การระบาดของ “โควิด-19” ส่งผลกระทบอย่างมากกับภาพรวมเศรษฐกิจในหลากหลายมิติ จากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของรัฐบาลในปีที่ผ่านมา ที่ใช้มาตรการแบบเด็ดขาด “ล็อกดาวน์” จนส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดหยุดชะงัก ซึ่งแน่นอนไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการประกอบธุรกิจ รายได้ของประชาชนให้ถูกกระทบตามไปด้วย
ซึ่งมีภาคธุรกิจในหลายส่วน โดยเฉพาะรายย่อยที่อาจจะสายป่านไม่ยาว ทนแบกรับผลกระทบจากมาตรการที่รัฐบาลใช้ควบคุมการแพร่ระบาดไม่ไหว หลายส่วนต้องปิดตัวลง และนำมาซึ่งปัญหา “การว่างงาน”
ก่อนหน้านี้ “ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)” ได้ระบุว่า ความรุนแรงจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ประมาณการว่าจะมีคนไทยยากจนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านคน และในแง่ของผลกระทบต่อแรงงานจากโควิด-19 ช่วงไตรมาส 2/2563ทำให้งานหายไป 3.4 แสนตำแหน่ง และชั่วโมงการทำงานลดลง 2-3 ชั่วโมง การว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น 9% ขณะที่ค่าจ้างลดลง 1.6% ส่วนในไตรมาส 3 ต่อเนื่องไตรมาส 4/2563 สถานการณ์แรงงานเริ่มดีขึ้น และทำให้จำนวนงานเพิ่มขึ้น 8.5 แสนตำแหน่ง แต่ยังมีจุดอ่อนคือ ชั่วโมงการทำงานและค่าจ้างในภาคการเกษตรยังต่ำกว่าในปี 2562
“การเกิดขึ้นของโควิด-19 ซ้ำเติมความท้าทายเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานที่อ่อนแอลง และแรงงานนอกระบบ รวมถึงในระยะกลางยังต้องเผชิญปัญหาประชากรสูงอายุด้วย”
ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ออกมาให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากวิกฤติโควิด-19 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF Thailand) ปี 2563 พบว่า ประชาชนกลุ่มอายุ 15-24 ปี โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะเรียนจบ มีแนวโน้มที่จะว่างงาน เนื่องจากภาคเอกชนชะลอการจ้างงาน จึงทำให้ลดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพหรือทักษะในการประกอบอาชีพจากการไม่ได้เข้าสู่ระบบการจ้างงาน 14% หรือกว่า 1.3 ล้านคน และวัยทำงานที่เป็นคน "ว่างงาน" 17.9% หรือกว่า 6 ล้านคน
นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานทั้งในและนอกระบบส่วนมากยังไม่มีแผนการออม ทำให้ไม่มีเงินใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ด้วยสถานะของแรงงานในระบบทำให้แรงงานส่วนใหญ่กลายเป็นบุคคลที่มีทักษะเชิงเดี่ยว ไม่สามารถปรับตัวเพื่อประกอบอาชีพอื่นได้ในทันที จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จึงมีแนวโน้มที่จะมีคนว่างงานและคนที่มีรายได้น้อยลงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีลดลง เพราะขาดรายได้ ขาดความรู้ในการพัฒนาศักยภาพตัวเอง
ขณะที่ “คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)” ได้ประเมินว่าในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ล่าช้า จากข้อจำกัดในการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 แรงกระตุ้นจากภาครัฐที่อาจจะน้อยกว่าคาด ฐานะทางการเงินของภาครัฐที่อาจได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการ ซึ่งส่งผลทำให้ “จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น” รวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนไทยอาจจะสูงขึ้นมาก ภายหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการยกระดับ การพัฒนาและเสริมทักษะของแรงงานที่ภาวะการแข่งขันในตลาดแรงงานจะยิ่งสูงขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง “ธนาคารโลก” ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานโดยรวมในระยะสั้น โดยแนะนำให้ขยายการคุ้มครองเพื่อช่วยแรงงานที่ตกงาน ผ่านมาตรการเยียวยาด้านการเงินและช่วยฝึกทักษะอาชีพสำหรับผู้ตกงาน ส่วนมาตรการระยะยาวคือการเพิ่มด้านประสิทธิภาพการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ การลดช่องว่างระหว่างแรงงานผู้หญิงกับแรงงานชาย ตลอดจนแนะนำให้ขยายเวลาการเกษียณอายุออกไปอีก เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |