นิด้าโพล เผยผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่มีความความเชื่อมั่นต่อเครื่องหมาย อย. และการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาโฆษณาขายสินค้า มีส่วนช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือและตัดสินใจซื้อ
27 พ.ค. 61 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเครื่องหมาย อย.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤษภาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเครื่องหมาย อย. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการอ่านเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของ อย. ในการเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.78 ระบุว่า อ่านเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของ อย. รองลงมา ร้อยละ 27.98 ระบุว่า ไม่อ่านเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของ อย. และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยของ อย. หลังจากที่มีกระแสข่าวการจับกุมผลิตภัณฑ์ที่มีการสวมเลขทะเบียน อย. รวมถึง การใช้เครื่องหมาย อย. ปลอมจำนวนมาก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.12 ระบุว่า มีความเชื่อมั่น เพราะ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เป็นองค์กรที่มีมาตรฐานในการตรวจสอบความปลอดภัย เชื่อถือได้ มีการจัดตั้งมานานแล้ว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ปัญหาเกิดจากผู้ประกอบการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รองลงมา ร้อยละ 42.21 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่น เพราะ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ขาดความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้า และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับระดับความรุนแรงของปัญหาเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 25.90 ระบุว่า เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมาก ร้อยละ 44.60 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ค่อนข้างมีความรุนแรง ร้อยละ 25.90 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ ไม่ค่อยมีความรุนแรง ร้อยละ 2.16 ระบุว่า เป็นปัญหาที่ไม่มีความรุนแรงเลย และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงการที่ให้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาโฆษณาขายสินค้า มีส่วนช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นดูมีความน่าเชื่อถือและตัดสินใจซื้อ ง่ายขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.71 ระบุว่า มีส่วนช่วย เพราะ เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จัก มีความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดแรงจูงใจ และความมั่นใจในการเลือกซื้อ รองลงมา ร้อยละ 32.93 ระบุว่า ไม่มีส่วนช่วย เพราะ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ราคา ความพึงพอใจ ความต้องการของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อ ขณะที่บางส่วนระบุว่า มุ่งเน้นที่เครื่องหมาย อย. มากกว่า และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ปัญหาการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.20 ระบุว่า เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบทั้ง ก่อน – หลัง กับสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย อย. รองลงมา ร้อยละ 34.05 ระบุว่า เพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับผู้กระทำผิด ร้อยละ 33.89 ระบุว่า เพิ่มหน่วยงานของภาครัฐเข้ามากำกับดูแลการคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 32.37 ระบุว่า เพิ่มมาตรการควบคุมการโฆษณาที่เกินจริงรวมถึงการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในการโฆษณา ร้อยละ 27.10 ระบุว่า เพิ่มบุคลากรให้เพียงพอต่อการตรวจสอบมาตรฐานของสินค้า ร้อยละ 0.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เพิ่มช่องทางในการตรวจสอบเลข อย. เช่น มีแอปพลิเคชันสำหรับตรวจสอบเลข อย. ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.59 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 25.42 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.91 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 51.40 เป็นเพศชาย และร้อยละ 48.60 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.03 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.55 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.10 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.49 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.23 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 91.61 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.28 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.88 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือ ศาสนาใด ๆ และร้อยละ 4.24 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 20.30 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 70.26 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.64 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.80 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.14 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.34 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.51 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.30 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.60 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.12 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 12.07 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.23 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.18 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.59 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.03 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.27 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 5.52 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.35 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.62 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.46 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.91 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.39 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.47 ไม่ระบุรายได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |