธิ์ทั้งสิ้น จึงขออนุญาตเรียนชี้แจง ตามข้อเท็จจริงสั้นๆ ไว้เท่านี้” นายวิโรจน์ ระบุ

วันเดียวกัน เฟซบุ๊กของนายวิโรจน์ ได้เผยแพร่บทความ ‘เสียงสะท้อนจากหมอหน้างาน 4 ประเด็น ที่รัฐบาลควรรับฟัง’ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ได้ประชุมหารือกับหมอที่ปฏิบัติงานอยู่หน้างาน ซึ่งทุกเรื่องที่ได้หารือล้วนเป็นสิ่งที่รัฐบาล ศบค. และกระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งนำไปพิจารณา และปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุข ลดอัตราการป่วยหนักและการเสียชีวิตของประชาชนลง โดยได้จัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงบวก เสนอต่อรัฐบาลโดยเปิดผนึก มีประเด็นโดยสรุปดังนี้

ประเด็นที่ 1: ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยข้ามสังกัด
ถ้าพิจารณาเรื่องปัญหาการหาเตียงให้กับผู้ป่วยที่เป็นปัญหาอยู่จะพบว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุด จนประชาชนรู้สึกเดือดดาลต่อรัฐบาล ทั้งที่ กทม. ดูเหมือนเป็นพื้นที่ที่มีบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากร เครื่องมือแพทย์ โรงเรียนแพทย์ ซึ่งมีศักยภาพด้านระบบสาธารณสุขสูงกว่าต่างจังหวัดมาก แต่ปัญหาการจัดการเตียงใน กทม. ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ โรงพยาบาลใน กทม. มีหลากหลายสังกัด ทั้งของ กทม. ของกรมการแพทย์ ของมหาวิทยาลัย ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ของกรมแพทย์ทหารบก ของกรมแพทย์ทหารเรือ ของกรมแพทย์ทหารอากาศ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละเขตทั้ง 50 เขต ของ กทม. ก็ไม่มี รพ. ในทุกๆ เขต ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งรับมือการระบาดโดยเน้นการจัดการภายในสังกัดของตัวเองเป็นหลัก ทั้งการจัดหาเตียง การส่งต่อ อย่างบริการรถพยาบาลกู้ชีพฉุกเฉินก็จัดการกันเองภายในสังกัด เช่น ศูนย์เอราวัณ ของ สำนักการแพทย์ กทม. จะเน้นส่งผู้ป่วยให้กับ รพ. ในสังกัดของ กทม. เป็นหลัก ส่วน ศูนย์นเรนทร ของกรมการแพทย์ จะเน้นส่งผู้ป่วยให้กับ รพ. ในสังกัดของกรมการแพทย์ หากเตียงในสังกัดเต็ม การหาเตียงให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลอื่นข้ามสังกัด ทำได้ยากมาก ไม่มีระบบในการประสานงานเพื่อให้เกิดการจัดการอย่างบูรณาการ ต่อให้หมอรู้ทั้งรู้ว่าโรงพยาบาลแห่งไหนมีสมรรถนะในการรักษาที่สูงกว่าและพอที่จะรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะส่งหรือรับ หากอยู่กันคนละสังกัด

“ต้องยอมรับว่า การบริหารการจัดสรรเตียงในโรงพยาบาลต่างจังหวัดวันนี้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคในด้านความพร้อม แต่มีระบบในการจัดการที่ดีกว่า กทม. มาก แต่ละจังหวัดจะใช้วิธีบริหารโดยสาธารณสุขจังหวัด โดยมีผู้ตรวจการประจำเขตสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมประมาณ 4-5 จังหวัด ทำหน้าที่จัดหาเตียงให้กับผู้ป่วย โดยกระจายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอำเภอ และโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในเขตสุขภาพอย่างบูรณาการ ถึงแม้จะมีปัญหาบ้าง แต่ก็ไม่มีความอลหม่าน จัดการอย่างลำดับความสำคัญผิด และให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งจัดการกันเองอย่างเดียวดาย อย่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ กทม.”

ในเรื่องนี้ นายวิโรจน์ มีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดให้มี ‘ศูนย์กลางในการประสานงานจัดหาเตียง และส่งต่อผู้ป่วย’ ที่ทุกสังกัดใน กทม. บูรณาการร่วมกัน มี Call Center กลางเพียงเบอร์เดียว ที่ทำหน้าที่ประสานงานได้ทุกสังกัด เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสน โดยให้กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการควบคุมการระบาดของโรค เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการตัดสินใจ โดยลดบทบาทของ ศบค. ลง

ประการต่อมา ควรจัดหาและดัดแปลงพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ที่มีที่จอดรถจำนวนมาก เช่น ศูนย์จัดการแสดงสินค้า หรือ รัฐสภา จัดตั้งเป็น ‘โรงพยาบาลแรกรับ’ ที่มีขีดความสามารถในการตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยัง รพ. ที่มีสมรรถนะเหมาะสมกับอาการของผู้ติดเชื้อแต่ละคน หรือถ้าโรงพยาบาลใดเตียงเต็มก็ให้ส่งผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลแรกรับก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยไปรอคอยเตียงอย่างสิ้นหวังที่บ้าน

“ประการที่สาม ควรเร่งจัดหาเครื่องช่วยหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรเร่งจัดหาเครื่อง High Flow Oxygen Cannular (HFNC) เพิ่มเติม จากที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้กรุณาพระราชทานให้กับ รพ. ต่างๆ ไว้แล้วในเบื้องต้น เพราะรับการยอมรับจากแพทย์ผู้ปฏิบัติงานว่า มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการช่วยชีวิตประชาชน และหาก ICU ยังเต็มอยู่ ไม่สามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้ อาจจะใช้เครื่อง High Flow Oxygen Cannular (HFNC) ในการรักษาไปก่อน ซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิต และอัตราการเข้านอนไอซียูลงได้ ส่งผลให้ผู้ป่วย ICU น้อยลง และที่สำคัญสามารถใช้งานนอกห้อง Isolation room ได้ เพราะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการฟุ้งกระจาย (High Risk Aerosol Generating Procedure)”

สำหรับปัญหา ประเด็นที่ 2 ผลตรวจช้า เบิกยาไม่ได้ พอรู้ผล อาการก็ลุกลามแล้ว ในเรื่องนี้ นายวิโรจน์ ระบุว่า สาเหตุหนึ่งมาจาก ปัจจุบันการส่งตรวจ RT-PCR มีจำนวนเพิ่มขึ้น กว่าจะทราบผลว่าติดเชื้อโควิด-19 บางกรณี ต้องรอถึง 2 วัน ระหว่างรอผลตรวจ แม้ว่าแพทย์จะมีดุลยพินิจจากอาการ ที่เชื่อได้ว่าผู้ป่วยน่าจะติดเชื้อโควิด-19 แต่ก็ไม่สามารถจ่ายยา Favipiravir ได้ กว่าจะทราบผลตรวจทำให้อาการของผู้ติดเชื้อแย่ลง รักษายากขึ้น ผู้ป่วยบางรายพบเชื้อลามไปที่ปอด จนมีโอกาสเสียชีวิตสูง

“ข้อเสนอแนะคือควรที่จะปรับปรุงกระบวนการให้ออกผลตรวจจากห้องปฏิบัติการให้เร็วขึ้น หรืออาจเปิดทางเลือกให้ตรวจหาเชื้อในรูปแบบอื่น ที่ออกผลตรวจได้เร็วขึ้น เช่น Rapid Antigen Test ในระหว่างที่การตรวจแบบ RT-PCR ยังคงล่าช้าอยู่ และควรพิจารณาอนุญาตให้แพทย์ สั่งจ่ายยา Favipiravir ได้ เมื่อวินิจฉัยจากอาการ หรือผลตรวจแบบ Rapid Antigen Test แล้วเชื่อว่าผู้ป่วยน่าจะติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ควรจะสำรองยาทางเลือกอื่นนอกจาก Favipiravir เพื่อให้แพทย์ได้เลือกใช้ในการรักษาให้กับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับประชาชน”  

ประเด็นที่ 3: ถ้าละเลยชุมชนแออัดใน กทม. การระบาดจะแพร่กระจายต่อเนื่องเกินควบคุม

พื้นที่ กทม. มีชุมชนแออัดเป็นจำนวนมาก และการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ระบาดเข้าไปในพื้นที่ชุมชนแออัดหลายแห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีความเสี่ยงขั้นสุดต่อการแพร่ระบาดและอีกปัญหาหนึ่ง ที่ละเลยไม่ได้ก็คือ ปัญหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เป็นแรงงานต่างชาติ ซึ่งมักจะอยู่อาศัยรวมกันอย่างแออัด แต่วันนี้ถูกละเลย และหากยังคงปล่อยปละละเลยต่อไป มีโอกาสสูงมาก ที่จะนำมาซึ่งการแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

“ข้อเสนอแนะกระทรวงพัฒนาสังคมฯ  การเคหแห่งชาติ และ กทม. ควรร่วมกันจัดหาพื้นที่ให้กับประชาชนในชุมชนแออัด ให้ได้ออกมาจากในชุมชนเพื่อกักตัวรักษา และ กทม. ควรต้องเร่งจัดสรรพื้นที่ในการกักตัวรักษาให้กับแรงงานต่างชาติ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19”

สำหรับประเด็นสุดท้าย : ถ้าไม่แก้กฎหมาย ไม่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีน อาจฉีดวัคซีนไม่ได้ตามเป้า

ข้อจำกัดของกฎหมายในปัจจุบัน กำหนดให้บุคลากรทางการแพทย์ 3 ประเภทเท่านั้น ที่จะสามรถปักเข็มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้ ซึ่งได้แก่ แพทย์ พยาบาล (ภายใต้การกำกับของแพทย์) และหมออนามัย (ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์) ซึ่งต้องยอมรับว่า แพทย์ และพยาบาล  ต้องรับภาระอย่างหนักมาก และถ้าหากไม่แก้ไขกฎหมายข้อนี้ เมื่อวัคซีนมา รัฐบาลจะมีบุคลากรที่เพียงพอต่อการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามเป้าหมาย 10 ล้านโดสต่อเดือนได้อย่างไร และต่อให้มีการแก้ไขกฎหมายเมื่อวัคซีนมาถึง แล้วจะฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่อื่นมีทักษะในการฉีดวัคซีนทันได้อย่างไร

“ควรแก้ไขกฎหมายโดยอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรประเภทอื่นที่ได้รับการฝึกอบรม ให้สามารถทำหน้าที่ฉีดวัคซีนได้และควรเร่งจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีน เพื่อเตรียมความพร้อม ระหว่างที่รอการส่งมอบวัคซีน รัฐบาลควรวางระบบในการจองคิวฉีดวัคซีน โดยให้ประชาชนจองคิวเข้าฉีดวัคซีนที่ทั้งระบุวัน และช่วงเวลา มีการทำ Online Checklist มาก่อนล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ยังไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ ต้องมาที่สถานที่ฉีดวัคซีนแบบเสียเที่ยว เมื่อมาถึงมีระบบในการจัดแถวคอยที่มีประสิทธิภาพ พยายามวางจุดบริการที่ให้ประชาชนบริการตนเองให้มากที่สุด เช่น การลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน การรับบัตรคิว การชั่งน้ำหนัก การวัดความดันโลหิต เพื่อลดภาระของบุคลกรทางการแพทย์ลง เป็นการทำให้กระบวนการฉีดวัคซีนเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ต้องเร่งเตรียมการไว้ตั้งแต่วันนี้ได้แล้ว จะรอให้วัคซีนมาก่อนแล้วค่อยเตรียมไม่ได้”

นายวิโรจน์ ทิ้งท้ายว่า ข้อเสนอแนะทั้ง 4 ประเด็น เป็นเสียงสะท้อนจากหมอหน้างานที่มีความหมายมาก จึงพยายามเขียนสรุปด้วยข้อความเชิงบวก พยายามหลีกเลี่ยงการติติงโดยไม่จำเป็น เว้นแต่เป็นประเด็นที่จำเป็นต้องสะท้อนความรู้สึกให้รัฐบาลได้รับทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชน และความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าจริงๆ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะเล็งเห็นถึงความปรารถนาดี และเปิดใจรับฟังเสียงสะท้อนของคุณหมอด่านหน้า ที่ได้อาสาสรุปเป็นข้อเสนอแนะเพื่อนำเสนอรัฐบาล โดยเปิดผนึกให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมรับทราบด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"